นายแพทย์ธงชัย ศุกรโยธิน ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี "ทุกๆ ครั้งที่ต้องบอกข่าวร้าย ก็ยังอาจจะมีข่าวดีให้กับบางคน"
นายแพทย์ธงชัย ศุกรโยธิน ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี "ทุกๆ ครั้งที่ต้องบอกข่าวร้าย ก็ยังอาจจะมีข่าวดีให้กับบางคน"
"ผมดูแลคนไข้มะเร็งเต้านมมาพอสมควรครับ ในทุกๆ ครั้งที่ต้องบอกข่าวร้ายกับคนไข้ว่าเค้าเป็นมะเร็งเต้านม ก็ยังอาจจะมีข่าวดีให้กับบางคน" นายแพทย์ธงชัย ศุกรโยธิน กล่าว
News Update - ข่าว 25 สิงหาคม 2564 คอลัมน์ หมอมะเร็ง กับ med hub news โดยนายแพทย์ธงชัย ศุกรโยธิน สาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
"ผมดูแลคนไข้มะเร็งเต้านมมาพอสมควรครับ ในทุกๆ ครั้งที่ต้องบอกข่าวร้ายกับคนไข้ว่าเค้าเป็นมะเร็งเต้านมก็ยังอาจจะมีข่าวดีให้กับบางคนว่าเค้ายังสามารถที่จะเก็บเต้านมของเค้าไว้ได้
โดยที่ผลการรักษาแทบจะไม่แตกต่างกับการตัดเต้านมทิ้งทั้งเต้าเลยครับ แต่ในรายที่เก็บเต้านมไว้ไม่ได้
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า นายแพทย์ธงชัย ศุกรโยธิน สาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุถึง ปัจจุบันก็ยังมีเทคนิคการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ทําให้ไม่รู้สึกว่าต้องสูญเสียอวัยวะไปเพื่อการรักษาโรคอีกด้วยนะครับ
วันนี้จะมาเล่าถึงทางเลือกของการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านมครับ
ในกรณีที่คุณหมอตรวจร่างกายและดูฟิล์มแมมโมแกรมกับอัลตร้าซาวด์เรียบร้อย แล้วพบว่าสามารถเก็บเต้านมให้ได้
ก็จะบอกข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีสุดท้ายแล้ว นมใครนมมันนะครับ คนไข้จะต้องเป็นคนเลือกวิธีผ่าตัดเอง
ว่าจะเก็บเต้านมไว้หรือเอาออกไปทั้งหมด #เก็บเต้าหรือจะเอาออก
มันอย่างนี้ครับ คนไข้บางคนเลือกได้ครับว่าจะตัดเต้านมออกหมด ( mastectomy ) หรือเลือกผ่าออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆ ( lumpectomy ) แล้วตามด้วยการฉายรังสี
ซึ่งสองวิธีนี้ให้ผลการรักษาที่เท่ากันครับ มีข้อแม้นิดนึงว่าในวิธีการผ่าออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆนั้น ต้องไม่พบว่ามีเซลล์มะเร็งที่ขอบของชิ้นเนื้อที่ผ่าออกมานะครับ แล้วจะเอาปัจจัยอะไรมาช่วยในการตัดสินใจดี
เป็นธรรมดาที่ถ้าเลือกได้เราคงอยากผ่าน้อยๆอยากเก็บเต้านมเอาไว้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะเลือกวิธีไหน
ก็ต้องขึ้นกับความรู้สึกในเรื่องต่อไปนี้
ยังอยากเก็บเต้านมเอาไว้ไหม ?
ถ้ายังรู้สึกว่า ชีวิตนี้ต้องมีเต้านม เต้านมยังสําคัญอยู่ก็คงต้องเลือกผ่าออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆแล้วตามด้วยการฉายรังสีแทนที่จะตัดเต้านมออกทั้งหมด
กังวลกับขนาดของเต้านมสองข้างหลังผ่าตัดว่าจะไม่เท่ากัน ?
คนไข้ส่วนใหญ่ที่เลือกผ่าออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆแล้วตามด้วยการฉายรังสี
ยังสามารถที่จะคงความสวยงามของเต้านม และขนาดของเต้านมไว้ได้ ขนาดอาจจะไม่เท่ากันเป๊ะๆ
แต่ก็ไม่ได้รู้สึกถึงความแตกต่างมากนัก แต่ในคนไข้บางคนที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่และต้องมีการตัดเนื้อนมออกมาก
ซึ่งอาจทําให้ขนาดเต้านมหลังผ่าตัดมีความแตกต่างกันมากหรือผิดรูป ก็มีเทคนิคการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม ( breastreconstruction)
มาแก้ไขตรงจุดนี้โดยอาจเลือกผ่าตัดได้ทั้งตัดเต้านมออกหมด หรือเลือกผ่าออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆ แล้วใช้เทคนิคการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมมาช่วยก็ได้
ความกังวลว่าตัวโรคจะกลับมาไหม ? ถ้าหากว่าการตัดเต้านมออกทั้งหมดจะทําให้คนไข้สบายใจมากกว่า เพราะรู้สึกว่าได้เอาออกไปจากตัวหมดแล้ว
ก็คงเลือกตัดเต้านมออกหมด ( แม้ว่าความจริง โอกาสกลับเป็นซ้ําจะใกล้เคียงกัน ) นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่จะมีผลต่อวิธีการผ่าตัดของคนไข้มะเร็งเต้านม เช่น โรงพยาบาลที่ทําการรักษา
ส่วนใหญ่แล้วคนไข้ที่รักษาตามโรงเรียนแพทย์หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มักได้รับข้อเสนอให้ผ่าตัดออกเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อนมรอบๆ
มากกว่าคนไข้ที่รักษาตามโรงพยาบาลขนาดเล็ก ส่วนหนึ่งอาจเพราะความขาดแคลนเครื่องฉายรังสีซึ่งมีความจําเป็นหลังการผ่าตัด"
นายแพทย์ธงชัย ศุกรโยธิน
สาขาวิชาศัลยศาสตร์เต้านมและต่อมไร้ท่อ
ภาควิชาศัลยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
26 สิงหาคม 2564
ผู้ชม 7374 ครั้ง