"โรคจิตเวช" ต่างกับ "โรคจิตเภท" อย่างไร ทำไมในไทย พบโรคนี้มากอันดับหนึ่ง สถานการณ์ของ "ปัญหาสุขภาพทางใจ" หรือ โรคทางใจ ในไทยยังพบว่ามีสถิติสูงมากขึ้น
"โรคจิตเวช" ต่างกับ "โรคจิตเภท" อย่างไร ทำไมในไทย พบโรคนี้มากอันดับหนึ่ง สถานการณ์ของ "ปัญหาสุขภาพทางใจ" หรือ โรคทางใจ ในไทยยังพบว่ามีสถิติสูงมากขึ้น
"โรคจิตเวช" ต่างกับ "โรคจิตเภท" อย่างไร ทำไมในไทย พบโรคนี้มากอันดับหนึ่ง
สถานการณ์ของ "ปัญหาสุขภาพทางใจ" หรือ โรคทางใจ ในไทยยังพบว่ามีสถิติสูงมากขึ้น คาดว่ามีผู้ป่วยประมาณ 600,000 คนทั่วประเทศ ส่วนคำว่า จิตเวช ต่างกับ จิตเภท แตกต่างกัน
บ้านเรายังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโรคจิตอยู่จำนวนมาก โดยยังแยกระหว่าง จิตเวช ต่างกับ จิตเภท ไม่ถูกต้อง ซึ่งโรคจิตเวช ใช้ในกรณีที่หมายถึง โรค หรือ อาการต่างที่ผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า ( Depression )
โรคอารมณ์สองขั้ว ( Bipolar Disorder) โรคกังวลไปทั่ว (Generalized Anxiety Disorder) โรคออทิสซึ่ม (Autistic Disorder) หรือ อาจเรียกว่า โรคทางจิตเวช เช่น ในใบสั่งยาจะพิมพ์ชื่อโรคทางวิชาการว่า ”โรคทางจิตเวชที่ต้องรักษา” หรือ บุคคลในสายงานสุขภาพจิต “ผู้ปฏิบัติงานจิตเวช” เป็นต้น
ส่วน โรคจิตเภท หรือ อีกชื่อคือ schizophrenia เป็นอีกโรคหนึ่งในกลุ่มอาการความผิดปกติทางจิต มักพบว่ามีความผิดปกติของระดับสารสื่อประสาท
อาการหลักๆที่พบคือ มีความผิดปกติทางความคิดหรือมีอาการหลงผิด , มีการรับรู้ที่ผิดปกติ , อาจพบอาการประสาทหลอน บางรายพบหูแว่ว บางรายพบการเห็นภาพหลอน บางรายอาจได้กลิ่นหลอน
ขณะที่เนื่อง ในวันโรคจิตเภทโลก ทางกรมสุขภาพจิต ได้ยกมาตรฐานดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภทซึ่งเป็นโรคจิตเวชที่พบมากอันดับ 1 ในประเทศมีกว่า 6 แสนคน โดยพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตของผู้ให้การดูแลผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ
โดย อธิบดีกรมสุขภาพจิตให้สัมภาษณ์ว่า วันที่ 24 พฤษภาคมทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นวันโรคจิตเภทโลก ( World Schizophrenia day ) เนื่องจากเป็นโรคจิตเวชที่พบได้ทั่วโลกมากกว่า 21 ล้านคน
ในส่วนของประเทศไทยพบโรคนี้มากอันดับ 1 อัตราป่วยร้อยละ 1 ของประชากร คาดว่ามีผู้ป่วยประมาณ 600,000 คนทั่วประเทศ มักพบในช่วงอายุ 15-35 ปี
สาเหตุเกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ที่ผิดไปจากความเป็นจริง มีพฤติกรรมแปลกๆ ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ลักษณะอาการเด่นของผู้ป่วยโรคนี้คือ 1.หลงผิด เช่นคิดว่ามีคนปองร้าย 2. ประสาทหลอน เช่นหูแว่ว ได้ยินเสียงคนพูดทั้งที่ไม่มีใครอยู่ใกล้ 3. พูดจาฟังไม่รู้เรื่อง 4. มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่นแต่งกายแปลกๆ
สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ จะเน้นที่การรักษาด้วยยาและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านจิตสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทผู้ป่วยเรื้อรัง ต้องกินยาควบคุมอาการต่อเนื่อง จะทำให้อาการสงบ สามารถใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชนได้
ซึ่งญาติเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้ว มีอาการคงที่ ไม่กำเริบซ้ำ โดยดูแลให้กินยาและพาผู้ป่วยพบแพทย์ตามนัด ในปีนี้กรมสุขภาพจิตมีนโยบายขยายผลให้การดูแลคุณภาพชีวิตของญาติที่ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทด้วย เพื่อยกระดับคุณภาพบริการผู้ป่วยของประเทศ
เนื่องจากผลของการดูแลของญาติจะเป็นตัวพยากรณ์อาการของผู้ป่วยโดยตรง หากผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะส่งผลผู้ป่วยได้รับการดูแลเอาใจใส่ดีไปด้วย แต่หากคุณภาพชีวิตผู้ดูแลต่ำ เผชิญทั้งความกดดัน ความยากลำบาก ความเดือดร้อนจากการทำกิจกรรมหรือดูแลผู้ป่วย
มีความเสี่ยงส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ดูแลเอง โดยเฉพาะความเครียด อาจเกิดความท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต เกิดโรคซึมเศร้าได้ ได้มอบหมายให้โรงพยาบาล (รพ.) จิตเวชนครพนมราชนครินทร์ ดำเนินการพัฒนา ขณะนี้สำเร็จแล้ว จะใช้ในเขตสุขภาพและโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่งต่อไป
แท็ก : จิตเภท กับ จิตเวช ต่างกันอย่างไร, จิตเวชกับจิตเภท, จิตเวช จิตเภท ต่างกันอย่างไร, จิตเวช กับ จิตเภท,
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
28 เมษายน 2566
ผู้ชม 27451 ครั้ง