สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พัฒนาเทคนิค “ถอดรหัสพันธุกรรม” ลดปัญหาวัณโรคดื้อยาเป็นแห่งแรกของไทย เว็บไซต์สุขภาพ

บทความ

สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พัฒนาเทคนิค “ถอดรหัสพันธุกรรม” ลดปัญหาวัณโรคดื้อยาเป็นแห่งแรกของไทย

สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ Medical Life Sciences Institute , เว็บไซต์สุขภาพ , สาธารณสุข , medhub news , น้ำตาล เดอะสตาร์ 5 , วัณโรคหลังโพรงจมูก , ข่าวสุขภาพ , ข่าวสาธารณสุข , สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , กรมควบคุมโรค

News Update วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2562 : กรณีน้ำตาล เดอะสตาร์ 5 เสียชีวิตหลังจากมีอาการเลือดออกปากออกจมูกภายในไม่กี่วัน

จึงทำให้มีข้อกังขาว่าสาเหตุการเสียชีวิตของดาราสาวคืออะไรกันแน่ กระทั่งแพทย์มีการแถลงผลตรวจชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูกของสาวน้ำตาล ซึ่งพบว่า น้ำตาล เดอะสตาร์ 5 เสียชีวิตด้วยวัณโรคหลังโพรงจมูก

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค โดยใช้หลักสามข้อ ทั้งเน้นดูแลป้องกันผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง การกำหนดนโยบายที่เข้มงวด

ซึ่งทาง WHO ยังได้เน้นในเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้ทุกประเทศสมาชิกบรรลุเป้าหมาย ยุติวัณโรค (TB) ภายในปี 2563 โดยให้ใช้เป็นหลักสากลเพื่อป้องกันและวินิจฉัยโรคที่เหมาะสมและมีคุณภาพสูงในทุกรูปแบบ

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

องค์การอนามัยโลก แนะนำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เป็น 1 ใน 3 เสาหลัก เพื่อยุติวัณโรคตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 Medical Life Sciences Institute

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ทางสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ นำเทคโนโลยีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อวัณโรคมาช่วยยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย

ก่อนหน้านี้การถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคจำกัดอยู่เฉพาะงานศึกษาวิจัย และนักวิจัยต้องส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ในต่างประเทศ

ดังนั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว พัฒนาบุคลากรและระบบห้องปฏิบัติการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของเชื้อวัณโรค

จนสามารถเปิดบริการตรวจหาลำดับเบสทั้งจีโนมของเชื้อวัณโรคด้วยเทคนิควิเคราะห์ลำดับเบสรุ่นใหม่ ( Next Generation Sequencing )

เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทำให้การตรวจหาการกลายพันธุ์ (mutation) ของเชื้อวัณโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ยังทำให้ทราบสายพันธุ์ของเชื้อวัณโรค ช่วยวางแผนการสอบสวนการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค และทราบภาวะดื้อต่อยาต้านวัณโรคที่ครอบคลุมทั้งยาต้านวัณโรค

แนวที่ 1 (first-line) และแนวที่ 2 (second-line) เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาสูตรยาที่เหมาะสมในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังร่วมกับกรมควบคุมโรค ในการถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคภายใต้โครงการ National Surveillance of Drug resistance in Tuberculosis ครั้งที่ 5

จำนวน 1,200 ตัวอย่าง เพื่อช่วยให้เข้าใจสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อวัณโรค และวางแผนงานควบคุมวัณโรคสำหรับลดปัญหาวัณโรคดื้อยาของประเทศไทย

ทั้งนี้การตรวจวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นมีความไว ความจำเพาะสูง ช่วยลดขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาสำหรับทดสอบความไวต่อยาต้านวัณโรค ซึ่งต้องใช้เวลาในการทดสอบ 1 – 2 เดือน

ในขณะที่การถอดรหัสจีโนมใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์เพียง 1 สัปดาห์ โดยในปีหน้าจะให้บริการถอดรหัสจีโนมของเชื้อวัณโรคแก่นักวิจัยในประเทศไทย และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย 

สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

26 มิถุนายน 2562

ผู้ชม 5700 ครั้ง

Engine by shopup.com