“ปัญหาใหญ่จิตเวชไทย” เข้าไม่ถึงการรักษา ย้ำแอพพลิเคชั่นมายด์ฟิตคัดกรองด้วยตนเอง เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม

บทความ

“ปัญหาใหญ่จิตเวช” ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา "แอพฯ มายด์ฟิตคัดกรองตนเอง"

MED HUB NEWS -  นับเป็นหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพ ตอบโจทย์นโยบายด้านสาธารณสุขของภาครัฐ รวมทั้งอุตสาหกรรมทางการแพทย์เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ ( Medical Hub )

โดยนวัตกรรมที่นำเข้ามาช่วยงานจิตเวช ล่าสุด medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ ของคนรุ่นใหม่ และ เพจ sasook รายงานว่า  

นายแพทย์ประภาส อุครานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ระบุถึงแอพพลิเคชั่นมายด์ฟิต ถูกออกแบบมาให้สามารถตรวจสอบพลังใจ

เพื่อวัดความเศร้าของตัวเองด้วยคำถามภาษาวัยรุ่น 9 คำถาม และมีกิจกรรมคลายความเศร้าซึ่งคล้ายกับการเล่นเกม  เน้นการปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม และการคิดบวก ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ ทำให้วัยรุ่นมีอาการดีขึ้น และหายซึมเศร้าในที่สุด

 

โดยแอพพลิเคชั่นนี้ได้คิดค้น พัฒนาและวิจัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันของวัยรุ่น ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน

เนื่องจากพบวัยรุ่นมีอาการโรคซึมเศร้ามากขึ้นถึงร้อยละ 40-49 และมีภาวะซึมเศร้ารุนแรงร้อยละ 13-22 ซี่งเป็นสาเหตุการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นไทยและทั่วโลก

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเองป่วย คิดว่าเป็นเพียงอาการเซ็ง เบื่อโลก หรือเป็นอาการเครียดทั่วไป และไม่กล้าไปพบจิตแพทย์

โดยผลการเฝ้าระวังและเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสะสมตั้งแต่  ปี 2552 ถึงเดือนกรกฎาคม 2561 มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วประเทศถึง 1,430,563 ราย แต่มีผู้ได้เข้ารับการรักษาเพียง 882,847 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.32

 

หากสงสัยว่าตนเองหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการซึมเศร้า ขอให้ลองเข้าใช้แอพพลิเคชั่นมายด์ฟิต เพื่อตรวจสอบภาวะซึมเศร้า ซึ่งหากไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ แนะนำให้ปรึกษาสายด่วน 1323 โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ หรือสถานพยาบาล

 

อย่าไรก็ตาม “ปัญหาใหญ่จิตเวชไทย” หลายๆ อย่างก็พัฒนาไปได้ไกล แต่ปัญหาที่ยาก เนื่องจากทัศนคติของสังคม และผู้ป่วยเอง

รวมทั้งจากการสังเกตุของ medhubnews.com ขอพูดตรงๆ ว่า บุคลากรทางจิตเวชบางส่วนที่ยังพบว่ายังไม่อัพเดทเรื่องวิทยาการของโรคจิตเวช งานวิจัย พฤติกรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงทุกวัน หรือ อายุมาก ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง  ขีดความอดทนต่ำ เพราะสังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปทุกหนึ่งปี 

พยาบาลในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลศรีธัญญา ไล่ผู้ป่วยจิตเวช กลับไปหาหมอทางกาย โดยไม่ได้สอบถามปัญหาของโรคทางกาย และ โรคทางใจ อย่างละเอียด  

บางคนไม่เข้าใจปัญหาจิตเวชที่แท้จริง รู้เพียงแค่ทฤษฏี ยังไม่ทุ่มเททำงานปฏิบัติอย่างจริงจัง ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา เพราะกลัวการเจอบุคลากรที่ไม่เข้าใจ ดังนั้น แอพฯ มายด์ฟิต วัยรุ่นอาจไม่ต้องง้อใคร สามารถ "คัดกรองด้วยตนเอง" 

 

 

ขณะที่พบว่า บุคลากรทางจิตเวช  รพ.ศรีธัญญา ที่ใช้ใจบริการดีดูแลผุ้ป่วยดุจดั่งญาติมิตรมีมากมาย เรียงตามลำดับ 1 เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ด้านหน้า ( ในรูป )  2.เจ้าหน้าที่เปล 3.เจ้าหน้าที่รับผู้ป่วยจากแท๊กซี่ด้านหน้ารพ.

ส่วนที่ต้องปรับปรุงคือ 1.เคาน์เตอร์คัดกรองผู้ป่วยทั้งสามช่อง  2. พยาบาลบางส่วน โดยเฉพาะคนเขียนใบสั่งยาหน้าห้องตรวจ   3 ฝ่ายการเงินกับเภสัชกร แม้ห้องจะติดกันเคยคุยกันบ้างไหม ? 4.การเม้าท์นินทาหมอของเจ้าหน้าที่หน้าห้องตรวจคนไข้ หากหมอคนไหนตรวจช้า ความวุ่นวายจะบังเกิด 

สิ่งเหล่านี้คือ การปฏิบัติงานเพื่อรักษาผู้ป่วยให้หาย ส่วนตึกราม อาคารใหญ่โตหรูหรา ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญด้านจิตใจ แต่ต้องแยกออกมา เพราะผู้ป่วยทุกคนไม่มีใครอยากไปโรงพยาบาลนานๆ  

 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News  

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

19 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 2608 ครั้ง

Engine by shopup.com