ตามคาด ! "ผลกระทบคลิปพยาบาลโหด" สะเทือนสังคมผู้สูงอายุ ร้องขอบรรจุ
ตามคาด ! "ผลกระทบคลิปพยาบาลโหด" สะเทือนสังคมผู้สูงอายุ ร้องขอบรรจุ
MED HUB NEWS - กระแสข่าว “นางพยาบาลใจร้าย” ของโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก มาแรงเกินที่คาดคิด เนื่องจากมีคลิปแสดงให้เห็นว่านางพยาบาลคนนี้ ( แค่คนเดียว ) กระทำรุนแรงกับคนไข้วัย 90 ปี อย่างโหดเหี้ยมจึงทำให้องค์กรวิชาชีพบางแห่งต้องออกมาอยู่ข้างประชาชน
แต่หากเป็นกรณี การสื่อสารที่ไม่เข้าใจ หรือ ปัญหากระจุมกระจิม คำพูด นิดๆ หน่อยๆ จากละคร จากข่าว จากโฆษณา จากชาวบ้าน จะต้องทำให้กลายเป็นประเด็นใหญ่โต เป็นโต้โผออกหน้าฉากปกป้องพวกเดียวกัน
ล่าสุด กอง บ.ก.เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า อยากให้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องบุคคล เรื่องส่วนตัว เป็นแค่เรื่อง “นางพยาบาลใจร้าย” ของโรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก อย่าเหมารวมทั้งประเทศ เพราะพยาบาลใจดีมีกว่า 90 %
ยุคสมัยนี้ หากไปใช้บริการโรงพยาบาล ให้หันหน้าเข้าหาพยาบาลที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี เพราะเป็นยุคที่มีการเรียนการสอน การเปิดหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพที่เน้นความเมตตา รักผู้ป่วย จึงทำให้เราเห็นว่าพยาบาลรุ่นใหม่ คือความหวังของระบบสุขภาพ และ มีประสิทธิภาพที่สุด
หันมามองในบริบทของสังคมไทย ที่เรากำลังเป็นสังคมผู้สูงอายุ กำลังโปรโมทการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ รัฐบาล และ สาธารณสุข กำลังจัดระเบียบ ร่างกฎหมายกันวุ่น
แต่คลิป “นางพยาบาลใจร้าย” โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลกเพียงคลิปเดียว ในโลกออนไลน์ ลูกหลานพากันกลัวว่า หากส่งพ่อแม่ไปตามสถานพยาบาล หรือ สถานบริการ รับดูแลผู้สูงอายุ ลับตาลูก แล้วพ่อแม่จะเจอแบบเคสนี้ไหม .....จบเห่กันหมด
แม้ว่า นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ได้เซ็นคำสั่งย้ายพยาบาลคนดังกล่าวออกนอกพื้นที่แล้ว แต่ยังใจดี เมตตา ไม่ได้แจ้งว่าย้ายไปโรงพยาบาลใด เนื่องจากเจ้าตัวกำลังเครียด และยังไม่พร้อมขอโทษสังคม
จากการทำงานในสื่อสายสุขภาพ ได้สัมผัสวิชาชีพครบทุกวิชาชีพแล้ว ถ้าเรื่องไหนมองข้ามช็อตว่าจะเกิดอะไร ก็ไม่อยากจะตามประเด็น ไม่โหมกระแสมาก เพราะอย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่า หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น ?
บางคนถามเข้ามาว่า ทำไม นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก มาเกี่ยวข้องอะไรด้วย และ ทำไมปลัดกระทรวงไม่สั่งการเอง
ยุคนี้เขามีระบบ “ราชการส่วนภูมิภาค” โครงสร้างส่วนราชการเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึง โดยส่วนราชการฝ่ายพลเรือนที่มีหน่วยงานส่วนภูมิภาคอยู่ในจังหวัดต่างๆ กำหนดให้มี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นหัวหน้ารับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินภายในจังหวัดนั้นๆ
รวมทั้ง โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ที่อยู่ภายใต้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พิษณุโลก ก็เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันมีจำนวนตัวแทนกรม/กระทรวงในจังหวัด 33 หน่วยงานที่เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคขึ้นกับผู้ว่าราชการจังหวัด
ส่วนราชการอื่นๆ ในจังหวัดต่างๆ ล้วนเป็น หน่วยงานส่วนกลาง ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคทั้งสิ้น ผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่มีอำนาจจะไปแตะต้องอะไรเขาเพราะเจ้านายคือ อธิบดี ปลัดกระทรวง เท่านั้น
สิ่งที่โดนใจประชาชนมากๆ คือ พ.ต.ท. เอกราช หุ่นงาม นายตำรวจชื่อดังที่เคยโพสต์แสดงความคิดเห็นกับกฎหมายห้ามนั่งท้ายรถกระบะ ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า
"คุณหัวหน้าพยาบาล คุณจะมาขอความเห็นใจให้กับลูกน้องที่ทำกับคนไข้ได้ขนาดนั้นเพื่อ..? ควรยอมรับผิดและขอโทษคนไข้กับญาติเขาที่ไม่ดูแลลูกน้องให้ดีมากกว่ามั้ยครับ !!"
ทำให้ผู้ที่ได้อ่านสเตตัสโพสต์ดังกล่าว สนับสนุนแนวคิดของสารวัตรเอกเป็นจำนวนมาก แม้กระทั่งสหวิชาชีพด้านสุขภาพ บางวิชาชีพ ที่เจอหน้ากันทุกวัน
ทั้งๆ ที่วันเดียวกัน มีข่าวเกี่ยวกับโรงพยาบาล หลากหลายข่าว ทั้งข่าวร้องรพ.ลืมผ้าก๊อซในท้อง ข่าวโรงพยาบาลระยองทำคนไข้หล่นจากรถเข็น
ซึ่งบางข่าวต้องใช้วิจารณญาณในการนำเสนอมากๆ แต่ต้องยอมรับว่า สื่อทั่วไป มองไม่ออกเรื่องของระบบสุขภาพแน่นอน
และที่ทิ้งปริศนาเอาไว้ว่า “ก็ไม่อยากจะตามประเด็น ไม่โหมกระแสมาก” ว่า หลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้น ? ก็เป็นไปตามคาด ตอนนี้เริ่มมีการดราม่าขาดแคลนพยาบาล งานหนัก เงินน้อย ? หรือ เงินเดือนดีแต่ไม่พอ
หากปรียบเทียบ อาชีพพยาบาลเทียบกับ วิชาชีพอื่นๆพยาบาล ถือว่าเงินเดือนสูงตามมาตรฐาน และ พยาบาลก็ไม่ใช่ว่าจะทำงานหนักมาก เหมือนภาพจำในข่าว เพราะเดี่ยวนี้มีผู้ช่วยพยาบาลที่ทำงานหนักกว่า
วันนี้ ต้องขอชื่นชมน้องๆ พยาบาลไทย ที่ศึกษาจบ และ กำลังศึกษา แม้ว่าจะทราบดี เรื่องของอัตราบรรจุเป็นข้าราชการ แต่น้องๆ พยาบาลพอใจที่จะทำงาน เพราะเรียบจบมีงานรองรับทันที
น้องๆ พยาบาลไทย ไม่ลืมอุดมการณ์ ที่เคยพูดกันไว้ "เราต้องการช่วยเหลือคนค่ะ" "พยาบาลเป็นอาชีพในฝันเลยค่ะ" "อาชีพนางฟ้า ทำแล้วได้บุญค่ะ" ฯลฯ
ตอนนี้สังคมพอจะเข้าใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะการออกมาประท้วงกันไม่รู้กี่รอบต้องการบรรจุ กระทรวงสาธารณสุขก็ทำเต็มที่ หารือไปทาง ก.พ.จนกระทั่ง ก.พ.เลิกคุยแล้ว
เรื่องของสิทธิ สวัสดิการ พยาบาลได้ครบเหมือนข้าราชการทุกอย่าง หากใจกว้างๆ มองไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพ เช่น หน่วยบริการชุมชน ตำบล ชนบท
ถึงเวลาที่สังคมน่าจะทราบได้แล้วว่า พนักงาน หรือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ หมออนามัย ทำงานทุกอย่าง ตั้งแต่งานบริหาร ยัน งานด้านบริการ แถมยังจะเจอ พรบ.การแพทย์ปฐมภูมิ อีก
สุดท้าย คลิปนี้ ก็มีส่วนทำประโยชน์ให้สังคมได้เห็นกันว่า ความจริง คืออะไร ใครอยู่ข้างประชาชน
บางวิชาชีพปิดทองหลังพระ ยังตั้งหน้าตั้งตาทำงาน เป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง !
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ โรงพยาบาลพุทธชินราชพิษณุโลก ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
17 มกราคม 2562
ผู้ชม 3227 ครั้ง