ชาวเน็ตเปิดศึก #ทีมยายข้าวหมาก #ทีมน้ำสาโท มองข้ามผลพิสูจน์ ไม่กลัวเงิบ
ชาวเน็ตเปิดศึก #ทีมยายข้าวหมาก #ทีมน้ำสาโท มองข้ามผลพิสูจน์ ไม่กลัวเงิบ
MED HUB NEWS - “ทั้งหมดทั้งมวล เจ้าหน้าที่ควรมีวิจารณญาณในการจับไหม ควรตักเตือน หรือ ชี้แจงให้ชาวบ้านทราบก่อนหรือไม่ ? สักแต่ว่ามีหน้าที่มีอำนาจ แต่ไม่มีวิจารณญาณในการบังคับใช้กฎหมาย
เพียงคิดแต่ว่าตัวเองถือกฎหมายอยู่ ชาวบ้านตาดำๆ แยกออกเหรอ ระหว่างสาโท กับ น้ำข้าวหมาก น่าจะเตือน หากเตือนแล้วยังขาย ค่อยว่าไปอย่าง
จิตสำนึกในการปฏิบัติงานควรมีบ้างนะ เห็นเหล้าเถื่อน ขายเต็มบ้านเต็มเมืองไม่เห็นไปจับเลย” , “บอกแล้วให้รอผลพิสูจน์ก่อน ด่ากันเยอะ ระวังจะเงิบ”
บรรดาความคิดเห็นที่ได้รับการกดถูกใจ หลังกลายเป็นประเด็นถกเถียง หลังนางเสน่ห์ ป่วงรัมย์ อายุ 60 ปี แม่ค้าขายข้าวหมาก ได้ออกมาร้องขอความเป็นธรรม
จากการถูกเจ้าหน้าที่สรรพสามิตจ.บุรีรัมย์ เข้าจับกุมบริเวณตลาดนัดคลองถมสี่แยกกระสัง ต.กระสัง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ในข้อหา “จำหน่ายเหล้าสาโทโดยไม่ได้รับอนุญาต”
โดยเจ้าหน้าที่ได้ตั้งข้อหา “มีไว้ในครอบครองซึ่งสุราที่ผลิตขึ้นโดยฝ่าฝืน มาตรา 153 วรรคหนึ่ง” อัตราโทษ ของกลางตั้งแต่สิบลิตรขึ้นไป ปรับ 10,000 บาท
พร้อมตรวจยึดของกลางสุราแช่ หรือเหล้าสาโทด้วยนั้น มีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านนี้ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า น้ำข้าวหมากที่ยายเสน่ห์ ขายยังไม่ถึงขั้นเป็นน้ำสาโท
ทั้งนี้ กอง บ.ก.เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า
บทบาทของ กรมสรรพสามิต มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต อย่างที่เราคุ้นเคยกับแพ็คเกจสินค้าต่างๆ ที่มีการติดอากรแสตมป์ไว้ เช่น สุรา ยาสูบ ไพ่ เครื่องดื่ม และพวกผับเธค ฯลฯ
เดิมทีมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต "สถานบริการประเภทนวดนาบ" ที่ยังคงความเป็นสีเทาอยู่ มีบริการแอบแฝง
กระทั่งเกิดกฎหมายใหม่ ยกระดับสถานบริการเพื่อสุขภาพ เช่น สปา นวดไทย ฯลฯ ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น จึงจะได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล รวมทั้งสินค้าด้านสุขภาพ ที่เป็นประโยชน์กับสังคม และระบบสาธารณสุข
เสียงที่สังคมให้ความเชื่อถือ ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด ผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี ม.เกษตรศาสตร์ ใช้หลักวิชาการให้ข้อมูล เกี่ยวกับ ข้าวหมาก และ สาโทต่างใช้หัวเชื้อเดียวกัน ซึ่งชาวบ้านจะใช้หัวเชื่อ เป็นลูกแป้งหรือยีสต์ที่นำมามาหมักทำให้เป็นผง แล้วปั้นเป็นก้อนกลมสีขาว
โดยกรรมวิธีการทำข้าวหมัก คือการใช้ข้าวเหนียวใส่น้ำให้เท่ากับปริมาณข้าว แล้วใส่ลูกแป้งเข้าไป เมื่อหมักไว้ประมาณ 1 วัน ถ้ามีฟองขึ้นหมายความว่ามีแอลกอฮอล์เกิดขึ้นแล้ว
ยีสต์จะเปลี่ยนแป้งก็คือข้าวให้เป็นน้ำตาล และจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์ จึงเรียกว่าข้าวหมัก ซึ่งมีความหวานอร่อย มีแอลกอฮอล์นิดหน่อย โดยข้าวหมัก มีแอลกอฮอล์น้อยกว่าเครื่องดื่มประเภทไวน์ผสมน้ำผลไม้ หรือไวน์คูลเลอร์
“หากมีการหมักต่อ ข้าวเหนียวจะเริ่มเปื่อยยุ่ยจนกลายเป็นผงละลายไปกับน้ำ เมื่อนำน้ำมากรองกับผ้าขาวบางจะได้น้ำ เรียกว่า “สาโท” ซึ่งมีแอลกอฮอล์ ประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์” อ.อ๊อด กล่าว
กระบวนการต่อเนื่องหลังจากนั้น เมื่อนำสาโทไปต้ม แล้วกลั่นเอาน้ำออกมาจะได้เหล้าขาว ซึ่งมีแอลกอฮอล์เข้มข้นสูงถึง 55 เปอร์เซ็นต์ หากกลั่นดี ๆ ก็จะเรียกว่าเหล้าป่า มีปริมาณแอลกอฮอล์สูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ สามารถจุดไฟติดได้
สำหรับน้ำข้าวหมากที่นำไปผสมน้ำเปล่า แล้วเอาไปใส่ถุงขาย อาจารย์อ๊อด บอกว่า เหมือนน้ำหวานที่มีแอลกอฮออล์บาง ๆ เท่านั้น
เจ้าหน้าที่ไม่ควรลงโทษป้าที่ขายเพราะเพิ่งทำผิดเป็นครั้งแรกเท่านั้น และคาดว่าน้ำข้าวหมากก็คือน้ำข้าวที่เหลือนอนก้น จึงนำมาผสมน้ำขาย ไม่ได้หมักต่อจนเป็นน้ำสาโท
ส่วนคำถามที่ว่า “บอกแล้วให้รอผลพิสูจน์ก่อน ด่ากันเยอะ ระวังจะเงิบ” ประเด็นนี้เชื่อว่าผู้มีวิจารณญาณทุกคนมองข้ามผลพิสูจน์ไปหมดแล้ว ดังนั้นคงไม่ต้องเอาไปส่งตรวจให้กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต
และควรคืนเงินค่าปรับให้ยาย เจ้าหน้าที่ก็ทำงานใช้วิจารณญาณ ดุลยพินิจ ตักเตือน ชี้แจง และหากดูจากสภาพบ้านเรือน เงินในบัญชี ยายไม่ได้ขายจนรวย หรือ เป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจ
คนหาเช้ากินค่ำ ยึดอาชีพประทังชีวิตตามภูมิปัญญาชาวบ้าน ควรจะไปซ้ำเติมอีกหรือ ??
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
02 มกราคม 2562
ผู้ชม 3930 ครั้ง