ชุมแสง มีแต่เสียงร้องไห้ เวรกรรมไล่ล่า ย้อย กรงกรรม EP 16 จิตแพทย์ แนะอารมณ์โกรธทำลายล้างทุกอย่าง

บทความ

ชุมแสง มีแต่เสียงร้องไห้ เวรกรรมไล่ล่า ย้อย กรงกรรม EP 16 จิตแพทย์ แนะอารมณ์โกรธทำลายล้างทุกอย่าง

News Update 22 เมษายน 2562 : ตาคลีสมัยก่อน , กระหรี่ตาคลี , ตาคลี ชุมแสง , ตาคลี สมัยก่อน , ชุมแสง ตาคลี , กรงกรรม EP 15 , อาสี่ในกรงกรรม

ชุมแสง มีแต่เสียงร้องไห้ : กรงกรรม ep 16 เรื่องราวยิ่งทวีความเข้มข้น สำหรับละคร กรงกรรม เมื่อ ย้อย  บทบาทของ ใหม่ เจริญปุระ ต้องเจอกับมรสุม ในชีวิตที่โหมกระหน่ำมาอย่างต่อเนื่อง

กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ  และ เพจ sasook  รายงานว่า ความแค้น ความโกรธ ที่เคยทำในอดีต โดยผลของกรรม หรือ การกระทำจะก่อความพินาศ
เปรียบได้กับ เวรกรรม ตามมาเอาคืน ทั้งการสูญเสียสามีที่รัก เสียลูกชายคนเล็กไปอีก ขณะที่ลูกสะใภ้ใหญ่กับสะใภ้รอง ก็มีเรื่องมีราวกันอยู่เรื่อย ๆ ของที่โดนทำใส่ก็ยังไม่ออกจากตัว

แถมลูกชายคนที่ 3 อย่าง อาซา  เจมส์ จิรายุ ที่เป็นลูกคนดี อยู่ในโอวาทของแม่ตลอด ก็บอกลา จากแม่ไปแบบไม่กลับมาอีก เพราะอยากไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่เชียงใหม่กับ จันตา ผู้หญิงที่เขารัก ขอทำในสิ่งที่อยากทำบ้าง

นายสมรักษ์ ณรงค์วิชัย ผู้บริหารช่อง 3  เผยภาพตัวอย่างจากละคร กรงกรรม EP 16 ให้แฟน ๆ ได้ชมกัน พร้อมคำโปรยชวนติดตามว่า "คงไม่มีอะไรที่ย้อย ต้องเจ็บปวดไปกว่านี้อีกแล้ว อาซาจากแม่ไปไหนอีกคน”

ด้าน "กรมสุขภาพจิต" เผยความโกรธ หรือ เพลิงโทสะ ทำให้อุณหภูมิเครียดเพิ่ม มีโอกาสทำสิ่งผิดพลาดได้สูง ทำลายล้างต่อคนและสิ่งของ แนะประชาชนฝึกการ “ติดเบรก” ควบคุมอารมณ์ ระงับสติ

กรมสุขภาพจิต ระบุถึงกรณีสื่อมีการเผยแพร่เรื่องราวความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ความแค้น ซึ่งอารมณ์โกรธนี้ เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในคนทั่วไป 

หากไม่สามารถควบคุมได้ จะกลายเป็นพลังทำลาย  ทำอะไรหุนหันพลันแล่น การตัดสินใจผิดพลาดง่ายนำไปสู่ปัญหาต่างๆทั้งความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ปัญหาที่ทำงาน

ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความโกรธจะนำไปสู่การเพิ่มความเครียด และในทำนองเดียวความเครียดก็มักจะทำให้มีความโกรธเพิ่มมากขึ้น  และอาจมีผลกระทบทางกาย

หากเกิดในผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงอยู่เดิม อาจเพิ่มความเสี่ยงอันตราย  อาจทำให้เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก  เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ด้วยเช่นกัน

ประชาชนทุกคนควรฝึกการติดเบรค โดยใช้วิธีฝึกการถามใจตัวเองในเบื้องต้น 4 ข้อดังนี้

1. มองและคิดไปให้ไกลถามตัวเองว่าเรื่องที่โกรธอยู่นี้สำคัญต่อตัวเราเองมากน้อยแค่ไหน   2.ให้ถามตัวเองว่า ถ้าเราตอบโต้อะไรลงไปทันทีตามความโกรธ จะเกิดอะไรขึ้น “ได้แค่สะใจชั่วคราวแต่ต้องเสียใจเสียชื่อไปตลอดชีวิตหรือไม่”

3. ให้ลองถามตัวเองว่า เราได้เคยทำสิ่งเดียวกับที่คนอื่นทำกับเราในวันนี้หรือไม่ และเราเองก็ไม่รู้ตัวว่าทำให้คนอื่นโกรธเช่นกัน

และ 4. ลองถามตัวเองว่า เพราะเหตุใดคนอื่น จึงทำเช่นนี้กับเราให้ลองคิดแบบมีเหตุมีผลว่าเขาอาจมีความจำเป็นจึงทำเช่นนั้น การถามตัวเอง จะช่วยประวิงเวลา ทบทวนตัวเอง 

กรมสุขภาพจิต แนะนำ เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น  ขอให้ใช้วิธีจัดการกับความโกรธ โดยเบี่ยงเบนความสนใจออกไปจากเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธ 

“สิ่งที่ไม่ควรทำขณะที่รู้สึกว่าตนเองโกรธจนควบคุมตัวเองได้ยาก ได้แก่ 1. ไม่ควรโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวระบายอารมณ์ขณะยังมีความโกรธรุนแรง เพราะจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดสติเผลอตัวเขียนระบายอารมณ์ในสิ่งที่ไม่สมควรและต้องมานึกเสียใจภายหลังที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

 2.ห้ามขับรถ เพราะอารมณ์โกรธจะทำให้เราหุนหันพลันแล่น ขาดสติ 3.ไม่ระบายอารมณ์ด้วยการดื่มเหล้า 4.หลีกเลี่ยงการทะเลาะเพราะจะลุกลามใหญ่โตได้ง่ายเนื่องจากการควบคุมตนเองไม่ได้

5.ห้ามคิดหมกมุ่นอยู่กับคนหรือเรื่องที่ทำให้โกรธ เนื่องจากจะทำให้ความรู้สึกโกรธเพิ่มมากขึ้นและอาจทำให้เกิดความรุนแรง”

14 กุมภาพันธ์ 2563

ผู้ชม 3893 ครั้ง

Engine by shopup.com