ข้อมูลย้อนแย้ง "นักวิ่งหัวใจหยุดเต้น" กู้ชีพอาสายัน "รถจักรยานไม่มีเครื่อง AED"
ข้อมูลย้อนแย้ง "นักวิ่งหัวใจหยุดเต้น" กู้ชีพอาสายัน "รถจักรยานไม่มีเครื่อง AED"
กรณีข่าวนักวิ่งมีอาการเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน ขณะร่วมงานวิ่ง 109 MAHARAT RUN FOR LIFE "109 ปี 109 ล้าน นักวิ่งหัวใจบุญ บนสนามวิ่งแห่งเกียรติยศ" สมทบทุนสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ( ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน ) รพ.มหาราช จ.นครราชสีมา
เหตุการณ์นาทีชีวิตนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ก.ค.2561 เฟสบุ๊คนักวิ่ง คุณรุ้งกล้า เจริญทรัพ นักวิ่งในเหตุการณ์โพสต์เรื่องราวในเฟสบุ๊คของ ข่าวข้น คนโคราช ( สำหรับเพื่อนโลกออนไลน์ทุกคน ) พร้อมคลิปว่า
หลังออกจากจุดสตาร์ทได้เพียง 5 กิโลเมตร ของการวิ่ง half marathon มหาราช 109 "run for life" วิ่งการกุศลบริจาคเงินสร้างอาคารให้โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คุณรุ้งกล้า เจริญทรัพ นักวิ่งในเหตุการณ์โพสต์เรื่องราวในเฟสบุ๊คของ ข่าวข้น คนโคราช
ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว และ เพจ sasook รายงานว่า ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นักวิ่งล้มหมดสติ และหัวใจหยุดเต้น
นักวิ่งกู้ชีพทุกท่านผลัดเปลี่ยนกัน CPR ก็กู้สัญญาณชีพคืนมาได้แต่ก็หยุดหายใจไปอีกถึงสามรอบ ในที่สุดรถพยาบาลก็มารับช่วงต่อ ( Staff medical team ที่ปั่นจักรยาน คันที่ผ่านมาจุดเกิดเหตุ ไม่มีเครื่อง AED มาด้วย )
เหตุการณ์นี้บอกได้ว่า 1 Basic life support โดยเฉพาะการทำ CPR มีความสำคัญมากๆ 2 ผู้จัดงานวิ่งควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากที่สุด 3 นักกีฬาทุกท่านอย่าลืมสำรวจสุขภาพตัวเอง ตรวจ check up เป็นประจำด้วยนะครับ
สุดท้ายนักวิ่งท่านนี้ผู้ซึ่งมาวิ่งและบริจาคเงินให้กับ รพ.มหาราชฯ ก็ถูกส่งตัวไป ณ.ที่นั่นเองเพื่อรักษาอาการทางด้านหัวใจเฉียบพลัน อย่างรวดเร็ว และอาการล่าสุดขณะนี้ ปลอดภัยแล้วครับ #มหาราช109 #runforlife
ล่าสุด วันนี้ ( 17 กรกฎาคม 2561 ) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีนี้ ว่า กระทรวงสาธารณสุข รู้สึกชื่นชมทีมจัดงานงานวิ่งการกุศลของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งได้มีการดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย ตามแผนรองรับด้านการแพทย์ดูแลนักวิ่งที่มาร่วมงาน ทั้งรถพยาบาลระดับสูง 14 คัน
รถจักรยานปั่นพร้อมวิทยุสื่อสาร 29 คัน เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือเครื่อง AED จากภาคีรวม 34 เครื่อง จาก รพ.รัฐ รพ.เอกชนและมูลนิธิกู้ชีพในพื้นที่รวม 34 เครื่อง ทีมแพทย์อาสา ทีมเวชกรฉุกเฉิน นักศึกษาแพทย์ประมาณ 300 คน กระจายตามจุดต่าง ๆ ทุกระยะ 1-2 ก.ม.
เปิดโรงพยาบาลสนาม ทำให้สามารถกู้ชีพนักวิ่งที่หัวใจหยุดเต้นจากเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันได้อย่างรวดเร็ว และส่งผ่าตัดรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด 3 เส้นได้สำเร็จ อาการดีขึ้นตามลำดับ คาดว่ากลับบ้านได้ใน 1- 2 วัน
ขอแนะนำนักวิ่งให้ตรวจสุขภาพประจำปี ประเมินความพร้อมร่างกายของตนเองว่า มีโรคประจำตัวเช่น โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หอบหืด โรคหัวใจ
โดยเฉพาะหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคกล้ามเนื้อหัวใจโต มีประวัติการเจ็บแน่นหน้าอกคล้ายโรคหัวใจหรือไม่ และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งฝึกฝนวิ่งในระยะทาง ความเร็ว และเวลาในการวิ่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่เกิดการหักโหมเกินกำลังของร่างกาย ที่สำคัญในขณะวิ่ง ต้องสังเกตอาการของตนเอง
หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจเหนื่อยหอบ หน้ามืด วิงเวียน ขอให้หยุดวิ่ง และขอความช่วยเหลือจากทีมปฐมพยาบาลทันที
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
05 มกราคม 2564
ผู้ชม 2135 ครั้ง