“เอชไอวี 2018” ไทยยังเข้าใจผิด "4 สาวสักลาย" 1 เดือนตายพร้อมกันเพราะเอดส์
“เอชไอวี 2018” ไทยยังเข้าใจผิด "4 สาวสักลาย" 1 เดือนตายพร้อมกันเพราะเอดส์
MED HUB NEWS - กรณีข่าวฮือฮา สื่อมวลชนพาดหัวข่าวทำนองว่า "4 สาว สักที่คลองหลอด พ่อเผยติดเอดส์พร้อมกัน ดับภายใน 1 เดือน" และ สาววัย 22 สักลายพร้อมเพื่อน 3 คน สุดท้ายติดเชื้อ HIV ดับ
ข่าวจาก ข่าวสด และ TNEWS
กอง บ.ก.เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า จากเนื้อหาข่าว ทางกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน HIV
และ กลุ่ม “คนเลือดบวก” มองว่าข้อมูลมั่วมาก และ สับสน ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงปัญหาความไม่เข้าใจ และสื่อหลงประเด็น แทนที่จะเตือนเรื่องการสักลายมากกว่า
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าว เริ่มต้น นางสาวขวัญฤดี อินทะบุญ อายุ 22 ปี เสียชีวิต หลังจากไปสักลายกับเพื่อนๆ ทั้งหมด 4 คน เสียชีวิตหมดทุกคน เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด ( HIV ) โดยตั้งศพบำเบ็ญกุศลไว้ที่วัด วิเวศธรรมคุณ(วัดนาฮุง) บ้านน้อยสนามบิน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย
หลังจากพบหมอ วันที่ 28 กรกฎาคม ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ ตนเลยพาย้ายไปรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลเลย วันที่ 29 กรกฎาคม จากนั้นก็พาน้องกลับบ้าน และพาไปพบหมอ น้องก็เดินได้ปกติ แต่ก็จะมีอาการ ปวดเนื้อปวดตัว แขนขาไม่มีแรง และทรุดหนัก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม
ตนได้อุ้ม พาไปโรงพยาบาล หมอได้ให้ยาต้านเชื้อไวรัสรอบเดียว แล้วก็มาเสียชีวิต ในเวลา 04.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม ตนรู้สึกเสียใจ ที่จากไปเร็วมาก ด้วยอายุเพียง 22 ปี
นายเดชา อินทะบุญ รอง ผบ.หมู่ กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดเลย ที่ 2 เปิดเผยว่า ลูกสาวไปอยู่กับน้า ที่จังหวัดปทุมธานี ได้โทรมาบอกตน เมื่อเดือนพฤษภาคม ว่า ปวดท้องมาก ไปหาหมอ ที่โรงพยาบาล อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
หมอบอกว่า ติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด หมอก็ให้ยา มากิน หลังจากนั้นมา ก็ปวดท้องไม่หายสักที ซึ่งก่อนหน้านี้ ลูกสาวเล่าให้ตนฟังว่า เมื่อช่วงเดือน ปลายเดือน มีนาคม ได้ไปสักลายมา กับเพื่อนด้วยกัน 4 คน ไปสักที่ตลาดนัดคลองหลอด กรุงเทพมหานคร แล้วก็เกิดอาการปวดเนื้อปวดตัว ปวดในช่องท้องบ่อย เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม
จนกระทั้ง เมื่อต้นเดือน กรกฎาคม ลูกสาวโทรมาบอกตนว่าจะนั่งรถไปหาป้า ที่ เชียงใหม่ น้องบอกตนว่า ปวดท้องขณะนั่งรถไปเชียงใหม่ เข้าห้องน้ำบนรถประมาณ 9 ครั้ง
พอป้ามารับที่ สถานีขนส่ง ป้าก็พาน้องเข้าโรงพยาบาลนครพิง เชียงใหม่ ตนจึงรีบขับรถไปหาที่เชียงใหม่ หมอได้มาบอกว่า ลูกสาวติดเชื้อ HIV ระยะที่ 3 ตนก็ได้แต่ทำใจ แต่หมอได้บอกว่า มียาต้านเชื้อไวรัสอยู่ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ว่าจะถูกกับยานั้นไหม หรือดื้อยาไหม แต่ต้องให้ยาตลอด
"ช่วงที่น้องอยู่โรงพยาบาลลำลูกกา เพื่อนได้โทรมาหา บอกว่าปวด ปวดท้องบ่อย น้องก็บอกว่า เป็นเหมือนกัน อยู่โรงพยาบาลเหมือนกัน แล้วตอนที่น้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่นั้น ผู้ปกครองของน้องได้โทรมาบอกตนอยู่ว่า เพื่อนเสียชีวิตแล้ว น้องก็ใจหาย ได้แต่ทำใจ
เนื่องจากเป็นระยะที่ 3 แล้ว ซึ่ง ระยะเวลา ภายใน 1 เดือน ลูกสาว และเพื่อนของน้องที่ไปสักลายด้วยกัน เสียชีวิตทั้งหมด 4 คน ได้แต่ทำใจ จะไปแจ้งความก็ไม่รู้จะไปเริ่มตรงไหนก่อน อยากจะฝาก วัยรุ่น ที่ชอบสักลายนั้น อยากให้เลือกร้านที่ถูกสุขลักษณะ และอยากฝากไปยังร้านรับสักลาย ให้เปลี่ยนเข็มสัก ทุกครั้งด้วย"
ขณะที่ พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข ยังไม่ได้มีกฏกระทรวงออกมาในเรื่องของการสักลายที่จะต้องขึ้นทะเบียนและควบคุมมาตรฐาน แต่ในอนาคตคาดว่าจะจัดอยู่ใน กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทั้งนี้ วัยรุ่นมีความนิยมการสักลวดลายบนร่างกายมากขึ้น ดังนั้นการใช้บริการจะต้องระมัดระวัง เนื่องจากการสักเป็นการนำสีเข้าสู่ร่างกาย
โดยผ่านกระบวนการเจาะผ่านทางผิวหนัง ซึ่งจะมีความเสี่ยงทั้งจากอุบัติเหตุระหว่างการสัก การติดเชื้อจากการใช้อุปกรณ์สักไม่สะอาด และเสี่ยงเป็นมะเร็ง
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ มี 3 จุด ได้แก่ การสักขอบตาถาวรทำให้ดูแล้วตาโต สักคิ้วถาวร ทำให้คิ้วดกดำหรือเป็นมิติเห็นลายเส้นขน ไม่ต้องเขียนหรือวาดทุกครั้งที่แต่งหน้า รวมทั้งการสักขอบปาก ให้มีสีอมชมพู เหมือนกับเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี เลือดฝาดไหลเวียนดี
การสักมีความเสี่ยงทั้งการเกิดอุบัติเหตุ เข็มแทงลูกตา เครื่องมือไม่สะอาด สีที่ใช้สักปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารโลหะหนัก การสักประเภทเพื่อความสวยงามมักจะมีการโฆษณาในสื่ออินเตอร์เน็ต และหนังสือประเภทบันเทิงจำนวนมาก
ดังนั้น ควรต้องเร่งออกกฏหมายเพื่อควบคุม และ ที่สำคัญการให้ความรู้ ข่าวสารความเข้าใจแก่ประชาชนว่า ควรคำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยของสถานที่ เครื่องมือ สีที่ใช้สักเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิด"
ขณะที่ “พีท” หรือ นายฐิฏิวัสส์ ศิรเศรษฐกร หนุ่มวัย 28 ปี แกนนำกลุ่มคนเลือดบวก จนมีผลงาน กระทั่งหน่วยงานด้านเอดส์โลกตั้งเป็นที่ปรึกษา พัฒนาแนวทาง "เซตซีโร่" เชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ ระบุว่า ข่าวนี้สร้างความสับสนแนวทางกาารรรณค์แบบเดิมมาก และควรย้อนไปตรวจสอบเวชระเบียนน้องว่าเกิดจากสาเหตุใด ระยะเวลา ข้อมูลที่น้องแจ้งพ่อ
หนุ่มพีท กล่าวกับ medhubnews.com ว่า ปัจุบันเรามีแคมเปญ U = U ( Undetectable = Untransmissable ) หรือผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัสเป็นอย่างดีจนตรวจไม่เจอเชื้อไวรัสในเลือดแล้ว จะไม่แพร่เชื้อให้กับใครได้ ( ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่ )
หลายการศึกษาออกมาให้ผลสอดคล้องกันว่าถ้าใครที่ติดเชื้อเอชไอวี และเริ่มการรักษาด้วยยาต้านเชื้อเอชไอวีอย่างถูกต้องเกิน 6 เดือนขึ้นไป และมีปริมาณเชื้อเอชไอวีในเลือดเหลือน้อยกว่า 40-50 ตัว (ก๊อปปี้) ต่อหนึ่งซีซีของเลือด หรือที่เรียกกันว่า “ตรวจไม่เจอ”
คน ๆ นั้นจะไม่แพร่เชื้อให้ใครได้อีกเลย โดยดูจากคู่นอนของผู้ติดเชื้อที่กินยาต้านไวรัสฯ จนตรวจไม่เจอเชื้อแล้ว ทั้งที่เป็นคู่ชายกับหญิง หรือชายกับชาย ซึ่งไม่ติดเชื้อ (เรียกว่ามีผลเลือดต่าง) จากทั่วโลกหลายหมื่นคู่ เป็นเวลาต่อเนื่องหลายปี
ไม่พบว่ามีใครติดเชื้อเลยแม้เพียงคนเดียว ทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยป้องกันเลยรวมแล้วกว่าหมื่นครั้ง
แม้แพทย์จะแนะนำให้ใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งก็ตาม แสดงว่าถ้าติดเชื้อ รักษาแล้วจนตรวจไม่เจอเชื้อ คน ๆ นั้นจะไม่แพร่เชื้อให้กับใคร หรือ “ไม่เจอเท่ากับไม่แพร่”
สอดคล้องกับที่เราเคยรู้กันมาก่อนหน้านี้ว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสฯ เป็นการป้องกันที่ดีที่สุด ที่เรียกว่า “Treatment is ( the best ) Prevention”
และสอดคล้องกับที่หลายประเทศทั่วโลกออกกฎหมายว่าผู้ติดเชื้อที่กินยาจนตรวจไม่เจอไวรัสในเลือดสามารถมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็ได้โดยไม่ผิดกฎหมายอีกต่อไป ถ้าคู่นอนของเขารับทราบและยินยอมครับ"
เมื่อถึงวันนั้น เราจะประสบความสำเร็จ และ คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้ผู้ติดเชื้อทุกคนเท่าเทียมกันหมด !
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
26 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 3656 ครั้ง