ตีข่าวให้สังคมสับสน "ศจย." อ้าง. WHO ประกาศให้ทุกประเทศคุมบุหรี่ไฟฟ้า
ตีข่าวให้สังคมสับสน "ศจย." อ้าง. WHO ประกาศให้ทุกประเทศคุมบุหรี่ไฟฟ้า
MED HUB NEWS - กรณี พญ.เริงฤดี ปธานวนิช รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวถึงกรณีการห้ามนำเข้าและจำน่ายบุหรี่ไฟฟ้าว่า
องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ได้มีการประชุมและทบทวนมาตรการต่างๆ ในประเด็นทางสุขภาพตลอด โดยล่าสุดเมื่อการประชุมในเดือนตุลาคมผ่านมา
ยังมีคำแนะนำสำหรับมาตรการในการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า โดยสนับสนุนให้ทุกประเทศควบคุมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และควบคุมการโฆษณา การทำการตลาดเพื่อลดการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า
ประเด็นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้านั้น มักจะมีข้อถกเถียงถึงประเด็นเรื่องความปลอดภัยเมื่อเทียบกับบุหรี่มวนเสมอ
ซึ่งพบว่างานวิจัยจำเป็นต้องใช้เวลานาน เช่นเดียวกับบุหรี่มวนที่กว่าจะทราบถึงอันตรายใช้เวลานานหลายสิบปี
“คำถามเรื่องบุหรี่ไฟฟ้ามี 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1.อันตรายกว่าบุหรี่มวนจริงหรือไม่ 2.ทำให้เลิกบุหรี่มวนได้จริงหรือไม่
และ 3.นำไปสู่การสูบบุหรี่มวนมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งการพิจารณามาตรการใดๆ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า ต้องคำนึงถึงคำตอบของทั้ง 3 ประเด็นนี้
โดยใช้ข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัยที่ชัดเจน โดยพบว่า มีงานวิจัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนมาก
แต่การที่หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะองค์การอนามัยโลก หรือหน่วยงานภาครัฐ จะนำมาใช้อ้างอิงหรือ ออกเป็นแนวทางปฏิบัติได้ต้องยึดงานวิจัยที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ถูกต้องตามระเบียบการวิจัย” พญ.เริงฤดี กล่าว
พญ.เริงฤดี กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นแรก บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายมากหรือน้อยกว่าบุหรี่มวนนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้อย่างชัดเจน แม้บุหรี่ไฟฟ้าจะไม่มีสารจากการเผาไหม้ใบยาสูบ แต่ก็มีสารเคมีอื่นที่ไม่มีในบุหรี่มวน
โดยบุหรี่ไฟฟ้ามีเคมีอันตราย 6 กลุ่ม อาทิ สารก่อมะเร็ง โลหะหนัก สารแต่งกลิ่น อนุภาคที่ทำให้เกิดพิษที่ปอด และมีนิโคตินสูงกว่าบุหรี่แบบมวน เมื่อเทียบกับมวนต่อมวน
ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยหรืออันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน ซึ่งขณะนี้ยังคงมีการติดตามสุขภาพของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อสรุปถึงอันตรายที่จะได้รับด้วย
พญ.เริงฤดี กล่าวว่า ประเด็นที่ 2 บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เลิกบุหรี่มวนได้หรือไม่ พบว่า นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทบทวนงานวิจัยจำนวน 37 งานวิจัยที่เป็นไปตามระเบียบงานวิจัย เพื่อหาความสัมพันธ์กับอัตราการเลิกบุหรี่มวน
โดย 80% ของงานวิจัยชี้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยเลิกบุหรี่มวน และยังทำให้เลิกบุหรี่มวนได้น้อยลง และประเด็นที่ 3 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา หรือ FDA สหรัฐฯ ได้วางกฎระเบียบเพื่อห้ามทำการตลาดบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
พบว่า เด็ก ม.ปลาย มีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เมื่อเก็บข้อมูลต่อเนื่อง 3 ปี พบว่าเด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีการสูบบุหรี่มวนมากขึ้น 3-7 เท่า วิเคราะห์ว่า เนื่องจากเด็กเคยชินกับกลิ่น ควัน วิธีการสูบ ทำให้หันไปสูบบุหรี่มวนได้มากขึ้น
“สำหรับในประเทศไทย มีการเก็บสถิติของกลุ่มเยาวชน โดยเด็ก ม.ปลาย ในเขตเมือง มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 30% และเมื่อเข้ามหาวิทยาลัย ก็ยังยิ่งเพิ่มอัตราการสูบมากขึ้น
และจากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 พบว่า อายุเฉลี่ยในการเริ่มสูบบุหรี่ต่ำกว่า 20 ปีนั้น อยู่ที่ 80% และ มากกว่า 60% กลายเป็นผู้สูบประจำหลังจากเริ่มสูบครั้งแรกในเวลา 1 ปี
ดังนั้น ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรการป้องกันเยาวชนอย่างจริงจังมากขึ้น โดยเน้นไปที่การควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าด้วยเช่นเดียวกัน เพราะไม่สามารถปล่อยให้เยาวชนไทยเสี่ยงกับการติดบุหรี่
ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม ( MEDHUBNEWS.COM ) และ เพจ sasook รายงานว่า นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่าย ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า "ลาขาดควันยาสูบ End Cigarette Smoke Thailand (ECST)"
แสดงความคิดเห็นผ่านทางเพจ sasook ว่า who ไม่เคยประกาศให้แบน แต่บอกให้แต่ละประเทศไปดูแลกันเอง ตั้งแต่ cop7 ละ จนมา cop8 ก็ไม่มีมติหรือคำสั่งอะไรเลยเรื่องนี้นะแถมบอกยกยอดไปคุยกันอีก 2 ปีข้างหน้าที่เนเธอร์แลนด์
จะบอกว่า cop8 ที่ผ่านมาที่ประชุมกันเมื่อ 1-6 ตุลาเนี่ยเค้ามีถ่ายทอดสดการประชุมไปทั่วโลกนะฮะ ผมยังรู้เลยว่าทีมไทยไปค้านไม่ยอมให้เค้าถ่ายทอดสดน่ะ......
แหม่แล้วถ้า who มีคำสั่งจริงทำไมนิวซีแลนด์กับอีกหลายๆประเทศแถลง statement ของตัวเองยืนยันใข้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อ smoke free city ล่ะครับ ยิ่ง NZ นี่พูดก่อนไทยไม่กี่ประเทศเองนะ ถ้าอยู่ในห้องประชุมเดียวกันน่าจะได้ยิน เว้นไม่ตั้งใจฟัง
ขณะที่ นายอาสา ศาลิคุปต์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าฯ แสดงความคิดเห็นเช่นกันว่า "โห ทบทวนงานวิจัย 37 ขิ้น แล้วที่เหลืออีกหลายพัน(หรือหมื่น)ชิ้น ไม่พูดถึง แล้ว 80% จาก 37 และเอาสถิติมายันกันไหมครับ เพราะความจริง เด็กที่เวปโดยไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนมีแค่ 0.1% เท่านั้น นี่รวมนับที่เวปครั้งเดียวด้วยแล้วนะ
เรื่องอันตรายเมื่อเทียบกับบุหรี่ที่มีการสันดาปยิ่งเห็นชัด ส่วนเด็กมหาวิทยาลัย นั่นไม่ใช่เด็กแล้ว อายุเกิน 18 แล้ว โดยนิตินัย ถือเป็นผู้ใหญ่แล้วครับ
ถ้าเมืองนอก อายุครบ 17 เค้าไล่ออกนอกบ้านไปหางานทำเองแล้ว ว่างวันไหน อัญเชิญคุณหมอมาคุยแบบเปิดสาธารณะหน่อยครับ"
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
27 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 3812 ครั้ง