"เปิดเอกสารกรมอนามัย" ยกเว้น "สักลาย" ไม่ต้องขึ้นทะเบียน ไม่ต้องมีใบอนุญาต
"เปิดเอกสารกรมอนามัย" ยกเว้น "สักลาย" ไม่ต้องขึ้นทะเบียน ไม่ต้องมีใบอนุญาต
MED HUB NEWS - กลายเป็นเรื่องราวที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก กรณีพ่อของ นางสาวขวัญฤดี อินทะบุญ อายุ 22 ปี 1 ใน 4 ผู้เสียชีวิต ที่ไปสักลายพร้อมกับเพื่อนแถวคลองหลอด ติดเชื้อเอชไอวี
ล่าสุด www.medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า เรื่องนี้ไม่ได้จบลงง่ายๆ
เพราะทางทีมสอบสวนโรค กรมควบคุมโรค ได้ลงพื้นที่พิสูจน์ความจริงแล้ว ซึ่งมีข้อสงสัยมากมาย และ เรื่องนี้ จะปล่อยให้เงียบไปพร้อมกับข้อมูลบางอย่างที่สลับซับซ้อน และ สังคมเข้าใจผิดไม่ได้แน่นอน
จากข่าว พบว่ามีการบอกเล่าถึงสาเหตุการตายไม่เหมือนกัน แม้บิดาจะอยู่ใกล้ชิดที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่าลูกสาวจะบอกหมดทุกอย่าง จนนำไปสู่การบอกเล่าของเพื่อนๆ ที่ใกล้ชิด แฟนเก่า แฟนใหม่ จนได้คำตอบที่สื่อรู้ชัดเจน
คร่าวๆ คือ เอกสารจากโรงพยาบาลจังหวัดเลย ที่ออกใบมรณะบัตรว่าติดเชื้อเอชไอวีมานาน 1 ปี และ ติดเชื้ออื่นๆ เช่น วัณโรค แต่ต้องรอเอกสารยืนยันทางการแพทย์
แต่รวมๆ แล้ว ทั้งการติดเชื้อเอชไอวี และ การสักที่ไม่ได้มาตรฐาน เกี่ยวพันกัน ขณะที่รอเอกสารยืนยัน สิ่งที่ต้องโฟกัสคือ ผลกระทบที่ทิ้งเอาไว้เป็น "เผือกร้อน" สำหรับอาชีพช่างสัก ที่ ร้านสัก Ying Youngterk Tattoo ถูกมองไปในทางลบ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการสาธารณสุข เพราะในอดีตเคยเกิดปัญหาเรื่องมาตรฐานการสักลาย ที่มีการใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาด มีการติดเชื้อมาแล้วมากมาย
จนจะมีการนำเอาอาชีพสักลายไปไว้ใน กฎหมายสถานพยาบาล 2541 แต่ไปๆ มาๆ กรมอนามัย ยกเลิกข้อยกเว้นอาชีพการสักลายที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ช่วงเดือนสิงหาคม 2558 เกิดกระแสสังคมวิจารณ์ปัญหาแนวคิดนโยบายของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ที่จะพิจารณารับนักศึกษาที่มีรอยสักเข้าเรียนเป็นรายบุคคล หรือ ต้องลบรอยสักก่อนถึงจะเข้าศึกษาได้
ขณะเดียวกันอีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับอาชีพช่างสัก คือ การจัดระเบียบ และยกระดับวิชาชีพให้ถูกต้องตามกฎหมาย และปลอดภัย ได้มาตรฐาน
ดังนั้น จึงมีการเกรงกลัวว่าหากมีการนำเอาอาชีพสักลายไปไว้ที่กระทรวงสาธารณสุข จะมีความยุ่งยากต่อการให้บริการลูกค้า
โดย นายพนิษฐ์นันท์ นิ่มนวล เจ้าของ ร้านสัก Ying Youngterk Tattoo อดีตประธานชมรมช่างสักไทย ผู้ประกอบการร้านสักแห่งประเทศไทย บอกว่า
ธุรกิจการสักเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้รับความนิยมวงกว้าง โดยพบว่ามีความพยายามที่จะจัดหมวดหมู่ในประเภทสถานพยาบาล ที่ขัดแย้งกับการให้บริการ
เพราะปัจจุบัน อาชีพช่างสัก ไม่ต้องจดทะเบียน หากจะเปิดร้าน ก็แค่ขออนุญาตเขตประกอบการพาณิชย์เท่านั้น
กลุ่มชมรมช่างสัก และผู้ประกอบการร้านสักแห่งประเทศไทย จึงนัดรวมตัวกัน เพื่อเรียกร้องให้รัฐเข้าดูแลและจัดระเบียบมาตรฐานวิชาชีพบริการ
และ เป็นที่ยอมรับในสังคม ด้วยมาตรฐานการให้บริการที่ปลอดภัย จัดประเภทอยู่ในหมวดวิชาชีพที่ถูกต้อง หลังจากที่เคยถูกจับกุมมาหลายครั้ง
กลุ่มวิชาชีพช่างสัก ระบุว่า อาชีพช่างสัก สามารถสร้างรายได้และเป็นหน้าเป็นตาให้กับแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย เพราะฝีมือสวยงาม
ทำให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้มาก บางคนถึงขั้นจองคิวเพื่อมาสักในไทย จึงมีความจำเป็นที่ รัฐต้องเข้ามาช่วยในการยกระดับควบคุม เพื่อไม่ให้ร้านผิดจรรยาบรรณ เอาเปรียบ ผู้บริโภค ให้มีความปลอดภัย
ทั้งเครื่องมือ รูปแบบร้าน การันรันตี เสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบัน อาชีพช่างสัก ไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้ไม่สามารถ ป้องปราม กลุ่มคนที่ลักลอบสักกันเอง โดยที่ไม่ได้รับมาตรฐานได้
ขณะเดียวกันพบว่า ช่วงปลายปี 2558 ข่าวประกาศ จาก ชมรมช่างสักและผู้ประกอบการร้านสักแห่งประเทศไทย ระบุว่า “ในวันที่พวกเราร่วมมือร่วมใจกัน ผลออกมาเป็นที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งครับ เจ้าของ ร้านสัก Ying Youngterk Tattoo กล่าว
โดยสรุปแล้ว ช่างสักลายจัดอยู่ในหมวด การประกอบอาชีพเวชกรรม และตอนนี้ทางกรมอนามัย โดยกระทรวงสาธารณสุข
ได้ทำการยื่นเรื่องเพื่อแก้ไขข้อยกเว้น ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ เวชกรรม ให้มีข้อยกเว้น ในอาชีพการสักลายที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียน และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
เราก้าวมาครึ่งหนึ่งแล้วครับ คาดว่าอีกไม่นานเราจะมีข่าวดีมากกว่านี้และ เราต้องประสบความสบความสำเร็จในอาชีพของเราครับ”
ขณะที่มุมมองของ นาย พนิษฐ์นันท์ นิ่มนวล ร้านสัก Ying Youngterk Tattoo อดีตประธานชมรมช่างสักและผู้ประกอบการร้านสักแห่งประเทศไทย มองว่า
“นี่คือสิ่งที่ดีที่พวกเรารอคอยและร่วมมือกันแสดงพลังในการร้องขอความเป็นธรรมในอาชีพของเรากับหน่วยงานราชการ เพื่อความชัดเจนในสายอาชีพช่างสัก ว่าเราคือกลุ่มบุคคลที่ประกอบอาชีพในประเภทไหน และนี่คือคำตอบที่ดีที่ภาครัฐให้เรามาครับ”
ร้านสัก Ying Youngterk Tattoo โพสต์ว่า กรุณาอ่านให้จบนะครับ และเน้น " ข้อสามหน้าที่สอง "
มาถึงตอนนี้แล้วทุกท่านก็ต้องพัฒนารูปแบบร้านและอุปกรณ์ของท่านเองให้ได้มาตรฐานตามที่ทางเขตควบคุมสภาพแวดล้อมได้กำหนดไว้ด้วยนะครับ เพื่อการยกระดับวงการสักของเมืองไทยให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเทียบเท่าสากล” ร้านสัก Ying Youngterk Tattoo กล่าว
สรุปคือ ชมรมช่างสักและผู้ประกอบการร้านสักแห่งประเทศไทย รับปากว่าจะดูแลกันเอง โดยจะยกระดับวงการสักของเมืองไทย สู่สากล สำหรับการท่องเที่ยว เช่น พัทยา เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะพงัน ฯลฯ
แต่การควบคุมกันเองนั้น ทำให้เกิดร้านสักส่วนน้อย ต้องย้ำว่าน้อยมาก ที่จะไร้มาตรฐาน เพราะช่างสัก เป็นอาชีพด้านศิลปะ ความสะอาด ความละเอียด ความสวยงาม จึงเป็นเรื่องที่ช่างสักทุกคนให้ความสำคัญมาก
ขณะที่ในปัจจุบันเรามี พ.ร.บ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 ที่ประกาศบังคับใช้แล้ว ดังนั้นกิจการสักลาย จึงเปลี่ยนจาก กรมอนามัยเดิมที่ยกเลิก ไปอยู่ภายใต้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ( กรม สบส. ) กระทรวงสาธารณสุข
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
08 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 20135 ครั้ง