หมอโด่ง ไม่ใช่ หมอเป้ง เปิดชีวิตจริง รักฉุดใจนายฉุกเฉิน นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ วิชาชีพสำคัญที่อยู่ในรถ Ambulance
หมอโด่ง ไม่ใช่ หมอเป้ง เปิดชีวิตจริง รักฉุดใจนายฉุกเฉิน นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ วิชาชีพสำคัญที่อยู่ในรถ Ambulance
โลกความจริง ชีวิตจริง แตกต่างจากละครมาก เช่น รักฉุดใจนายฉุกเฉิน นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เป็นวิชาชีพสำคัญที่อยู่ในรถ Ambulance ตลอดเวลา
News Update : จากกระแสปัง แรง ฮอต ในละครที่อิงเรื่องราวความรักโรแมนติก แฟนตาซี พลังจิตบวกกับการแพทย์ฉุกเฉิน
สำหรับ รักฉุดใจนายฉุกเฉิน My Ambulance ที่กระแสละคร ปัง มาตั้งแต่ รักฉุดใจนายฉุกเฉินEP1 จนกระทั่ง รักฉุดใจนายฉุกเฉินEP10
ในละคร มีบทบาทของ ทานตะวัน ( ใหม่ ดาวิกา ) หญิงสาวผู้อุทิศชีวิตให้ความรักกับ หมอเป้ง ( ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ ) หมอฉุกเฉินสุดเย็นชาที่คบกันมานานถึง 15 ปี
ทั้งสองเป็นคู่รักที่มีพลังวิเศษสามารถทะลุมาหากันได้ เพียงแค่ทานตะวันเรียก เป้งก็สามารถทะลุมาหาเธอได้รวดเร็วทันใจเปรียบเสมือน Ambulance ประจำตัวของเธอ
ทั้งสองเชื่อมาตลอดว่าพลังนี้เกิดจากความรัก จนกระทั่งวันหนึ่ง ฉลาม ( สกาย วงศ์รวี ) นักศึกษาแพทย์ปี 6 สุดโก๊ะ
ที่อยู่ในการดูแลของหมอเป้งก็สามารถทะลุมาหาทานตะวันได้อีกคน ความเชื่อของทั้งสองคนก็เริ่มเปลี่ยนไปว่า
สรุปแล้วพลังเกิดจากอะไรกันแน่ ? แต่ยิ่งทานตะวันเข้าไปค้นหาความจริง ก็ยิ่งทำให้ทานตะวันใกล้ชิดฉลามมากขึ้น จนแอบเผลอใจไปหวั่นไหวกับหมอหนุ่มสุดน่ารักเข้าให้
แต่ในโลกของความจริง ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องบอกว่า ขาดผู้เชี่ยวชาญทางด้านการกู้ภัย กู้ชีพ และ ขาดทักษะในการตัดสินใจ ประเมิน เหตุวิกฤตฉุกเฉินยากๆ อีกมาก
แม้ว่าเรามีบุคลากร ทั้งการอบรมเพิ่มเติม และ อาสากู้ภัย กู้ชีพจากเอกชน
นับเป็นสัญญาณที่ดีในการกู้ภัยที่ได้มาตรฐานโลก จากสาขาวิชา Paramedic มาเสริมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งจะสามารถเพิ่มกำลังคนด้านสุขภาพที่มีทักษะ เนื่องจากได้รับการเรียนการสอน จากโรงเรียนแพทย์
โดย "ณัฐพงศ์ เทียมดาว" 1 ใน 5 "นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์" จาก ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ศาสตร์ รามาฯ เคยได้รับเกียรติจากนานาชาติ ให้นำเสนอผลวิจัย ในการประชุม EUSEM 2018 ที่ผ่านมา
ปัจจุบันเรามีการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน ( Emergency physician : EP ) โดยเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ( Paramedic ) สร้าง นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
วิชาชีพที่ผลิตขึ้นมาเฉพาะทางด้านนี้โดยตรง ซึ่งจะมีความพร้อมเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโดยไม่ต้องเรียนแพทย์นาน 6 ปี เพราะใช้เวลา 4 ปี ศึกษาอยู่ในโรงเรียนผลิตแพทย์ที่จะต้องปฏิบัติงานจริงตั้งแต่ชั้นปีที่ 2
นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จึงเป็นอีกหนึ่งวิชาชีพที่น่าสนใจ และยังไม่แพร่หลายในประเทศไทย งานท้าทาย พอๆ กับแพทย์
สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินระดับสูงสุดในระบบ EMS ( Emergency Medical System ) ได้ทั้งบนรถกู้ชีพและจุดเกิดเหตุ
โดยให้น้ำเกลือ, ให้ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อและหลอดเลือดดำ, การช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย, การกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บทางอากาศยาน
การจัดการภาวะอุบัติเหตุหมู่, การดูแลผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยการปฏิบัติงานทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กำกับของแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นทีมเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook รายงานว่า ทางนักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 และ 3 ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ Ramamedic
ทั้งนี้ 1 ใน 5 มีผลงานวิจัยของ นศ.นฉพ.ณัฐพงศ์ เทียมดาว หรือ หมอโด่ง นักศึกษาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ เป็นอีกหนึ่งความหวังของทั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ คนไทยทั้งประเทศ
เมื่อเราไปโรงพยาบาลในยามฉุกเฉิน แผนก ER จะเป็นด่านแรกที่ประชาชน ผู้ป่วยจะได้เจอ และ สื่อสารด้วย ซึ่งจะมีทั้งแพทย์ ER และ Paramedic หรือ "นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์" ทำงานเป็นทีมอย่างแข็งแกร่ง
เป็นหน้างานที่ท้าทายอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ที่ไม่คาดคิด ต้องอยู่ในรถ Ambulance ตลอดเวลา และ หากประเมิน หรือ ตัดสินใจผิดเพียงเสี้ยววินาที จะเกิดปัญหาใหญ่ตามมา
..ดังนั้นการปฏิบัติงานตั้งแต่เข้าเวร จึงอาจจะพบเจอสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละวัน !
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
23 มีนาคม 2566
ผู้ชม 13278 ครั้ง