"เด็กพิเศษช่วยได้" ร่วมใจกันเปลี่ยนแปลง มายาคติ จาก “โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” สู่ "สถาบันราชานุกุลยุค 4.0" เว็บไซต์สุขภาพ

บทความ

"เด็กพิเศษช่วยได้" ร่วมใจกันเปลี่ยนแปลง มายาคติ จาก “โรงพยาบาลปัญญาอ่อน” สู่ "สถาบันราชานุกุลยุค 4.0"

MED HUB NEWS - หากบ้านไหนมีเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ( Mental Retardation) จะต้องเหนื่อยกว่าบ้านที่มีลูกปกติแน่นอน เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเหล่านี้ มีความสามารถจำกัดกว่าเด็กทั่ว ๆ ไป

ดังนั้นผู้ปกครองต้องคำนึงว่าเด็กมีความต้องการอะไร บางสิ่งบางอย่างเป็นพิเศษกว่าเด็กคนอื่น ต้องมีความรู้ถึงความต้องการพิเศษด้วย 

ผู้สื่อข่าว medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook ระบุว่า แพทย์หญิงมธุรดา  สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต  ให้สัมภาษณ์ถึงวันครบรอบ 58 ปี ของสถาบันราชานุกุล

สถาบันราชานุกุล เดิมเรียกว่า  “โรงพยาบาลปัญญาอ่อน”  (พ.ศ.2503-2522) เปิดให้บริการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาอย่างครบวงจร ตั้งแต่พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา นายแพทย์รสชง ทัศนาญชลี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่านแรก

พอถึงยุคที่ 2 :ของโรงพยาบาลราชานุกูล ( พ.ศ.2522-2545 ) จนปัจจุบัน ครบรอบ 58 ปี  บรรดา  "เด็กพิเศษช่วยได้ไม่ยาก" เพราะทางสถาบันฯ จัดทอดผ้าป่าสามัคคี ในวันที่ 24 สิงหาคม 2561

เพื่อระดมทุนในการพัฒนาปรับปรุงอาคารบริการผู้ป่วยและจัดซื้อครุภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่ยังขาดแคลนและจำเป็นในการบำบัดรักษาฟื้นฟูเด็กที่มีความบกพร่องสติปัญญา  ให้สามารถดูแลตนเองได้

เข้าสู่ระบบการศึกษา มีอาชีพ และดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมเป็นภาระครอบครัวให้น้อยที่สุด ในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา  56,202 คน แนวโน้มเพิ่มขึ้น

โรคที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ภาวะออทิสติกพบได้ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด  รองลงมาคือ ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาทั้งกลุ่มที่มีสาเหตุและไม่มีสาเหตุ 

แพทย์หญิงมธุรดา หรือ หมอจ๋า กล่าวว่า ขณะนี้สถาบันฯได้จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการครั้งใหญ่ในยุค 4.0  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเด็กตามมาตรฐานสากลและใช้เทคโนโลยีทันสมัยควบคู่กับความเชี่ยวชาญของบุคลากร  วงเงินกว่า 30 ล้านบาท


เช่น ห้องกระตุ้นพัฒนาการระบบสัมผัสของเด็ก ทั้งแสง สี เสียงและกลิ่น วงเงินประมาณ 10 ล้านบาท  เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยสนามแม่เหล็กชนิดความถี่สูงหรือเครื่องทีเอ็มเอส (Transitional Magnetic Stimulator :TMS ) 

ใช้สำหรับกระตุ้นพัฒนาการเด็กป่วยออทิสติก ลดพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นวงเงินประมาณ 4 ล้านบาท เครื่องไบโอฟีดแบค ( Biofeedback ) ใช้กระตุ้นหรือส่งเสริมการสร้างสมาธิของเด็ก วงเงินประมาณ 1 ล้านบาท

โดยในต้นปี 2562 นี้สถาบันฯจะเปิดหอผู้ป่วยในขนาด 30 เตียงให้การดูแลรักษาเด็กวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปีที่ป่วยทางจิตเวชด้วย เช่น โรคซึมเศร้า สมาธิสั้น  โรคไบโพลาร์  เป็นต้น 

เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการดูแลเด็กกลุ่มนี้ซึ่งเปรียบเสมือนลูกหลานในครอบครัวของเรา

จึงขอเชิญชวนประชาชนทั่วประเทศร่วมทอดผ้าป่าการกุศลครั้งนี้ตามกำลังศรัทธา สามารถบริจาคเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนอโศก–ดินแดง ชื่อบัญชีเงินบริจาคของสถาบันราชานุกูล

เลขที่บัญชี 056 -0-20071-4  ส่งหลักฐานการโอนเงินทาง LINE ID : bmw8216  เพื่อออกใบเสร็จรับเงินและใบอนุโมทนาบัตร  

หรือสามารถบริจาคผ่านคิวอาร์โค้ด ระบบพร้อมเพย์  และรับใบอนุโมทนาบัตรอัตโนมัติ  สามารถนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ 2 เท่าตัวหรือติดต่อสอบถามที่หมายเลข 02-2488900 ต่อ 70311

ทั้งนี้ผู้ที่บริจาคตั้งแต่ 1,999 บาท ขึ้นไป จะได้รับวัตถุมงคลคือพระผงจิตรลดาเสาร์ ๕ วัดบวรนิเวศ 1 องค์  บริจาคตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป  จะได้รับการจารึกชื่อในอาคารผู้ป่วยด้วย 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์สุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

    

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา

16 มกราคม 2562

ผู้ชม 4904 ครั้ง

Engine by shopup.com