การเดินทางของ “พีท คนเลือดบวก” ประกาศต่อสังคมติดเชื้อเอดส์เพื่อทางออก HIV เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม

บทความ

การเดินทางของ “พีทคนเลือดบวก” คนจริง 2018 "ประกาศติดเอดส์เพื่อทางออก"

หมวดหมู่: SEXUAL ,LGBT HEALTH

MED HUB NEWS - ก่อนอื่นต้องบอกว่า แอปพลิเคชั่นสังคมออนไลน์สำหรับชาวเกย์ หรือเรียกสั้นว่าๆ แอปเกย์ ที่กำเนิดขึ้นในประเทศจีน แต่ผู้ใช้แอปนี้ไม่ใช่คนจีน เพราะประเทศจีนมีกฎระเบียบที่เข้มงวดมาก 

แม้แต่ในไทยเองก็มีผู้ใช้แอปนี้หลายแสนคน ตัวเลขยังพุ่งขึ้นด้วยการสร้างแรงจูงใจ การแลกรางวัล อ้างอิงจากลิ้งค์นี้

เป็นแอปที่บูมมากๆ กำลังขยายไปในหลายประเทศ อย่างเช่น อเมริกาและบราซิล  ซึ่งทาง คุณเกิ่ง เล่อ Geng Le CEO ชาวจีน ที่ผันตัวจากอาชีพตำรวจ หันมาทำเว็บไซต์และสร้างแอปจนมีคนใช้งานมากมาย

แต่ยังตั้งใจปูทางสู่สังคมที่ดีสำหรับชาวเกย์ โดย CEO ของ blued คุณ Geng Le (เกิ่ง เล่อ) และ คุณหนุ่ม มารุต ประเสริฐศรี ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการตลาดประจำประเทศไทย….แต่วันนี้ยังไม่อาจพูดได้เต็มปากว่า แอปนี้ทำเพื่อสังคมที่ดี

เดี๋ยวเราจะมาลงรายละเอียดกันในเรื่องของ “แอปพลิเคชั่น blued ดาบสองคมอ้างสู่สังคมที่ดี จริงหรือ ?

กลับมาที่เรื่องของสุขภาพที่เกี่ยวพันกันระหว่าง แอปเกย์  และ โรคเอดส์  โรคร้ายใกล้ตัวที่สามารถติดต่อได้ อันตรายจนหลายหน่วยงานในประเทศไทยพยายามรณรงค์และกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคนี้มากขึ้น และเพื่อหวังจะลดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้ออันให้น้อยลง

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า  แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ในการป้องกัน แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ของแต่ละปี ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“หนุ่มพีท” ฐิฏิวัสส์ ศิรเศรษฐกร เกย์หนุ่มวัยรุ่นอายุ 28 ปี  หลังจากเขาได้ตัดสินใจสารภาพต่อสังคมว่าเขาได้ติดเชื้อ HIV มาได้ 3 ปีแล้ว  ซึ่งปัจจุบันนี้เขาใช้สังคมออนไลน์เป็นช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลในทางที่ถูกต้อง สร้างความตื่นตัว การดูแลตัวเองของคนเลือดบวก  หนึ่งในนั้นคือ แอปพลิเคชั่น blued ( อ่านข่าวเพิ่มเติมจาก BBC )

“หนุ่มพีท” ใช้เวลาอยู่ในblued ต่อวันค่อนข้างนาน โดยจะคิดประเด็นต่างๆ ออกมาเป็นรายวิชาเช่น HIV 101 ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่เกิดจากความรู้ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาจริง องค์ความรู้นี้มันจริงยิ่งกว่างานวิจัยใดๆ ด้วยซ้ำ

แม้เจ้าตัวจะพยายามทำเต็มที่ แต่บางครั้งยอดคนติดตาม การรับรู้ ยังน้อยมาก  พีท ได้สนทนากับ คุณหมอนิด แพทย์หญิงนิตยา ภานุภาค ลูกสาวของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ที่ทางทีมงานเราเคยสนทนากับท่านบ่อยๆ ตอนทำหนังสือพิมพ์

คุณหมอนิด  เคยบอกว่า หมอจะเข้าใจเรื่องกระบวนการการักษา ทฤษฎีการป้องกัน  แต่สิ่งเดียวที่หมอไม่เข้าใจเลยว่า ทำไม ? เพราะอะไร ? คนเลือกบวกไม่กล้าพบหมอ ไม่ตรวจเลือด ไม่เข้าสู่ระบบการรักษา

คนเลือกบวกทำไมจึงมีความกังวลต่างๆ เช่น กลัวหมอว่าพูดจาไม่ดี กลัวว่าจะมารับยาต้านไวรัสแล้วคนอื่นจะรู้  ซึ่งในเมืองไทย กระแสข่าว หรือ ความรู้ต่างๆ ในเรื่องของคนเลือดบวกที่สามารถมีชีวิตปกติ มีคู่ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป หากเข้าสู่กระบวนการรักษาสุขภาพจะดีเหมือนคนปกติ

“หนุ่มพีท คนเลือดบวก” กล่าวว่า ตนข้องใจมากว่า บรรดาหน่วยงานรัฐที่ทำเรื่องโรคเอดส์ คุณมีความอิสระ สามารถทำงานวิจัยได้เยอะแยะ ทำการศึกษาวิจัยเชิงพฤติกรรม แต่ไม่มีใครทำ เพราะเขาไปทำงานวิจัย HIV เน้นป้องกันเยอะ

เรื่องที่น่ากลัวมากคือ องค์กรในต่างประเทศ ที่ให้เงินทุนจำนวนมาก แก่เอ็นจีโอต่างๆ ในไทย ลองไปค้นหาดูว่ามีอะไรบ้าง ก็ยังทำงานแบบเฉื่อยๆ อีกไม่นานเงินสนับสนุนจากองค์กรในต่างประเทศ จะถูกถอนออกจากไทยทั้งหมด ตามสัญญา และ ผลการรณรงค์ที่ผ่านมา ไม่ได้ผล

“เชื่อไหมว่าหากมีนักวิชาการในกระทรวงสาธารณสุขทำวิจัย HIV  และเผยแพร่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนเลือดบวกที่เป็นเกย์รุกหนึ่งคนแล้วเข้าสู่กระบวนการรักษา  สามารถลดจำนวนคนติดเชื้อได้เป็น 100 คน

นี่คือทางออกของ HIV เพราะต่อให้คุณใช้งบประมาณแก้ไขปลายเหตุ  รณรงค์ ป้องกัน HIV บอกเลยแก้ไขไม่ได้  ทุกวันนี้คนรู้เรื่อง ยาเพร็พ ยาแพบ ยาป้องกันน้อยมาก รวมทั้งสนับสนุนยาให้เข้าถึงกลุ่มเสี่ยงยังยาก เพราะไม่ได้กันมาง่ายๆ 

ย้อนกลับไป 3 ปี เรายังไม่รู้ว่าคนเลือดบวกหากกินยาต้านไวรัส จนมีไวรัสปริมาณต่ำกว่า 40 ก็อปปี้ จะไม่แพร่เชื้อ 100 %  ดีกว่ายาเพร็พ ที่กินป้องกัน ก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวีได้เพียง  98 %

สำหรับ คนเลือดบวกมีปริมาณไวรัสต่ำกว่า 40 ก็อปปี้ จะไม่แพร่เชื้อ 100 %  นั้น ข้อมูลนี้ได้มาจากศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.ประพันธ์ ภานุภาค  เรียกว่า Undetectable = Untransmissable, U = U  ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ คือเราต้องติดตามผลวิจัย อัพเดททุกวัน

“U = U หรือ Undetectable = Untransmissable   ผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้

ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่  เป็นสโลแกนสำคัญในการประชุมเอดส์โลก  เพราะมีหลายการศึกษาออกมาให้ผลสอดคล้องกันว่าถ้าใครที่ติดเชื้อ และเริ่มการรักษาด้วยยาต้านเชื้อเอชไอวีอย่างถูกต้องเกิน 6 เดือนขึ้นไป และมีปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดเหลือน้อยกว่า 40-50 ก๊อปปี้  ต่อหนึ่งซีซีของเลือด หรือที่เรียกกันว่า “ตรวจไม่เจอ”

คนๆนั้นจะไม่แพร่เชื้อให้ใครได้อีกเลย โดยดูจากคู่นอนของผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัสจนตรวจไม่เจอเชื้อแล้ว ทั้งที่เป็นคู่ชายกับหญิง หรือชายกับชาย ซึ่งไม่ติด ทั่วโลกหลายหมื่นคู่ เป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี ไม่พบว่ามีใครติดเชื้อเลย

สอดคล้องกับที่เราเคยรู้กันมาก่อนหน้านี้ว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด ที่เรียกว่า “Treatment is ( the best ) Prevention”  และสอดคล้องกับที่หลายประเทศทั่วโลกออกกฎหมายว่าผู้ติดเชื้อที่กินยาจนตรวจไม่เจอไวรัสในเลือด สามารถมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ได้โดยไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป ถ้าคู่นอนของเขารับทราบและยินยอม

ที่ผ่านมาแพทย์มักจะแนะนำผู้ติดเชื้อให้ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับสามีหรือภรรยา ทั้งที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อก็ตาม

แต่ทั้งนี้ ต้องมั่นใจว่าคนไข้กินยาต่อเนื่องตรงเวลา ถ้าขาดยาก็แปลว่าไม่ปลอดภัยแล้ว หรือต้องมั่นใจว่าคนไข้ไม่ต้องการจะคุมกำเนิด หรือตัวเองหรือคู่จะไม่ไปติดกามโรคมาจากการที่ไปมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นซึ่งอาจแพร่ต่อให้คู่นอนได้

ในเมื่อผู้ติดเชื้อที่ได้รับการรักษาถูกต้อง นอกจากจะแข็งแรง และมีอายุยืนยาวเหมือนกับคนอื่นทั่วไปแล้ว ยังไม่เป็นอันตรายกับใคร สังคมไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อ ไม่กีดกันผู้ติดเชื้อไม่ให้เข้าทำงาน

วิธีเดิมๆ  การป้องกัน คือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องใช้ “เพร็พ” ด้วย ซึ่งเป็นวิธีป้องกันเสริมที่ได้ผลเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์อีกวิธีหนึ่งสำหรับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ แต่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่

ดังนั้นคนที่ตรวจเลือดแล้วตรวจอีก ไม่พบว่าติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง ต้องถูกสังคมตีตราว่าเป็น “กลุ่มเสี่ยง” อยู่ต่อไปเรื่อยๆ และ ถูกห้ามบริจาคเลือด ห้ามเข้ารับราชการ เป็นต้น

สรุป ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ แต่เป็นเกย์ เป็นสาวประเภทสอง เป็นผู้ค้ากาม จะต้องถูกตีตราสงสัยไว้ก่อน

ต่างจากคนเลือดบวก Undetectable = Untransmissable   ผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดี ไม่มีโอกาสแพร่เชื้อเลย

...แบบนี้การรณรงค์ต่อไป เมืองไทยจะใช้ทิศทางไหน สธ.ต้องปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้แล้ว !

ความในใจของคนเลือดบวก 

"พีทใช้ชีวิตมาถึงจุดนี้ .. จุดที่เปิดเผยผลเลือดและเอาความรู้ ประสบการณ์แนวคิดแบ่งปันให้คนอื่นต่อ โดยเฉพาะกับคนเลือดบวก .. ตอนแรกพีทก็ไม่คิดหรอกว่า เรื่องราวของพีทจะเป็นกำลังใจให้คนได้มากมายขนาดนี้ ..

พีทรู้สึกรักและเป็นห่วงคนเลือดบวกทุกคน ทั้งรู้จักและไม่รู้จัก .. พีทอยากบอกสิ่งดีดีให้เค้ารู้ว่าการเป็นคนเลือดบวก ก็มีคุณค่าและมีความสุขในชีวิตได้ พีทรักและเป็นห่วงที่เลือดลบ .. ไม่อยากให้เค้าต้องก้าวเข้าในสังคมคนเลือดบวก

ถึงแม้มันจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราเคยเข้าใจกันก็ตาม แต่ถ้าไม่เป็นได้มันก็ดี !! มันทำให้พีทนึกถึง คำพูดของคุณป้าท่านนึงที่พีทเคยร่วมงานด้วย เป็นคนที่คอยสอนแนวคิดการใช้ชีวิต การวางแผนชีวิต และคำว่าประสบความสำเร็จในชีวิต ช่วงอายุ 16-21 ที่ได้เรียนรู้จากท่านอย่างใกล้ชิด ..."

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์สุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา

เรื่องราวทั้้งหมด ผ่านการตรวจสอบ จากทางเจ้าตัว และ อนุญาตให้เผยแพร่ได้

29 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 6175 ครั้ง

Engine by shopup.com