ปมร้อน "แพทย์อาชีวเวชศาสตร์" ยันแบนสารเคมี 3 ชนิดอันตรายต่อสุขภาพจริง
ปมร้อน "แพทย์อาชีวเวชศาสตร์" ยันแบนสารเคมี 3 ชนิดอันตรายต่อสุขภาพจริง
MED HUB NEWS - การใช้สารพิษ 3 ชนิดสำคัญในการเกษตร ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเสต จากสถิติปี 2560 ประเทศไทยนำเข้าสารทั้งสามชนิดเพื่อใช้ในเกษตรกรรมรวมกันเฉลี่ยปีละกว่า 7 หมื่นตัน
แบ่งเป็น พาราควอตกว่า 30,000 ตัน ไกลโฟเสต ประมาณ 35,000 ตัน และคลอร์ไพริฟอส ประมาณ 2,000 ตัน
แน่นอนว่า ปัญหาการแบน ครั้งนี้ บริษัทเอกชนผู้นำเข้าและจำหน่ายสารเคมี ซึ่งมียอดขายมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาทต่อปีพยายามชี้ให้เห็นว่า พาราควอตปลอดภัย และช่วยประหยัดต้นทุนแก่เกษตรกร
ซึ่งเป็นข้อมูลตรงกันข้ามกับเครือข่ายด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ และเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ( Thai-PAN ) ที่ออกมาโต้แย้ง
ผลการศึกษามากมายแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากการใช้พาราควอต ยิ่งไปกว่านั้น พาราควอตยังถูกแบนในประเทศต่างๆ กว่า 50 ประเทศ
กอง บ.ก.เว็บไซต์ www.medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงประเด็นเรื่องการแบนสารเคมีที่ใช้ในทางการเกษตรจำนวน 3 ชนิดคือ พาราควอต คอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต นั้น
ทั้งนี้ ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องร้อนทันที เมื่อมีการแชร์ชื่อผู้ที่แบนสารดังกล่าวในโลกออนไลน์ ทั้งการประชุม และผลกระทบของสารพิษที่เคยรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขโดยตรง
แต่เปลี่ยนไปใช้ข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี Ramathibodi Poison Center
อย่างไรก็ตาม กรมการแพทย์ได้มีการปรึกษา และสรุปผลว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดนั้นมีพิษและอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจริง และสนับสนุนให้มีการเลิกใช้
เช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ออกเสียงสนับสนุนให้มีการใช้สารเคมีดังกล่าวตามที่มีในข่าวแต่อย่างใด ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายครั้งที่ 30-1/2561 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 มีหลักฐานคือรายงานการประชุม ระบุว่าอธิบดีกรมการแพทย์ไม่ได้เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้จากการประชุมคณะกรรมการที่ผ่านมาอธิบดีกรมการแพทย์จะมอบหมายให้โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีโดยนายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาของโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม เข้าประชุมแทนมาโดยตลอดเพื่อเสนอความคิดเห็นต่างๆ
แต่ในการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายครั้งที่ 30-1/2561 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 นั้น นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ ติดงานที่สำคัญหลายงานซึ่งไม่สามารถหาตัวแทนเข้าใด้ จึงไม่ได้เข้าประชุม
และเนื่องจากไม่ทราบวาระการประชุม จึงไม่ทราบว่าจะมีการออกเสียงเกี่ยวกับการห้ามหรือไม่ห้ามใช้สารเคมีทั้งสามชนิดนี้
อย่างไรก็ตาม นายแพทย์กิติพงษ์ พยายาม ย้ำถึงจุดยืนในที่ประชุมเสมอว่าสารกำจัดศัตรูพืชทั้งสามตัวเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ถ้าสามารถยกเลิกได้จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดตามหลักการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน
ด้าน นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ หัวหน้าศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เปิดเผยว่า ในฐานะนักวิชาการของกรมการแพทย์ขอยืนยันสนับสนุนการเลิกใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดคือ พาราควอต คอร์ริฟอส และ ไกลโฟเซต ซึ่งเป็นสารอันตรายทั้ง 3 ชนิด
สำหรับหลักการในการให้เลิกใช้สารเคมีทั้งสามชนิดนี้ เนื่องจากสารเคมีทั้งสามชนิดเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพ แม้จะจัดให้เป็นสารอันตรายประเภท 3 ให้มีการเฝ้าระวังการใช้ ก็ยังมีปัญหาตามมาเรื่อยๆ
คือเมื่อเกิดเหตุการณ์ทางสุขภาพที่อธิบายไม่ได้ในหมู่ชาวนาและประชาชนทั้งโรคระบบประสาท ปวดศีรษะเรื้อรัง สมองเสื่อม หรือโรคพาร์กินสัน ซึ่งยังไม่คิดถึงพิษเฉียบพลันจากการหยิบกินผิด
ทั้งนี้มีทั้งข้อวิจัยสนับสนุนและคัดค้านมาตลอดในเรื่องผลต่อสุขภาพ และการตกค้างในพื้นดิน แต่การที่จะระบุว่าสารตัวใหนทำให้เกิดโรคอะไรนั้น จะต้องใช้เวลานาน ซึ่งมีผลเสียต่อประชาชนเป็นอย่างมาก
และเนื่องจากเรามีทางเลือกหลายทางทั้งเรื่องเกษตรอินทรีย์ หรือยากำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายน้อยกว่า จึงน่าจะเลือกทางที่อันตรายน้อยที่สุด และเป็นไปตามหลักการ คือการเลิกใช้สารทั้ง 3 ชนิด
สำหรับ นายแพทย์กิติพงษ์ พนมยงค์ เป็นแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ ( occupational medicine ) เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทำงาน ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของคนทำงาน
แต่เนื่องจากปัญหาโรคจากการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
03 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 3174 ครั้ง