#รักฉุดใจนายฉุกเฉินEP14 กระแสทำให้หมอฉุกเฉินถูกสังคมสนใจแต่ "หมอจบใหม่" ลังเลเรียนต่อ "เวชศาสตร์ฉุกเฉิน"

บทความ

#รักฉุดใจนายฉุกเฉินEP14 กระแสทำให้หมอฉุกเฉินถูกสังคมสนใจแต่ "หมอจบใหม่" ลังเลเรียนต่อ "เวชศาสตร์ฉุกเฉิน"

News Update : วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2562  - หลังจากนักศึกษาแพทย์สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากโรงเรียนแพทย์ ทำงานใช้ทุนคืนให้ประเทศแล้ว 3 ปี

หลังจากนั้นก็ไปศึกษาต่อแพทย์สาขาเฉพาะทางอีก 3 ปี ก็จะได้เป็นแพทย์เฉพาะทาง ( Medical specialist )

รักฉุดใจนายฉุกเฉินใครเป็นพระเอก ? ระหว่าง หมอเป้ง หมอสกายหมอฉลาม แต่สุดท้าย หมอฉลามตาย

อันได้แก่ วิสัญญีวิทยา อายุรศาสตร์ สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา กุมารเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู รังสีวิทยา ศัลยศาสตร์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน นิติเวชศาสตร์ พยาธิวิทยา ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook รายงานว่า กระแสรักฉุดใจนายฉุกเฉิน กำลังมาแรงหลายๆ คนอยากทราบ 

โดยเฉพาะน้องๆ มัธยมปลาย และ ที่กำลังเรียนแพทย์ และ อยากเรียนต่อเฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 

ดังนั้นก่อนที่จะเรียนมาทางด้านนี้ว่า การทำงานเป็นพทย์ พยาบาล บุคลากรทางด้านสาธารณสุขนั้น เป็นวิชาชีพที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย การเกิดแก่เจ็บตาย ที่งานหนักมาก 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น แพทย์ฉุกเฉิน ต้องเสียสละอย่างมาก และต้องทำงานกันเป็นทีม ทั้งสหวิชาชีพอื่นๆ พยาบาลกู้ภัย อาสากู้ภัย ,สพฉ.เป็นอาชีพที่ช่วยคน และเป็นสาขาที่ต้องรักษาชีวิตคนให้ได้ ก่อนที่จะส่งต่อเฉพาะทางอีกที
หากใครยังคิดไม่ออกว่าเรียนต่อเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แล้วจะทำงานแบบไหน ดูตัวอย่าง เช่น หมอเจี๊ยบ - ลลนา ก้องธรนินทร์  อดีตนางสาวไทยประจำปี้ 2549  จบแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

หมอเจี๊ยบ เป็นทั้งนักแสดง พิธีกร นางแบบ เป็นคุณหมอด้วย ซึ่งคุณแม่ของเธอก็ทำงานในแวดวงสื่อมวลชน ( แอบบอกว่าเคยเป็นลูกน้องคุณแม่ด้วย )

ชีวิตของหมอเจี๊ยบ เป็นหมอฉุกเฉิน  ทำงานเป็นกะ อยู่เวรในห้องฉุกเฉิน เวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก เหมือนหมอ พยาบาลทั่วไป

สมมุติลงเวรดึกมาซึ่งเป็นเวรที่ทำงานเที่ยงคืนถึงเช้า ก็มาทำงานข้างนอกต่อได้ ซึ่งในช่วงกลางคืนก็จะมีผู้ป่วยทั้งฉุกเฉิน วิกฤตฉุกเฉิน ต้องตื่นตัวตลอดเวลา 

ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้ป่วยเมืองไทยยังไม่เข้าใจคำว่า ฉุกเฉิน และ วิกฤตฉุกเฉิน ที่ดีพอ หมอเจี๊ยบ บอกว่า "เราโดนฝึกมาแล้ว หมอทุกคนคงเป็นอย่างนี้แหละ เป็นมนุษย์ที่ถูกฝึกมาแล้วให้มีความถึกและอึด"

ตอนแรกไม่รู้ว่าตัวเองอยากเป็นหมอด้านอะไร  จนวันหนึ่งรู้สึกว่าอยากรักษาคนไข้แบบทำได้ดีมากขึ้น และพอดีได้ไปทำงานที่โรงพยาบาลนพรัตน์อยู่พักหนึ่ง ทำงานที่ห้องฉุกเฉิน เรารู้สึกว่ามันใช่ทำแล้วมีความสุข

แต่ละวันได้เจอเคสหลากหลาย เจอใคร เป็นอะไร สามารถวิ่งเข้าไปช่วยได้เลยในภาวะฉุกเฉิน  แล้วพอเข้ามาเรียนก็พบว่าแพทย์ฉุกเฉินดี เพราะไม่ได้สอนให้เรารักษาเป็นอย่างเดียวยังสอนให้จัดการสถานการณ์ต่างๆ 

การคัดกรองคนไข้ก็ต่างกัน สมมุติอยู่โรงพยาบาล เราต้องดูคนไข้ที่อาการหนักใกล้เสียชีวิตให้ดีที่สุดก่อน แต่สมมุติไปอยู่ที่สถานการณ์เกิดภัยพิบัติเยอะมาก ก็ต้องเลือกคนที่มีโอกาสรอดมากที่สุด แนวคิดจะเปลี่ยน

ส่วนงานแพทย์ฉุกเฉิน แม้ปกติจะพบว่าพยาบาลจะต้องนั่งรถพยาบาลไปกับคนไข้ แต่บางเคสบางทีหมอเจี๊ยบต้องนั่งไปกับรถฉุกเฉินด้วย

ความรู้สึกท้าทาย การที่เราออกไปที่เกิดเหตุ บางทีไม่รู้ว่าเกิดอะไรเขาโทร.มาตอนแรกอาจบอกว่าคนไข้หมดสติ

พอไปถึงคนไข้ไม่ได้หมดสติ แต่กลายเป็นไม่หายใจ หัวใจไม่เต้น เราก็ต้องใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพราะอุปกรณ์การแพทย์ไมได้มีครบครันเหมือนอยู่โรงพยาบาล มีแค่เรากับทีมเรา ต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม แบ่งหน้าที่ให้ได้ด้วย

บางทีอยู่ตรงนั้น ประวัติคนไข้อาจไม่ได้เต็มร้อย เราต้องจัดการเบื้องต้นยังไงให้ได้ก่อน เจอเคสคนไข้หัวใจไม่เต้น ไม่มีใครสามารถให้ประวัติได้เลยว่าเขาเป็นอะไรมาก่อน เราต้องพยายามคิดว่า ทำไมถึงหัวใจหยุดเต้น ต้องทำยังไงให้เขาฟื้นกลับมาได้

ทั้งนี้ ต้องบอกว่า แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เป็นสาขาที่ขาดแคลนมาก โดยเฉพาะระบบสาธารณสุขในภาครัฐ ต้องเร่งผลิตให้มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์

ส่วนน้องๆ แพทย์ที่กำลังจะเลือกเรียนต่อ ก็น่าสนใจไม่น้อย ใช้ระยะเวลาเรียน  3 ปี ซึ่งในวันประชุมแพทยสภา 50 ปี มีน้องๆ จำนวนมากที่กำลังจะเลือกเรียนต่อ และแสดงความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับวิชาชีพแพทย์ไว้

โดยเฉพาะแพทย์ ER ที่น้องบางคนยังรู้สึกว่าแพทย์เสี่ยงเกินไป และ เมืองไทยยังผ่อนปรน ไม่เหมือนฉุกเฉิน ตปท.

อีกทั้งกฎหมายที่จะออกมาเอาผิดแพทย์ และหากถึงวันนั้นคงไม่มีใครกล้ารักษา คนไข้แน่นอน ซึ่งต้องบอกว่า ปัญหาต่างๆ จะได้รับการแก้ไขแน่นอนให้วิชาชีพแพทย์สามารถรักษาประชาชนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีสิ่งใดๆ มาทำลายความตั้งใจดีๆ

ผู้ใหญ่มองเห็น และ เป็นห่วงอนาคตน้องๆ แพทย์ที่ต้องมาทำงานในยุคหลักประกันสุขภาพที่เจอคนไข้ฉุกเฉินมากขึ้นหลายเท่าตัว ...สู้ๆ ครับ

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

05 มกราคม 2564

ผู้ชม 9757 ครั้ง

Engine by shopup.com