"กลุ่มพลังแพทย์" ยื่นหนังสือ รมว.สธ.เปลี่ยน ใช้ระบบเลือกตั้งออนไลน์ สรรหาแพทยสภาชุดใหม่ เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม การค้าการลงทุน

บทความ

"กลุ่มพลังแพทย์" ยื่นหนังสือรัฐมนตรีใช้ระบบเลือกตั้งออนไลน์ สรรหาแพทยสภา

 

 MED HUB NEWS ยุคปัจจุบันทุกอย่าง เป็นดิจิตอลหมดแล้ว โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข เน้นโครงการ  4.0  ที่กำหนดให้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม เทคโนโลยีมาช่วยทำงานให้ง่ายขึ้น แต่ในยุค  4.0 การเรียนรู้ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และ นวัตกรรม ไม่เท่ากัน บางคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แม้โลกจะไปไกลแสนไกล

แต่คนเหล่านี้ยังยืนยันว่าจะอยู่จุดเดิม เพราะเก่ง  เชื่อมั่นในตัวเอง และปกป้องผลประโยชน์บางอย่างในระบบเดิม  

โดยเฉพาะเรื่องของ  "การลงคะแนนเสียงออนไลน์" หรือ "การเลือกตั้งออนไลน์" นั้น ในไทยเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏให้เห็นผ่านตานัก

แม้ในยุคนี้เราจะมีเทคโนโลยีทรงประสิทธิภาพมากมาย แต่คาดว่าตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป ทุกองค์กรจะต้องเปลี่ยนหมด

คล้ายๆ กับสื่อมวลชนยุคปัจจุบัน ที่จู่ๆ พอจะเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ เป็นออนไลน์ ก็เปลี่ยนอย่างกะทันหัน จนทำให้บางสื่อเจ๊งกันเป็นแถว

ทั้งๆ ที่ไทยเรามีเว็บไซต์ข่าวออนไลน์มาตั้งนานแล้ว สมัยปี 2550 ก็มีเว็บไซต์ข่าวมากมาย แต่ด้วยพฤติกรรมของคนไทย จึงยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงนั้น กระทั่งเทคโนโลยีบังคับให้เราต้องปรับเปลี่ยนตามโลกยุคใหม่ 

ล่าสุด กอง บ.ก.เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข  การท่องเที่ยว วาไรตี้   และ เพจ sasook รายงานว่า หน่วยงานที่นำเอาระบบเลือกตั้งออนไลน์มาใช้ มีจำนวนมากทั่วประเทศ

เช่น ในแวดวงศึกษา วิทยาศาสตร์ และ สภาวิชาชีพต่างๆ  ขณะที่วิชาชีพด้านสุขภาพ มีสภาเภสัชกรรม เปลี่ยนมาเป็นการลงคะแนนเสียงออนไลน์แล้ว 

ส่วนวิชาชีพบางแห่ง ที่ยังไม่ใช้ เพราะกรรมการต่างก็คุ้นเคยกับกระดาษ และ ปากา พร้อมการส่งไปรษณีย์ ไปป – กลับ และนำเอาบัตรคะแนนเสียงมาใส่ "หีบ" แทนที่จะนับคะแนนเลย แต่กลับเอาไปนอนกอดค้างคืนด้วย

 

ทั้งนี้ การเลือกตั้งกรรมการสภาเภสัชกรรม วาระที่ 9  มีการนำเอาระบบการลงคะแนนเสียงออนไลน์มาใช้ ร่วมกับไปรษณีย์ 

ซึ่งปัจจุบันต้องบอกเลยว่า ในโลกยุคจิดิตอล 4.0 มีนักพัฒนาโปรแกรมแก้ไขปัญหาด้านความเป็นส่วนตัว ปัญหาด้านความโปร่งใส และปัญหาด้านความปลอดภัย

ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการลงคะแนนเสียงทางจดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ระบบการลงคะแนนเสียงแข็งแกร่งพร้อมใช้งานได้จริงในระดับประเทศ

ขณะที่สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ที่จะมีการเลือกตั้งเร็วๆ นี้  ยังมีการผลักดันเป็น "โครงการ กลุ่มพลังแพทย์ร่วมสมาชิกแพทยสภา" ขอเสนอให้มี การแก้ไขวิธีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาแบบออนไลน์ร่วมออฟไลน์ เพื่อแพทย์เข้าถึงสิทธิทั่วถึงเป็นธรรม

เมื่อวันที่ 28  กันยายน 2561  แพทย์กว่า 100 ท่าน ได้ลงนามเข้าชื่อเสนอ ศ.นพ.ปิยสกล สกลสัตยาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษ

และมีแพทย์ราว 10 ท่าน เป็นตัวแทนแพทย์ที่ลงนาม  ได้เข้าพบ รมว. หรือผู้แทน  ณ. สำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชั้น 4  ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงฯ  

โดยได้ยื่นหนังสือ ขอให้แก้ไขการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาออนไลน์เพื่อแพทย์เข้าถึงสิทธิทั่วถึงเป็นธรรม

"กล่าวคือ เราได้มีประกาศแพทยสภา และคณะอนุกรรมการการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา วาระ 2562 ถึง 2564  ในลักษณะเป็นการให้การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาที่จะเริ่มขึ้นในอีกสัปดาห์ข้างหน้า และจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2562"

ขณะที่การเลือกตั้ง โดยวิธีการส่ง และ รับบัตรเลือกตั้งของแพทย์ทั่วประเทศในทางไปรษณีย์ ซึ่งมีข้อวิจารณ์มาหลายวาระว่าทำให้แพทย์จำนวนมาก ไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง หรือ ได้รับแล้วลืมส่งบัตรเลือกตั้งที่ได้เลือกแล้วเข้าหีบเลือกตั้ง 

กับทั้งมีบัตรเลือกตั้งที่ส่งแล้วมีข้อมีข้อวิจารณ์มาหลายวาระเกี่ยวกับ "หีบบัตรเลือกตั้ง" และ บัตรที่ถูกจัดส่งกลับมาต้องมีลายเซ็นแพทย์ แต่ไม่อาจยืนยันตัวตนของแพทย์ที่ใช้สิทธิได้

เพราะระบบดังกล่าไม่อาจตรวจสอบความเป็นตัวตนของแพทย์ในบัตรเลือกตั้งได้  จนมีกรณีโต้แย้งทุกครั้งที่มีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา  โดยข้อสำคัญคือว่า แพทย์ร้อยละ 28  ไม่ได้รับบัตรเลือกตั้งที่ส่งทางไปรษณีย์

และเนื่องจากในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา มีสมาชิกแพทยสภา ( แพทย์ ) ลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาเพียงประมาณร้อยละ 20 เท่านั้น

ทำให้กรรมการแพทยสภาไม่ได้เป็นผู้แทนของสมาชิกส่วนใหญ่โดยแท้จริง  ส่งผลให้ปัญหาของแพทย์สะสม ไม่ได้รับการแก้ไข กระทบถึงชีวิตและสุขภาพของคนไทยในระบบการแพทย์ที่มีสภาพดังกล่าว

   

ซึ่งคณะกรรมการแพทยสภาได้ให้ทุนแก่ อจ.ดร.ศิริวรรณศิริบุญ แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ทำการวิจัยหาสาเหตุว่าเหตุใดสมาชิกแพทยสภาจึงให้ความสนใจลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาน้อยมาก

เพื่อหาทางแก้ไข โดยมีการสรุปข้อค้นพบจากการวิจัยปรากฎว่า แพทย์ร้อยละ 28 ไม่ได้รับบัตรเลือกตั้ง แพทย์ร้อยละ27  ไม่มีเวลา แพทย์ร้อยละ 27  ลืมส่งบัตรเลือกตั้งหรือทำบัตรหาย

พร้อมมีข้อเสนอจากการวิจัยเพื่อให้สมาชิกใช้สิทธิ์เลือกตั้งสูงขึ้นและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาแพทยสภา ได้แก่ ควรให้เลือกตั้งผ่านระบบ ITหรือออนไลน์ ที่มีการรักษาความลับ ร้อยละ 44  ควรจะประชาสัมพันธ์หลายๆครั้ง/บ่อยๆ ร้อยละ 54

ควรกระตุุ้นผ่านระบบ IT ร้อยละ 48  และมีข้อเสนออื่นๆ  ควรมีหน่วยเลือกตั้งเคลื่อนที่หรือมีหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่อื่นๆ ควรให้มีกรรมการที่มีโควต้าจากระดับจังหวัดเป็นต้น 

ควรมีทางเลือกในการใช้สิทธิได้ทั้งใช้บัตรเลือกตั้งและใช้สิทธิผ่านระบบ IT และฐานข้อมูลสมาชิกต้องได้รับการปรับปรุงให้มีความครบถ้วนและทันสมัย

จึงควรปรับเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาใหม่  ที่เราเสนอคือขณะนี้เป็นยุค Thailand 4.0, ยุค disruptive technology, AI, Big Data ควรมีการเลือกตั้งแบบออนไลน์ ซึ่งสามารถทำได้อย่างรวดเร็วในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่จะถึงนี้ 

มีเวลาอีก 4  เดือนก่อนจะถึงกำหนดของการดำรงตำแหน่งของกรรมการแพทยสภาชุดปัจจุบัน(เดิม) จะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2562  

เหตุที่มายื่นเสนอต่อ รมว.กระทรวงสาธารณสุข เพรา รมว.มีตำแหน่งเป็นสภานายกพิเศษซึ่งมีอำนาจตามมาตรา 25 แห่ง พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ 2525 และเป็นการทำตามสิทธิของสมาชิกแพทยสภา ตาม มาตรา 12 ( 2 )

ทั้งนี้  ระบบลงคะแนนเสียงออนไลน์ จะสามารถปลดล็อคปัญหานี้ได้  แพทยสภายังสามารถประหยัดงบการจัดการเลือกได้จำนวนมาก

แถมนำเอางบมาใช้ประชาสัมพันธ์ให้แพทย์รับรู้อย่างทั่วถึง โดยใช้บทเรียนที่น่าละอาย จากการจัดประชุมแพทยสภา 50 ปี ที่บกพร่องเรื่องประชาสัมพันธ์ อย่างมาก 

รวมทั้ง ป้องกัน การสวมสิทธิ หรือการทุจริต ที่เกิดจาก “คน” ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งได้อีกด้วย !

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

 

ก็อปปี้ ลิ้งค์ข่าวสั้นๆ ได้ที่นี่   :   

[ https://medhubnews.com/ดูบทความ-28442-กลุ่มพลังแพทย์ยื่นหนังสือรัฐมนตรีเปลี่ยนใช้เลือกตั้งออนไลน์ ]

03 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 4887 ครั้ง

Engine by shopup.com