เยอะ ! ปัญหาแพทย์-วงการแพทย์ เสนอยับยั้งร่างกม.ใหม่ทั้งหมด
เยอะ ! ปัญหาแพทย์-วงการแพทย์ เสนอยับยั้งร่างกม.ใหม่ทั้งหมด
MED HUB NEWS - ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook รายงานว่า หลังจากเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 ในการประชุมใหญ่สมาชิกแพทยสภาครั้งแรกรอบ 50 ปี ณ.ห้องประชุม sapphire 108 -110 อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี
เช่น สูตินรีแพทย์ จักษุแพทย์ ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ จากสังกัดต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน โรงเรียนแพทย์ และแพทย์ผู้ปฏิบัติงานดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งได้สละเวลาเข้าประชุม ราว 100 ท่าน
โดยมี ศ.นพ.ดร.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา และ ศ.พญ.ประสบศรี อึ๊งถาวร เป็นประธานภาคเช้า และบ่ายตามลำดับ มี นพ.อิทธพร คณะเจริญ รักษาการเลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รายงานกิจการแพทยสภา ให้สมาชิกแพทย์ได้ทราบ และซักถาม
มี รศ.นพ.สมชาย อมรโยธิน วิสัญญีแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล นำเสนอปัญหาที่แพทย์ถูกฟ้องเพิ่มมากขึ้น และรุนแรงขึ้น นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นำเสนอผลรวมปัญหาของแพทย์ วงการแพทย์ และแพทยสภา ซึ่งนำเสนอด้วยเอกสารประกอบ และ ภาพสไลด์ ต่างๆ
จากการรวบรวมกว่า 2 เดือน ทางออนไลน์ และจากการนำเสนอความเห็นของแพทย์ที่เข้าประชุมในการประชุมครั้งนี้ 3 วัน รวมถึงการทำโพลความเห็นแพทย์ หรือสมาชิกแพทยสภา พบว่ามีปัญหารุนแรง
ได้แก่ สวัสดิภาพของแพทย์ มีกรณีแพทย์ถูกทำร้ายที่ห้องฉุกเฉิน แพทย์ถูกดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม มีกฎหมายใช้บังคับมากและซ้อนกัน
อีกทั้งขณะนี้มีปัญหาเอ็นจีโอเข้ามามีบทบาทในร่างกฎหมาย รวมถึงหน่วยราชการหลายหน่วยต่างออกร่างกฎหมาย โดยที่แพทย์ไม่ได้ทราบและมีความเห็น แต่จะเร่งรัดให้นำเสนอผ่านระบบอย่างรวดเร็ว อ้างว่าทำการแก้กฎหมายได้ง่ายในยุคนี้
ในร่าง พรบ.ที่กล่าวถึงกันมากคือ ร่าง พรบ.วิธฺีพิจารณาคดีทางการแพทย์ และ ร่างแก้ไข พรบ.วิชาชีพเวชกรรมนั้น มีผลโพลออกมาว่ากว่าร้อยละ 96 ของแพทย์ที่ตอบโพล แจ้งว่า ไม่ทราบว่ามีร่างกฎหมายดังกล่าว และปัญหาระบบการฝึกอบรม ทางการแพทย์ต่างๆ
รวมถึงระบบการเข้าสู่กรรมการแพทยสภา หรือราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ยังคงเป็นปัญหา ต้องมีการแก้ไข พร้อมทั้งโครงสร้างระบบบริหารของแพทยสภา มีปัญหามาก ไม่มีโครงสร้างในระดับพื้นที่
เช่นไม่มีแพทยสภาจังหวัด ต่างจากสภาทนายความ ที่มีสภาทนายความจังหวัด ทั่วประเทศ และระบบบริการขาดปรสิทฺภาพ สร้างปัญหาเดือดร้อนและความไม่พึงใจให้ผู้ป่วย ทำให้ส่งเสริมการไม่ไว้วางใจแพทย์ ผู้แทนแพทย์ปฏิบัติที่เป็นวิทยากร นพ.องอาจ วิจินธนาสาร ได้นำเสนอว่า
ปัญหาของแพทย์ ที่มีมากมาย เป็นเพราะว่าองค์กรของแพทย คือแพทยสภา ยังขาดความใส่ใจในปัญหาของแพทย์หรือไม่ รวมถึงเหตุเพราะ 50 ปี แพทยสภาไม่เคยมีการพูดคุยในลักษณะนี้กับสมาชิพแพทย์ แพทย์ขาดช่องทางที่จะนำเสนอปัญหาให้ได้รับการแก้ไข ปัญหาแพทย์จึงสะสม
มีข้อสรุปเบื้องแรกคือการยับยั้งร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับแพทย์ซึ่งแพทย์ยังไม่ได้รับรู้และมีความเห็น เช่น ร่าง พรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ซึ่งเสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่าง แก้ไข พรบ.วิชาชีพเวชกรรม
รวมถึงร่างข้อบังคับแพทยสภาเกี่ยวกับการเขียนให้อำนาจกรรมการแพทยสภาในการระงับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่สอบสวนข้อเท้จจริงงก่อนตามที่ประชุมเสนอ ไม่มีผู้ใดคัดค้านการที่ต้องให้แพทย์ทราบเรื่อง ร่างกฎหมาย
มีเพียงแพทย์ท่านหนึ่งเสนอว่าควรเร่งรัด เพราะโอกาสขณะนี้เหมาะสมกับการแก้ไขกฎหมาย ล่าช้าไปอาจเกิดผลเสียและ ในการนี้ ช่วงบ่าย มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายเสนอว่า
ในร่างวิธีพิจารณาคดีการแพทย์นั้น ไม่พบว่าเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ กับทั้งที่ประชุมมีผู้เสนอว่ามีผลร้ายอีกด้วย เช่นขยายอายุความไป 3 ปี มากกว่าเดิม
โดย ท่าน ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ เสนอว่า ยังไม่มีการวิจัย และทำการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบ จะทำให้พบปัญหาที่ไม่มีทางออก พร้อมชี้ปัญหาแพทย์ที่พบมากมาย ส่วนหนึ่งเป็นอาการป่วยของระบบกฎหมายในประเทศ
สรุปให้ยับยั้งร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวกับการแพทย์ทั้งหมด พิจารณาจัดทำประมวลกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุขโดยต้องมีการวิจัยกฎหมาย และ ให้แพทย์ได้ทราบเรื่อง
สำหรับกฎหมายที่ออกโดยแพทย์ไม่มีส่วนรู้ และเสนอ มีเพียงกรรมการแพทยสภาเข้าไปประชุมสั้นๆ โดยไม่เต็มประสิทธิภาพนั้น โดยเฉพาะ กฎหมายเกี่ยวกับสถานพยาบาลที่ให้มีโทษอาญาเกี่ยวกับการโฆษณาสถานพยาบาลนั้น มีข้อเสนอให้เสนอร่างแก้ไขไป ทั้งหมด
รวมปัญหาแพทย์ แพทยสภา ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการแพทยสภาทราบและแก้ไขให้เข้าประชุมวิธีการรวบรวมปัญหาพร้อมข้อเสนอจากแพทย์ ตลอดระยะเวลา
- มอบนายแพทย์ / แพทย์หญิงรับผิดชอบ รับเรื่องทางสื่อออนไลน์ ( มีข้อจำกัด ) Id line ...chaninlee105 หรือ 0895005577 หรือ [email protected]
- ให้แพทย์ที่มีเลข ว และเข้าประชุม ทั้ง 3 วันเขียนส่งลงกล่อง ( มีข้อจำกัด )
- สำรวจด้วย poll ของแพทย์ที่สนใจระบบสาธารณสุข เช่น สำรวจความรับรู้ร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการแพทย์ ซึ่งกำลังยกร่างในชั้นต่างๆ ( มีข้อจำกัด )
- การสำรวจความเห็นแพทย์ในกระทู้เกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข ( มีข้อจำกัด )
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจาก แพทย์ 5xxx7
- ควบคุมดูแลการทำงานของแพทย์ รวมไปถึง จริยธรรมทางความคิดแพทย์
- พิจารณาสอบสวน และลงโทษ แพทย์ผู้ที่ไม่อยู่ในกรอบพระราชบัญญัติวิชาชีพ
- รวมแพทย์ทั้งประเทศให้เป็นองค์กรหนึ่งเดียวกัน
- ควรพิจารณากรอบเวลาการทำงานของแพทย์ให้ชัดเจน ทั้งในแนวนโยบายและปฏิบัติได้จริง
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจาก แพทย์หญิง 5xxx1
- ชื่นชมเวลาแพทยสภาออกมาช่วยปกป้องแพทย์เวลาถูกผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วยว่ากล่าวอย่างไม่เป็นธรรมในสื่อออนไลน์
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจาก แพทย์ 9xxx4
- อยากให้แพทยสภาแสดงบทบาทความรับผิดชอบ โดยเฉพาะปัญหาที่บุคลากรโดยเฉพาะแพทย์ถูกทำร้าย/คุกคาม
- แก้ปัญหา workload ที่มีมากในปัจจุบัน เพื่อลดปัญหาการลาออก และควบคุมประสิทธิภาพในการทำงานได้
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจาก แพทย์ 4xxx4
- ปัจจุบันมีแพทย์จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแพทย์ที่สำเร็จการศึกษานานแล้ว และไม่ได้ทบทวน / พัฒนาความรู้ความสามารถในการดูแลรักษาคนไข้ ทำให้เกิดผลเสียขึ้นมากมาย อาทิ
คนไข้ได้รับการรักษาที่เป็น “อันตราย” ต่อสุขภาพ จากความรู้ที่ผิด ๆ หรือความละเลยของแพทย์ ตัวอย่าง เช่น การให้ยาที่ไม่มี indication ซ้ำซ้อน และไม่ได้คำนึงถึง side effect drug interaction และ bcdygrand ของผู้ป่วยเลย รวมถึงการวินิฉัยโรคอย่างไม่เหมาะสมทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมตามมา
ปัญหาเชื้อดื้อยา จากการใช้ ATB ที่เกินความจำเป็น
สร้างความเข้าใจผิดต่อการดูแลตนเอง การรักษา และการป้องกันโรคต่าง ๆ แก่ผู้ป่วย/ ประชาชน ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และเกิดความคุ้นเคยกับการรักษาแบบผิด ๆ จนเกิดเป็นความเชื่อและอาจปฏิเสธการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ท่านอื่น
2 ขอเสนอว่า การพิจารณาต่ออายุใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม อาจเป็นทางออกที่ดีของปัญหานี้ เพื่อกระตุ้นให้แพทย์มีความกระตือรือร้นที่จะทบทวนและพัฒนาความรู้ของตนเองและไม่ทำการใดที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
รวมถึงการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดูแลรักษาคนไข้ของสถานประกอบการต่าง ๆ โดยเฉพาะคลินิกส่วนตัว และโรงพยาบาลเอกชนให้เป็นไปตามมาตรฐาน
หากคณะกรรมการกำลังดำเนินการดังกล่าวอยู่แล้ว เห็นสมควรให้เร่งดำเนินการให้เห็นผลจริง และเข้มงวดมากขึ้น สงสารคนไข้มาก
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจาก แพทย์หญิง 4xxx1
- ควรเป็นคนในวิชาชีพ
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจากการจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ มีการจัดให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ทำให้สามารถนำไปต่อยอดในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวันได้
แบบแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการของแพทยสภา – ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภา
ความเห็นต่อคณะกรรมการแพทยสภาจาก นศพ.
สร้างความตระหนัก ความรู้ การส่งเสริม รณรงค์ ให้เห็นถึงผลเสียที่ตามมา ทำให้คนบริโภคแล้วเป็นโรคน้อยลงในอนาคต
ความเห็นต่อการประชุมใหญ่แพทยสภาสมาชิก
ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สมาชิกแพทยสภา อย่างน้อง ปี ละ 1 ครั้ง และให้มีการประชุมวิสามัญ เมื่อมีกรณีเฉพาะที่มีความสำคัญต่อแพทย์ และวงการแพทย์และสาธารณสุข
1. นศพ.ภัสสร นทีทวีวัฒน์ : ดูมีความกระตือรือร้นและต้องการให้แพทย์ไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้ทำงานนอกเวลาให้น้อยลง และลดค่าใช้จ่ายโรงพยาบาลรัฐ ที่ตอนนี้กำลังขาดทุนอย่างหนัก
2. นศพ.ปัทมาศ เฉลิมวงศ์วิวัฒน์ : จัดงานส่งเสริม และควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพนั้นดีอยู่แล้ว เพราะรู้สึกว่ามีประโยชน์ ถึงแม้ว่าไม่ใช่แนวทางวิชาการก็ตาม แต่เป็นการแนะนำ การใช้ปัจจัย/การทำงานในชีวิตจริง
3. นศพ.ปข : เห็นด้วยกับการที่แพทยสภากำหนดข้อกฎหมายที่มีมาตรการที่เข้มข้นและมีความรัดกุมมากขึ้น เพราะจะสามารถช่วยเหลือผู้ร่วมวิชาชีพจากวิกฤตปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตรงจุด ตรงประเด็นมากขึ้น และไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่ใหญ่กว่าตามมา
4. นศพ.ณณ : รู้สึกเห็นด้วยกับแนวคิดของแพทยสภา อย่างไรก็ตาม ในมุมของคนรุ่นใหม่ ก็อยากจะเน้นเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรมมากขึ้น การได้มาฟังบรรยายใน 3 วันนี้ ทำให้เห็นถึงการจัดการระบบ แนวคิด ของแพทยสภา
รวมถึงอาจารย์แพทย์ทั้งหลายเกี่ยวกับการรักษา ด้วยวิธีใหม่ๆ ดิฉันจึงอยากให้งานสัมมนาครั้งหน้าได้มีการพูดเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการรักษามากขึ้น สนับสนุนให้มีนโยบาย สนับสนุนเทคโนโลยีมากขึ้น
5. นสพ.จ ม : - ประเด็นทางสาธารณสุข
การดูแลตนเองของประชาชนมีหลายกลุ่มคนมองว่า หน้าที่ดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของแพทย์ยังคง ดื่มสุรา สูบบุหรี่ แข่งรถ ไม่สวมหมวกนิรภัย ต่อไป และมาหาแพทย์โดยโรคที่แย่ลงกว่าเดิม ทำให้ส่งผลต่องบประมาณในการดูแลรักษา ในขณะที่ แพทย์เองคนไข้ล้นมือ ไม่ได้พัก ทั้งนี้คนไข้กลุ่มนี้ที่ปฏิบัติพฤติกรรมเสี่ยง มาพบแพทย์ในเวลานอกราชการ จากการประสบอุบัติเหตุ คนไข้ฉุกเฉินไม่ได้รับการดูแล
- นิยามสุขภาพใหม่
ตามนิยามความหมายสุขภาพ ประกอบด้วย สุขภาพทางกาย จิต สังคม วิญญาณ จากภาวะเศรษฐกิจประชากรไทย ยากจนเพิ่มขึ้น ประชากรที่ขาดสารอาหาร ทานอาหารไม่ครบทุกหมู่ มีปัญหาครอบครัว มีปัญหาทางด้านสังคม ไม่ได้รับการดูแล ทุกปัญหาแสดงออกทางกาย
บางปัญหาเป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้ป่วยไม่สะดวกใจที่จะกล่าวกับแพทย์ แพทย์รักษาแต่อาการที่มาพบแพทย์เท่านั้น ไม่ได้รักษาอาการทางกายทั้งหมด มันไม่เพียงพอ ที่จะรักษาคิดตาม CC คนไข้มาด้วยถ่ายเป็นเลือด เรารักษาโรค hemorrhoid แล้วปล่อยกลับบ้าน แต่คนไข้ทำงานโรงงาน ทานน้ำน้อย ไม่ทานผัก มีโรคท้องผูกเป็นสาเหตุ ไม่ถูกแก้ไข
- จบแพทย์เยอะ ไม่ออกชุมชน
ขึ้นชื่อว่าทำงานชุมชน แพทย์ส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะไป ด้วยที่มีปัญหาภูมิหลังที่ทราบกันดี งานเยอะ ทำไม่ไหว ปัญหาคือ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการรับแพทย์เพิ่ม มองตัวเลขการไม่เพียงพอของแพทย์
ทุกครั้งของการประชุมจะมีการนำเลขทางสถิติมาชี้แจงถึงการขาดแขลน แต่ไม่มีการนำการกระจายตัวมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหา การแก้ไขที่ตัวปัญหาจริงๆ กลับมีการแก้ไขน้อย
ถ้าการที่แพทย์ชุมชนน้อย เพราะงานเยอะ เงินเดือนต่ำ โอกาสทางการเจริญทางวิชาการน้อย สวัสดิการไม่ดี ควรแก้ตรงนั้น ควรแก้ที่การกระจายตัว ไม่ให้คนอยากออก
- ปัญหาการรอในโรงพยาบาลรัฐ
ขึ้นชื่อว่าความขัดแย้งคงไม่มีใครอยากให้เกิด ในสถานการณ์ปัจจุบันได้มีการเน้นไปที่ communications skills ให้แพทย์ได้รับมือกับอารมณ์ของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่อาจสามารถลดความขัดแย้งดังกล่าวได้อย่างชัดเจน จากการสำรวจพบว่าคนไข้ที่รออยู่นาน
ส่วนใหญ่คนไข้จะมารอเพื่อพบแพทย์ 5.00 ได้ตรวจ 8.00 เท่ากับว่า รอแพทย์ถึง 4 ชั่วโมง ได้มีอารมณ์ที่ไม่พอใจแพทย์อยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่แก้แต่การสื่อสารของแพทย์เพียงอย่างเดียวไม่น่าที่จะเพียงพอ เพราะไม่ได้เป็นการแก้ที่ต้นเหตุ ที่แท้จริง ควรแก้ไขระบบ
จัดระบบคิวที่คนไข้สามารถมาพอแพทย์ได้ตามเวลานัด เช่น นัดคนไข้ 8.00-8.30 แต่ระบุในใบนัดว่า คนไข้ควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนอย่างน้อย 15-30 นาที เพียงเท่านี้คนไข้ไม่ต้องเสียเวลา ครึ่งเช้าในการรอพบแพทย์ ทั้งนี้อยากให้ประเมินถึงความเป็นจริงของผู้ป่วย ผู้ป่วยกับสามี ลูก 4 ทำงานโรงงานรายได้ครอบครัว 600 บาทต่อวัน
การที่คนไข้ต้องลางานมาทั้งวัน เพราะต้องมารอพบแพทย์นั้น ส่งผลกระทบมากมาย เพราะขาดรายได้ ไม่มีเงินดูแลบุตร สุดท้ายทางออกของปัญหา ไม่มาพบแพทย์ไปซื้อยาหม้อ ยาลูกกลอน มาหาแพทย์นอกเวลาราชการ ทำให้ ER คนแน่นผู้ป่วยฉุกเฉินจริงๆ ได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ ยังมีกรณียังมีกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล กับคำถามที่ว่า ทำไมต้องเกิดช่วงเย็น และเป็นที่ ER
ทั้งนี้ถ้าลองวิเคราะห์กลุ่มคนที่มารักษา จะพบได้ว่าเป็น ที่มีปัญหาคือคนสมัยใหม่ ในสังคมแห่งความรวดเร็ว ที่หลีกหนีการตรวจที่ล่าช้า การบริการล่าช้าในตอนกลางวัน มาหวังให้มีการรักษาที่เร็วในตอนกลางคืน แน่เนื่องจากระบบที่ทำให้ ER ผู้ป่วยแน่น กลายเป็นว่า คนไข้ต้องมานั่งรอ กลายเป็นปัญหา เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเชื่อเป็นแรงผลักดันที่ว่ามา ER ต้องได้ตรวจเร็ว
- ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการรักษา
ในกรณีผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ปรับยาถึง 3 ครั้ง อาการไม่ดีขึ้น ในแต่ละครั้งแพทย์ได้ค่อยๆ อธิบายถึงเหตุผลของการปรับยา ผู้ป่วยเองเข้าใจดี จนครั้งสุดท้าย แพทย์ได้โมโหมากตำหนิไปอย่างแรง ผู้ป่วยรู้สึกแย่มาก สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
ในปัจจุบันได้มีการเน้นคำว่า empathy ใจเขาใจเรา เป็นอย่างมาก แต่ไม่ค่อยสามารถทำได้จริงในเวชปฏิบัติ เนื่องด้วยการสร้าง empathy ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ในเวชปฏิบัตืมีการพูดคุยกับผู้ป่วยน้อยมาก เพราะภาระงานเยอะ จากกรณีบน ถ้าแพทย์ทราบว่า ผู้ป่วยอยู่กับหลาน ไม่มีใครดูแล ไม่มีอันจะกิน กินข้าวกับน้ำปลา แพทย์จะเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น หรือ ในกรณีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน แต่ที่บ้านเป็นสวนลิ้นจี้ เป็นต้น
-ปัญหาการส่งการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่
กรณีผู้ป่วยหญิง เป็นโรคความดัน เบาหวาน มีอาการตกขาวผิดปกติ และมาด้วยก้อนในท้อง ผู้ป่วยต้องรอตรวจที่ห้องตรวจศัลยกรรม 3 ชั่วโมง ไปรอตรวจที่ห้องตรวจ สูตินารีอีก 3 ชั่วโมง รอไปปรับยาที่อายุรกรรมอีก 3 ชั่วโมง เราไม่มีแพทย์เพียง 1 คนที่ตรวจร่างกายให้ผู้ป่วยคนนี้ทุกระบบ
จากนั้นนำปัญหาไปปรึกษาอาจารย์ เราแยกส่วนกันดูแลผู้ป่วย ไม่ดูแลแบบองค์รวม สุดท้ายปัญหาตกอยู่ที่ผู้ป่วย ในกรณีแต่ละ ward ต่างสั่งยาของตนเอง ทำให้ผลข้างเคียงของยาอาจตีกันไปหมดได้ ถ้าเรามีแพทย์ 1 คนที่สั่งยาให้ผู้ป่วย ตามการปรึกษาของอาจารย์แพทย์ ผู้ป่วยจะได้ยาที่ไม่ตีกัน ไม่เกิด side effects ของยา
-ปัญหาจุดคัดกรองโรคของโรงพยาบาล
ผู้ป่วย TB ที่เข้ามาในโรงพยาบาล ผ่านจุดคัดกรองโรคที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ มีการปล่อย TB ทั่วโรงพยาบาล เพราะจุดคัดกรองแค่ถาม มีอาการไอมา 3 เดือนหรือปล่าว ถ้าคนไข้พูดเท็จ ก็กระจายโรคได้ รวมยังโรคอื่นๆ นอกจากนี้เรื่องระบบห้องแยกในโรงพยาบาลที่มีไม่เพียงพอ
-ปัญหาโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
เป็นปัญหาใหญ่ ผู้ป่วยบางรายใช้ ATB วันละหลายหมื่นบาท และปัญหานี้มันต้องเกิดถ้า ผู้ป่วยอยู่ในโรงพยาบาลนานเกิน 8 วัน โดยเกิดในหอผู้ป่วยร่วม มากกว่าหอพิเศษ และ ปัญหาการติดเชื้อจากห้องผ่าตัดมีน้อยมาก
ปัญหานี้องค์การอนามัยโลกถึงได้ในออกข้อกำหนดการล้างมือ นำสู้การใช้ในโรงพยาบาล แต่ปัญหามันไม่ใช้แค่นั้น เชื่อจะไม่ติดทางมือของแพทย์ ถ้าแพทย์ พยาบาล ล้างมืออย่างถูกวิธี อันนี้มีมาตราการ แต่จะติดทาง อุปกรณ์ที่แพทย์ พยาบาล ได้ใช้ร่วมกันหลายเตียง โดยไม่ระวัง
เช่น หูฟัง เสื้อกาว ขวดนำเกลือที่นำมาเช็ดแผล ของเหล่านี้ล่วนแพร่เชื้อทั้งสิ้น ทั้งนี้เชื้อที่ติดตามเสื้อของแพทย์ ได้ถูกส่งต่อไปยังทั้วโรงพยาบาลผ่านการ round ward ไปยัง ward เด็ก ward ICU ออกไปปนเปื้อนได้ต่อที่ร้านอาหารกลางวันใกล้โรงพยาบาล
-ปัญหาการใช้ของฟุ่มเฟือยในโรงพยาบาล
การส่งแลป การใช้คุรุภัณฑ์ ในการทำหัตถการ ในบางกรณีมีการใช้ฟุ้มเฟือยมาก โดยไม่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ แต่หยิบใช้กันเป็น routine เช่น ก่อนการผ่าตัดส่งแลป CBC BUN Cr E'Lect CXR โดยบางอย่างไม่จำเป็นต้องส่ง
ความเห็นจำแนกกลุ่ม
ตัวแพทย์- ปัญหาการประกอบวิชาชีพที่ถูกคาดหวังผิดๆเมื่อผิดคาด ฟ้องทุกระดับโดยมีระบบทำคดีรองรับทั้งงบหลวง ( ฟ้องแบบคนอนาถา งบสภาทนายความที่ได้จากรัฐอุดหนุน หรือที่จะมีร่างสภาผู้บริโภค / งบราษฎร์ในรูป NGO เช่น มูลนิธิเกี่ยวกับฟ้องแพทย์
-ปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน –workload -ถูกทำร้าย โดยเฉพาะที่ ER- ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ภาระงานที่เกินมนุษย์
-ปัญหาความไม่มั่นคงในด้านรายได้ –รายได้ไม่พอรายจ่าย- ถูกค้างจ่ายค่าอยู่เวร – ถูกตีความไม่จ่ายเงินเบี้ยต่างๆ –มีการฟ้องหน่วยงานในเรื่องนี้ เช่น ที่ รพ.หนองน้ำขุ่น –สถานะลูกจ้างฯลฯ
การตรากฎหมายใหม่ และแก้ไขกฎหมายเดิม มีจำนวนมาก แพทย์ไม่มีส่วนร่วม ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
-ร่างแก้ไข พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ... แพทย์ว่า ปุบปับออกกฏหมาย จะดีหรือ ? - " ไม่ดี แต่เข้าท่าดี "
-ร่าง พรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ ( ดูคำสั่งผู้ยกร่าง )
-ร่าง พรบ.เซลล์บำบัด พ.ศ....
-ร่าง พรบ.ระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. ...
- ร่าง พรบ.สภาผู้บริโภค
-ควรจัดให้มีประมวลกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข ให้มีการกำหนดการประกอบวิชาชีพแพทย์เพื่อรักษาผู้ป่วยไม่เป็นความผิดทางอาญา เว้นแต่จะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ให้มีวิธีพิจารณาคดีการแพทย์ในตัวโดยให้มีองค์กรกลั่นกรองให้ฟ้องเป็นคดีอาญาทางการแพทย์ได้
ต้องผ่านขึ้นการพิจารณาของหน่วยงานเฉพาะ เช่น สธ. หรือที่เป็นแบบ ปปช. หรือศาลเด็กและเยาวชน ไม่ให้มีกฎหมายที่ให้อำนาจเพียงอธิบดีศาลอุทธรณ์เป็นผู้ชี้ว่าคดีเกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วย เป็นคดีผู้บริโภคที่เป็นอยู่ในขณะนี้ให้มีลูกขุนฟังข้อเท็จจริงในคดีการแพทย์ ไม่ให้ศาลเป็นผู้ฟังข้อเท็จจริงในคดีทางการแพทย์ ให้ศาลมีหน้าที่เฉพาะพิจารณาเรื่องการลงโทษตามบทบัญญัติโทษทางกฎหมาย
-มีสภาวิชาชีพสาขาจำนวนมาก ที่วางจริยธรรมของตนเอง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดูแลผู้ป่วยซึ่งต้องทำงานเป็นทีมให้รวม พรบ.วิชาชีพสุขภาพเข้าเป็นหนึ่งเดียว แต่แยกเป็นสภารายสาขาภายใต้สภาหลักด้านการแพทย์และสาธารณสุข
- กฎหมายที่สร้างปัญหาต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และระบบบริการ –ให้ยุบรวมเข้าในประมวลกฎหมาย มีคณะกรรมการทางการแพทย์และสาธารณสุขเพียงชุดเดียวตามประมวลกฎหมาย และให้อำนาจตั้งคณะอนุกรรมการรายเรื่องได้ จึงจะสามารถเชื่อมโยงงาน ทรัพยากร และบุคคลเข้าทำงานด้วยกันอย่างบมีคุณภาพด้วย
การดำเนินคดีกับแพทย์ไม่เป็นธรรม
-คดีจริยธรรมไม่มีคณะกรรมการจริยธรรมตามหลักของกฎหมายวิชาชีพทั่วไป มีแต่อนุกรรมการจริยธรรม ซึ่งที่มาของอนุกรรมการไม่มีเกณฑ์ชัดเจน และไม่เปลี่ยนแปลง เป็นระบบพรรคพวก ใช้ผู้มีส่วนได้เสียเป็นอนุกรรมการพิจารณาก็มี
-คณะอนุกรรมการจริยธรรม หลายท่านไม่มีความรู้เข้าใจในหลักการสอบและฟังข้อเท็จจริง เอาความเห็นมาแทนข้อเท็จจริงก็มีมาก
-กรรมเดียวถูกฟ้องหลายกฎหมาย ทั้งจริยธรรม ปกครอง อาญา แพ่ง
-การฟ้องคดีแพทย์ทำได้ง่ายดาย สร้างภาระแก่แพทย์ กระทบผู้ป่วยอื่นที่แพทย์ต้องรับผิดชอบ ผู้ฟ้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในคดีแพ่งตามวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค โดยปกติ ต้องมีระบบการกลั่นกรองการฟ้องแพทย์ คล้ายๆกับการฟ้องในศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ฟ้องไม่มีภาระ แพทย์ผู้ถูกฟ้องถูกผลักภาระในการพิสูจน์มาก
-ฝ่ายจริยธรรมของแพทยสภา มีภาระงานมากในงานประจำ จนไม่อาจทำงานด้านการพัฒนาหลักกฎหมาย จำเป็นต้องมีนักวิชาการกฎหมายระดับสูงเพื่อช่วยแพทยสภาพัฒนาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการวินิจฉัยข้อพิพาทางการแพทย์
-ผู้พิพากษา ไมมีความรู้และเชี่ยวชาญในการฟังข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ทำการพิพากษาอย่างมีข้อสงสัยจำนวนหลายคดี และยังคงไม่มีการแก้ไขระบบดังกล่าว ทำให้ส่งผลต่อการประกอบวิชาชีพของแพทย์ และกระทบประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการทำหน้าที่แพทย์
ข้อบังคับของแพทยสภา
-ร่าง และตราข้อบังคับโดยไม่ยึดธรรมเนียมปฏิบัติที่เป็น good practice ไม่เปิดรับฟังความเห็นแพทย์
ระเบียบของแพทยสภา
ระเบียบการทำงานของแพทยสภา เก่าแก่มาก ต้องมีการปรับปรุง
คณะกรรมการแพทยสภา
-มีข้อบังคับการประชุมที่เป็นคล้ายองค์กรเถื่อน คือให้การประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเป็นความลับในทุกเรื่อง ทำให้
-มีปัญหาไม่ครบองค์ประชุมมาก เหตุจากเป็นคณะที่ใหญ่เกินไป มีกรรมการโดยตำแหน่งมากเกินไป โดยเฉพาะมีคณบดีมากเกินไป ซึ่งมีภาระในงานของตนมาก จึงมักส่งผู้แทนมาและได้ผู้เปลี่ยนหน้ามาตลอด ไม่เข้าใจต่อเนื่องในเรื่องราวและประเด็น ทำให้มีปัญหาของการตัดสินใจงานของแพทยสภาบ่อยครั้ง
-คณะกรรมการแตกแยกรุนแรงในการถอนฟ้องคดีนางปรียานันท์ มีการลาออกของกรรมการ การลาออกของเลขาธิการ จนปัจจุบันไม่มีเลขาธิการมีแต่รักษาการ ฯ ทั้งนี้ในระหว่างเดือนเมษายน พฤษภาคม ถึงปัจจุบัน ทำงานได้อย่างติดขัด
-วิธีการได้มาซึ่งกรรมการแพทยสภาจากการเลือกตั้งมีปัญหา ไม่สามารถชี้ได้ว่าผู้ลงคะแนนคือแพทย์ผู้มีสิทธิจริง มีข้อสงสัยเอกสารที่เป็นแบบลงคะแนนทำเลียนแบบได้ ทิ้งช่วงนับแต่ส่งบัตรจนรับบัตรลงคะแนนนานมาก ถึง ๒ เดือน หมอหาบัตรไม่ได้ฯลฯ มีปัญหาความไม่โปร่งใส มีข้อทักท้วงตลอด มีผลการวิจัยชี้ชัดปัญหา แต่แพทยสภาไม่แก้ไข และมีคดีความ ซึ่งยังไม่แก้ไข การเลือกตั้งวิชาชีพอื่นเช่นทันตแพทย์ใช้ออนไลน์
-โครงสร้างของคณะกรรมการแพทยสภา ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีโครงสร้างระดับย่อยของพื้นที่ เช่น ไม่มีแพทยสภาจังหวัด มีเพียงราชวิทยาลัยหรือสมาคมที่แพทยสภารับไว้ อันเป็นโครงสร้างระดับย่อยรายสาขา -ควรปรับให้มีคณะกรรมการแพทยสภาจังหวัด โดยมีสำนักงานเฉพาะ ให้มีอำนาจหน้าที่แบบคณะกรรมการแพทยสภาในส่วนที่คณะกรรมการแพทยสภามอบอำนาจให้ กับทั้งเพื่อสร้างเสริมความสามัคคีในแพทย์ และช่วยแบ่งเบาภาระของแพทยสภากลาง
-ให้ สปสช. ไม่บริหารเงิน ให้ตั้งคณะกรรมการมาดูว่ามีปัญหาอะไร ให้จัดทำรายงานว่ามีการไหลเวียนเงินอย่างไร หากเคลียร์ไม่ได้ ให้ยุบ
- สสส. ให้ปลดคณะกรรมการยกชุด
-พรบ.วิธีพิจารณาคดีทางการแพทย์ พ.ศ. ...
แพทย์ไม่มีส่วนร่วม ไม่การันตีว่า จะได้ ทำเวชปฏิบัติแบบเดิมไหม ถ้าผ่านแล้ว คุกรออยู่ขางหน้า พรบ.นี้มีความเห็นแตกแยกอย่างมาก ควรยุบ
-ร่าง พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ต้องมีเจตนารมณ์ กว้าง คือเพื่อคุ้มครองให้หมอมีอิสระในการทำงานตรวจรักษาผู้ป่วย โดยที่คนไข้ได้รับประโยชน์และปลอดภัย ต้องปกป้องหมอ ให้หมอไปสร้างโอกาสที่ดี เพื่อผู้ป่วย / ให้หมอได้เรียนรู้ศาสตร์ทุกรูปแบบเพื่อใช้ช่วยผู้ป่วย โรคหนึ่งๆในคนหนึ่งๆ มีวิธีรักษามากกว่า 100
ไม่ใช่ทำให้หมอเป็นเพียงคนเดินยาให้บริษัทยา - การทำ พรบ.นี้ให้เข้มงวด กวดขัน ให้โทษแพทย์ ทำให้หมอไม่มีความคิดสร้างสรรค์
ปัจจุบันราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นองค์กรที่แพทยสภาดูแล แต่กรรมการได้มาโดยสายเลือด
ควรมีกำหนด ว่า จบ GP ทำอะไรได้บ้าง / สบส.ทำอะไรได้บ้าง / ปัจจุบันใช้เกียร์ว่าง ตีกัน / ควรออกเงื่อนไขว่าใครทำอะไรได้ /ที่ไหนมีเทรน / ส่งหลักสูตรให้รับรอง และให้มีรีนิวทุก ปีหรือ 2 ปี เป็นต้น
การทำงานของแพทยสภาไม่มีประสิทธิภาพ และเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาวงการแพทย์
-ตัวแทนของแพทยสภาในงานด้านต่างๆ ตัวแทนไม่มีเวลาให้กับงานที่ตนเองรับเป็นตัวแทนเช่นไปประชุมแทนในนามแพทยสภา แต่ไปสั้นๆ ลงชื่อ บางครั้งเป็นการไปรับรอง สร้างความชอบธรรม
-มีตัวแทนแพทยสภาในคณะกรรมการตามกฎหมาย สปสช. หรืออื่นใด เป็นแต่คนเดิมๆ บางครั้งไปเป็นโดยที่ไม่ได้รับมอบอำนาจตามกฎหมายจากคณะกรรมการแพทยสภาที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้น และไม่ทำหน้าที่อย่างดี ทักท้วงกรณีที่มีปัญหากระทบการประกอบวิชาชีพแพทย์ และไม่รายงานแก่คณะกรรมการแพทยสภาแต่อย่างใด เป็นลักษณะผูกขาด
- ไม่มีการรายงานการใช้งบที่ได้จากรัฐบาลสนับสนุนและที่เก็บจากสมาชิกให้แพทย์ได้ทราบ ติดตาม ตรวจสอบ
- มีการทำงานในหน้าที่แพทยสภาตาม มาตรา 7 ไม่สมบูรณ์อย่างมาก แต่มีการทำงานอื่นที่ไม่ใช่หน้าที่แพทยสภา เพื่อการหาคะแนนนิยมหรือไม่ หรือเพราะเหตุใด หากมีอยู่ควรส่งให้ผู้มีหน้าที่โดยตรงดำเนินการ
-การประชุมคณะกรรมการแพทยสภา นั้น ส่วนใหญ่จะเกินเวลาทำงานปกติ กรรมการล้าประชุม และกรรมการบางส่วนไม่อยู่ประชุม ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ และการพิจารณาตัดสินใจอยู่บนความไม่พร้อม
สื่อเสนอข่าวเกี่ยวกับแพทย์และวงการอย่างไม่เป็นธรรม แพทย์ถูกสังคมตัดสินเป็นจำเลยสังคม เรื่องราวของแพทย์ จะได้รับการทำข่าวอย่างเสียหายต่อแพทย์ เมื่อความจริงปรากฏ จะไม่ได้รับการทำข่าว
สถานะโดยรวมของวงการแพทย์
-มีหมอเถื่อนในแบบต่างๆเยอะมาก ซึ่งแพทยสภาละเลยไม่ดำเนินคดี
-แพทย์ไม่สามัคคี แย่งคนไข้ ฟ้องกันเอง ทั้งในระดับแพทย์ต่อแพทย์ แพทย์ต่อกรรมการแพทยสภา
-มีความเห็นต่างรุนแรงในกรรมการแพทยสภา กรรมการแพทยสภาต่อกรรมการฯ
-แพทย์ได้รับผลกระทบจากกฎหมายสถานพยาบาล –แพทย์มีหลายสถานะ เช่นเป็นผู้ประกอบการ-ผู้ดำเนินการ-ผู้ปฏิบัติงาน
-การโฆษณาการประกอบวิชาชีพ และสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้อง แพทย์ทำไลฟ์สดเกี่ยวกับการกระทำต่อผู้ป่วย
-ปัญหาคลินิกความงาม ชะลอวัย ทางเลือก และศาสตร์ทางการแพทย์อื่นๆจะพัฒนาคุณภาพและประเทศจะพัฒนาด้านนี้ไปทางใด
การถอนฟ้องผู้ทำให้เกิดความเสียหายต่อวงการแพทย์ แพทยสภา และประชาชนโดยรวม มีปัญหารุนแรง
มีการเสนอในที่สาธารณะ ให้ยุบคณะกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบันเหตุแตกแยกรุนแรงจากการถอนฟ้องนางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา และให้เลือกตั้งใหม่ ให้แพทย์โหวตเลือกทีมถอนฟ้องฯ หรือทีม ให้ดำเนินคดีต่อไป เพราะเป็นกรณีสำคัญต่อสถานะของวงการแพทย์ และองค์กรแพทยสภา
การฝึกอบรมแพทย์ที่ดำเนินการโดยโรงเรียนแพทย์หลายแห่งหลายด้านไม่มีความพร้อม
-เนื่องจากประสงค์ได้ค่าหัวในการจัดการเรียนการสอนแพทย์ หัวละ 3 แสนบาทให้กับสถานศึกษา จึงมีการจัดการเรียนการสอนโดยรับนักศึกษาจำนวนมากในแต่ละแห่ง โดยที่ยังมีปัญหาความไม่พร้อมด้านสถานที่ ด้านการฝึก ด้านอาจารย์ ด้านที่พักนักศึกษาไม่พร้อม แต่ แพทยสภาก็รับรอง
-รับรองสถาบันอบรมแพทย์และรับรองหลักสูตร โดยไม่ชอบด้วยหลักการ เช่นไม่ผ่านการตรวจสอบโดยคณะอนุกรรมการวิชาการ มีหลายสถาบันไม่มีความพร้อม และมีปัญหากระทบต่อนักเรียนแพทย์ที่เข้ามา
-มีข้อครหาระบบการรับรองอนุมัติเกี่ยวกับการฝึกอบรมแพทย์/แพทยประจำบ้าน ไม่โปร่งใส ควรตั้งคณะทำงานขึ้นศึกษาปัญหาและตรวจสอบ เพื่อแก้ไข
การบริหารงานกฎหมายของแพทยสภาบกพร่อง
-มีเพียงคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย และกรรมการแพทยสภาที่ดูแลเป็นที่ปรึกษากฎหมาย ผูกขาดเรื่องการยกร่าง และการตรากฎหมาย และไม่รับฟังความเห็นแพทย์ทั้งที่มีการเสนอแนะ
-ไม่มีโครงสร้างและองคาพยพในการจัดการผู้รุกรานแพทยสภา แม้กรณีท้ายสุดมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้รุกรานแพทยสภา ผู้มีอำนาจเป็นตัวแทนแพทยสภา ก็กระทำการลุแก่อำนาจ ฝ่าฝืนมติได้ โดยที่ไม่มีระบบตรวจสอบ สอบทานทางกฎหมายและคดีแต่อย่างใด จนมีการถอนฟ้องคดีอันที่เป็นเหตุให้ต้องอุทธรณ์ เสียหายทั้งสถานะชื่อเสียงของแพทยสภา และทั้งเวลา กำลังคน กับงบประมาณ
การบริหารงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
-อนุกรรมการบริหารแพทยสภา ทำเกินกรอบอำนาจ ในการกักเรื่องวาระเข้าเสนอเพื่อให้คณะกรรมการแพทยสภามีมติ มีทักท้วงไม่ฟัง ยังคงทำผิดซ้ำซาก ต่อเนื่อง ถึงปัจจุบัน
- เลขาธิการแพทยสภาที่ผ่านมา ทำเกินกรอบอำนาจ ในการกักเรื่องเข้าเสนอเพื่อให้คณะกรรมการแพทยสภามีมติ
-อนุกรรมการของคณะกรรมการแพทยสภา มี 166 ชุด จะทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
สวัสดิภาพของแพทย์
การดำเนินการของแพทยสภา ว่าด้วยการจัดทำข้อเสนอต่อรัฐบาล
-ไม่ได้ทำเลยทั้งที่แพทย์มีปัญหามาก ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำหงานหนักเกินกำลัง เกินเวลา เกินกว่าที่ปกติ
-เรื่องอื่นๆสวัสดิภาพ
คดีแพทยสภาฟ้องนางปรียานันท์ และถอนฟ้องเมื่อเร็วๆ นี้
- ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนางผู้นี้ แต่เป็นกรณี..และเธอเป็นสัญลักษณ์ของคนที่กล่าวหาแพทย์และระบบการแพทย์ มาต่อเนื่องหลายปี เมื่อแพทยสภาฟ้องก็ต้องพิสูจน์ การถอนฟ้องทำให้เกิดผลเสียระลอกต่อไปของวงการแพทย์รุนแรงขึ้น
- กรรมการมีเสียงแตกอย่างชัดเจน มีสัดส่วนราว 1 ต่อ 3 ที่ให้ไม่อุทธรณ์ 1 ส่วน ( ใกล้เคียงกับเห็นด้วยกับการถอนฟ้อง-ไม่พิสูจน์ว่า เขาผิด แต่ไม่ใช่ ) และให้อุทธรณ์ 3 ส่วน ( ไม่เห็นด้วยกับการถอนฟ้อง )
- กรรมการส่วนหนึ่งที่ไม่ได้มาจากพลังแพทย์ สนับสนุนการถอนฟ้องนางปรียานันท์ โดยไม่ให้อุทธรณ์และกรรมการที่มาจากพลังแพทย์ทั้งหมด ร่วมกับกรรมการโดยตำแหน่งและเลือกตั้งอื่นไม่เห็นด้วยกับการถอนฟ้อง และประสงค์ให้อุทธรณ์ ตอนนี้อุทธรณ์ แล้ววานนี้
ตัวอย่างการเสนอประเด็นของแพทย์ และนักศึกษาแพทย์ที่เสนอประกอบ
ประเด็น 1 แพทย์ควรต่อ CME ทุกปี
เห็นด้วยเพราะ update ความรู้ให้ทันยุค 4.0
ไม่เห็นด้วย...ภาระงานมากอยู่แล้ว แค่ตรวจให้ผู้ป่วยไม่ต้องไปร้องเรียน ก็แทบไม่มีเวลากินข้าว เข้าห้องน้ำอยู่แล้ว แพทย์จะเป็นโรคกระเพาะ หรือ cystitis กันทั้งประเทศ
เรื่อง CME ไม่เห็นด้วยเพราะทำงานก็เครียดแล้วค่ะ ภาระงานทำให้ต้องไปทำงานไกลจนไม่ได้ดูแลคุณพ่อที่เป็นมะเร็ง คุณแม่ที่ชรา อาชีพแพทย์นี่ปัจจุบันแย่ค่ะ ไม่เหมือนในอดีต
ข้อเสนอแนะ ...ถ้ามีต้องกำหนดคะแนนแตกต่างกันแต่ละระดับ และไม่ควรผูกติดกับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม
ประเด็น 2 พรบ โฆษณาสถานพยาบาลควรมีหรือไม่
เห็นด้วยเพราะ จะได้ไม่มีแพทย์โฆษณาเกินจริงแบบดารา เพราะหวังเงินอย่างเดียว
ไม่เห็นด้วย ...แพทย์เกาหลี มาเปิดบริษัท โฆษณาดึงคนไทยไปรักษาที่เกาหลีไม่ผิด แต่แพทย์ไทยมีฝึมือดีกลับผิด
ข้อเสนอแนะ...ถ้ามีควรต้องปฏิบัติกับทุกระดับ ทั้ง รพ รัฐ. เอกชน ไม่ใช่บังคับเฉพาะคลินิก
และบังคับใช้ทั้งใน และต่างประเทศ
ผมเห็นว่าควรจะยกเลิกเรื่องการขออนุญาตโฆษณาครับ
ควบคุมดูแลคลินิกให้ถูกกฎหมาย
ผมอยากให้ปฎิบัติตามข้อ 123 นี้ครับพี่ ต้องยกเลิกการที่สถานพยาบาลต้องขออนุมัติประกาศและโฆษณาก่อนนำไปเผยแพร่เพราะนอกจากจะเป็นภาระให้แก่สถานพยาบาลโดยไม่จำเป็นแล้วก็เป็นภาระต่อหน่วยงานที่ตรวจอนุมัติและหน่วยงานตรวจอนุมัติก็ไม่สามารถตรวจอนุมัติได้จริงโลกแห่งความเป็นจริงณปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นรายนาทีและรายชั่วโมง
ผมเห็นด้วยนะครับว่าควบคุมแค่โอ้อวดเกินจริง
ประเด็น 3...ฝากพี่หมอที่รู้จักกรรมการแพทยสภาแจ้งถึงความเดือดร้อนในเรื่องการผลิต GP ว่าผลิตจำนวนมากจนเสี่ยงต่อการตกงาน ( ก่อปัญหาปากท้อง ) และทำให้ไร้อำนาจต่อรองหรือประกอบวิชาชีพได้ไม่ตามที่เรียนมาเพราะถูกบีบบังคับได้จากความไม่มั่นคงดังกล่าวค่ะ
ประเด็น 4 ...การร่างกฎหมายวิธีพิจารณาคดีการแพทย์ การแก้ไขพรบ.วิชาชีพเวชกรรม ร่างพรบสภาผู้บริโภค
เห็นด้วย... ไม่มี
ไม่เห็นด้วย...
สภาผู้บริโภคที่มีแนวโน้มให้มีองึ์ค์กรนี้ได้งบจารัฐ สามารถฟ้องแพทย์... ปัญหาอาจรุนแรงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
ไม่ควรมีสภาผู้บริโภคค่ะ เพราะสื่อมวลชนจะเสนอข่าวให้สภาผู้บริโภคจนเป็นที่รู้จักของประชาชน และคนที่จะฟ้องแพทย์หรือคนที่มีอคติกับแพทย์จะรวมตัวกันได้ง่ายเพราะมีสภาเป็นตัวเป็นตนจนสภาผู้บริโภคแซงอยู่เหนือกว่าแพทยสภาไปได้ค่ะ ซึ่งน่ากลัวมากค่ะ
ประเด็น 5 แพทยสภารับ จม ร้องเรียนเรื่องเท็จ แล้วให้แพทย์ชี้แจง
ไม่เห็นด้วย...
เพราะ แพทย์มีภาระงานหนักอยู่แล้ว ทั้งบริการ บริหาร งานเอกสารเยอะมาก เช่น HA งานศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาวิชาชีพตนเองอยู่ตลอดเวลา
ความเห็น...
แพทยสภาค้องมีหน่วยข่าวกรองจริงเท็จ ก่อนส่งไปให้แพทย์ชี้แจงเรื่องเท็จ ซึ่งเสียเวลาอันมีค่า ต่อผู้ป่วยมาก
ทั้งนี้ เพื่อให้สังคมแพทย์ของเราน่าอยู่ อยู่กันแบบพี่น้อง ทำให้มีกำลังใจ ดูแลผู้ป่วย พัฒนานวตกรรมการรักษา ที่ปลอดภัย ราคาถูก ให้ประชาชนชาวไทยยิ่งๆขึ้นไป
วาระอื่นๆ
แพทย์หญิง .. ว. 3xx9
บทบาทของแพทยสภา ที่ยังไม่เห็นชัดเจน ในข้อ ๓ ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก เนื่องจากขณะนี้ แทพย์มาจากหลายสถาบันการศึกษา สภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ควรจะปรับปรุงเพื่อการสร้างเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก ให้เป็นของสมาชิก ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น และในข้อ ๕ ทำอย่างไรแพทยสภา จึงจะ บทบาทในการให้คำปรึกษาเพื่อหรือข้อเสนอแนะปัญหาทางการแพทย์ การสาธารณสุข เป็นที่ยอมรับของคณะรัฐบาล เพื่อแก้ไขต่อไป
แพทย์หญิง.. วxxx5
อยากให้แพทยสภาเป็นตัวกลางระหว่างประชาชนและแพทย์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้อ ๕ ได้ดีกว่านี้
แพทย์หญิง ว. 5XXX2
ช่วยแก้ปัญหาและค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง
แพทย์หญิง ว.5XXX9
อยากให้ทำงานในด้าการรักษาสิทธิของแพทย์ให้มากกว่านี้
นายแพทย์ ว 2XXX5
ปรับข้อระเบียบเพื่อสนับสนุน PPP
ปรับข้อตกลงเรื่อง HIS หหลักของประเทศ เพื่อการพัฒนา AIT blockchain
นายแพทย์ ว. 1XXX0
ส่งเสริมสนับสนุนในที่ประชุม วิทยากร อ.สมชาย อ.องอาจ อ.รังสรรค์ อ.วิษณุ
หมอทำเอกชน แม้อยู่ในภาครัฐ ..กฎหมายแยกแล้ว
หมอในภาคเอกชน ไม่มีเงินบำรุง ไม่มีอะไรเลย รับผิดชอบตัวเองเดี่ยว / บริษัทรับประกัน ไม่ – ขอให้แพทยสภา เป็นหน่วยที่
มีปัญหาแพทยสภา แต่ สบส.บอก ไม่มีหน้าที่จับหมอเถือน แต่ มาตรา 26 พรบ.วิชาชีพเวชกรรม และปรับ 3 หมื่น และจำ 3 ปี แพทยสภามีหน้าที่จับหมอเถื่อน- เกาหลี ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริม cosmetic hub ใช้ เป็นต้น
สำหรับความคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะจากสมาชิกแพทย์นั้น ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม รายงานว่าทาง กรรมการแพทยสภา ทีมพลังแพทย์ ได้เปิดรับฟังปัญหาตลอด จึงขอให้ติดต่อกับผู้ประสานทางหมายเลขโทรศัพท์ และ ไอดีไลน์ข้างต้น
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com
25 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 6885 ครั้ง