สิ่งที่เยาวชนชาวไทย ยังไม่ค่อยรู้ ในหลวง ร.10 ทรงงานในประเทศอย่างเงียบๆ "ทรงห่วงใยสุขภาพ สาธารณสุข พสกนิกร"
สิ่งที่เยาวชนชาวไทย ยังไม่ค่อยรู้ ในหลวง ร.10 ทรงงานในประเทศอย่างเงียบๆ "ทรงห่วงใยสุขภาพ สาธารณสุข พสกนิกร"
ประวัติรัชกาลที่10 , ในหลวงร.10 , พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , โต๊ะหมู่ ร.10 , ก้อย ร.10 , ในหลวง ร. 10 , แม่ ร.10 , ในหลวง ร.10 , ในหลวง ร10 , ร.10 , พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เว็บไซต์สุขภาพ - การจัดโต๊ะหมู่บูชา ร.10 , การจัดโต๊ะหมู่ ร.10 , การถวายพระพร ร.10 , การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 68 พรรษา , ในหลวง , กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
News Update วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2563 : เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ( ร10 )
การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ 68 พรรษา ในวันอังคารที่ 28 กรกฎาคม 2563 สิ่งที่ควรรู้ คือ การจัดโต๊ะหมู่บูชา ร.10 การถวายพระพร ร.10 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : คำถวายพระพร รูปแบบตั้งโต๊ะหมู่บูชา วันเฉลิมพระชนพรรษาพระราชินีสุทิดา อย่างถูกต้อง สมพระเกียรติ
ตามหลักการที่ถูกต้องมีดังนี้ 1 จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเครื่องราชสักการะ
รวมทั้งประดับธงชาติไทย คู่กับ ธงอักษร พระปรมาภิไธย ว.ป.ร. และประดับผ้าระบายสีเหลืองร่วมกับผ้าระบายสีขาว ตามอาคารสถานที่ของหน่วยงาน
และ บ้านเรือนตลอดจนตกแต่งซุ้มและประดับไฟตามสถานที่และถนนสายหลัก จัดทําคําถวายพระพรชัยมงคล บนหน้าหลักของเว็บไซต์ของหน่วยงาน และแต่งกายด้วยเสื้อสีเหลือง
ให้นำโต๊ะหมู่ 6 หรือโต๊ะหมู่ 7 มาวางจัดในพื้นที่ที่ต้องการ จากนั้นนำพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานไว้ที่โต๊ะตัวบนสุดของชุดโต๊ะหมู่
ธงสองผืน คือ ธงชาติไทย และธงอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร. พร้อมเสาธงและฐานวาง ตั้งธงไว้ขนาบข้างของโต๊ะหมู่บูชา โดยเมื่อหันหน้าเข้าโต๊ะหมู่ ด้านซ้ายตั้งธงชาติไทย และด้านขวาตั้งธงอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร.
เครื่องราชสักการะ ประกอบไปด้วย พานพุ่มทอง พานพุ่มเงิน และพานกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ
สำหรับพานพุ่มทั้งสองให้วางบนโต๊ะคู่ขนาบข้าง ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าโต๊ะที่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยพานพุ่มทองวางไว้โต๊ะฝั่งซ้าย และพานพุ่มเงินวางไว้โต๊ะฝั่งขวา ส่วนพานกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพวางไว้ที่โต๊ะตัวกลางของชุดโต๊ะหมู่
หลังจากจัดชุดโต๊ะหมู่และธงต่างๆ เสร็จแล้ว ให้เตรียมผืนผ้าระบายสีเหลืองร่วมกับผ้าระบายสีขาว ตามอาคารสถานที่ของหน่วยงานและบ้านเรือน
2 จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในสถานที่เฉพาะพิเศษ และดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)
เตรียมโต๊ะ เก้าอี้ ปากกา และสมุดลงนามถวายพระพรไว้ในบริเวณเดียวกันกับจุดที่จัดโต๊ะหมู่ด้วย เพื่อให้ประชาชนได้มาลงนามถวายพระพร
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า พระราชกรณียกิจ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชินี ทรงใส่พระราชหฤทัยประชาชน
พระราชทานความช่วยเหลือทุกด้าน และในช่วงวิกฤต COVID-19 พระราชินี ทรงเย็บหน้ากากพระราชทาน
ทั้งสองพระองค์ได้พระราชทานความช่วยเหลือในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถุงยังชีพ หน้ากากอนามัย
และสิ่งของอื่น ๆ ที่โปรดเกล้าฯ ให้จัดหาและพระราชทานไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศ และชุมชนแออัด
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยเรื่องความเจ็บป่วย และทรงปรารถนาที่จะให้พสกนิกรของพระองค์มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงมาโดยตลอด
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2519 สมัย มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ได้มีการสร้างโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราช
โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กับประชาชนที่มีการบริจาคทั้งเงิน และที่ดินในการสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ( พระอิสริยยศในขณะนั้น)
นับเป็นโรงพยาบาลที่มีความสำคัญยิ่งต่อพสกนิกรชาวไทย เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่สร้างขึ้นในท้องถิ่นห่างไกล และทุรกันดาร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศไทย
ส่งผลให้พสกนิกรชาวไทย ที่อยู่ห่างไกลจากโรงพยาบาลและเข้าไม่ถึงการดูแลรักษาสุขภาพ สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีและมีคุณภาพ ทำให้มีคุณภาพชีวิต และ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
ปัจจุบัน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ( รพร. ) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ( ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว
และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ ( Primary Care ) หรือ ระดับทุติยภูมิ ( Secondary Care )
บางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520
สมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ
ทั้งนี้ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
( เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ) ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง ดังนี้
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ( ก่อน จ.สระแก้ว แยกตัวออกจาก จ.ปราจีนบุรี )
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช นครไทย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช หล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กระนวน อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กุฉินารายณ์ อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช บ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สายบุรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ทั้งนี้ ในช่วงที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2522
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระราชทาน พระราชดำรัส ว่า
"ทุกคนที่ทำงานให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จะต้องไม่ลืมว่าโรงพยาบาลนี้ กำเนิดขึ้นจากความมุ่งปรารถนาอันแรงกล้าของคนไทยทั่วราชอาณาจักร
ที่ต้องการจะเห็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารทุกหนแห่งได้รับความเอาใจใส่ รักษาพยาบาลเป็นอย่างดี ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้โดยทั่วถึงเสมอหน้ากัน"
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อมขอเดชะ
เจ้าหน้าที่ และ กองบรรณาธิการข่าว เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
28 กรกฎาคม 2563
ผู้ชม 13469 ครั้ง