Getinge เผยข่าวดี ผลการศึกษา “เครื่องช่วยทำงานของหัวใจ” พบแนวโน้มตายลดลงในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจแบบลุกลามขาดเลือดเรื้อรัง เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์

บทความ

“เครื่องช่วยหัวใจฯ” รักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเรื้อรังได้ผล จาก Getinge

MED HUB NEWS - เวย์เน, นิวเจอร์ซีย์--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ / เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม รายงานว่า ทาง Getinge ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัยรายใหญ่ของโลก

ประกาศผลการศึกษานำร่องว่าด้วยการรอดชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบลุกลามที่มีภาวะขาดเลือดเรื้อรัง

หลังใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า โดยการศึกษานี้ได้ประเมินการใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบลุกลาม ที่มีภาวะแทรกซ้อนของการขาดเลือดเรื้อรัง 

หลังจากที่ได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI) เบื้องต้น หรือภาวะที่เรียกว่าเส้นเลือดขยายตัวไม่ได้ การศึกษานำร่องครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีของการใช้เครื่อง IABP ที่ช่วยลดผลลัพธ์หลัก ( การเสียชีวิต ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องมืออันเนื่องมาจากความเสื่อมของระบบไหลเวียนเลือด

เช่น เครื่องมือช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ [LVAD] และการกลับเข้ารักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวภายในเวลา 6 เดือน)

ทั้งนี้ ผลลัพธ์ดังกล่าวได้รับการนำเสนอในเซสชันการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจในระหว่างการประชุม EuroPCR 2018 ที่ปารีส

โดยนายแพทย์โลเคียน เอ็กซ์ ฟาน นูเนน จากโรงพยาบาลแคธารินาในเมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหัวหน้าร่วมของการวิจัย SEMPER FI

ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและมีสัญญาณของภาวะขาดเลือดเรื้อรังหลังจากทำการใส่ขดลวดแล้ว

มักมีการทำนายอาการของโรคที่ไม่สู้ดีนักและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวในอนาคต ประมาณ 30% ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI ยังคงมีภาวะขาดเลือดเรื้อรังแม้จะมีการเปิดหลอดเลือดหลักที่เป็นสาเหตุของปัญหาแล้วก็ตาม

ด้าน ดร.ฟาน นูเนน กล่าวว่า “การระบุว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI รายใดจะได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่อง IABP นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะการศึกษาแบบย้อนหลังและไปข้างหน้าต่างแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษานำร่อง SEMPER FI แสดงถึงสัญญาณที่ชัดเจนว่า การใช้เครื่อง IABP อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบลุกลาม ซึ่งยังต้องเผชิญกับภาวะขาดเลือดแม้ว่าจะใส่ขดลวดแล้วก็ตาม

เราคาดว่าผลการศึกษาเหล่านี้จะเป็นข้อมูลยืนยันที่มีพลังมากพอในการแสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของผลลัพธ์โดยรวมหากแนวโน้มเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

25 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 3342 ครั้ง

Engine by shopup.com