"เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า" โต้ "หมอเริง" ศจย. อย่าด่วนสรุปทำ "เด็กติดบุหรี่มวน"
"เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า" โต้ "หมอเริง" ศจย. อย่าด่วนสรุปทำ "เด็กติดบุหรี่มวน"
MED HUB NEWS - หลังจาก พญ.เริงฤดี ปธานวนิช รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวข้อความเท็จทำให้สังคมสับสน กรณีการห้ามนำเข้าและจำน่ายบุหรี่ไฟฟ้า โดยแอบอ้าง องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ประกาศให้ทุกประเทศควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าโต้ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) อย่าด่วนสรุปบุหรี่ไฟฟ้าทำเด็กติดบุหรี่มวน
เผยองค์การอนามัยโลกชี้ยังสรุปไม่ได้ และแนะนำให้หามาตรการควบคุมหรือจำกัดการขาย-การใช้เพื่อป้องกันเยาวชน หลายประเทศยกเป็นแนวทางเพื่อการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่จริง
เพราะมีรายงานยืนยันปลอดภัยกว่าบุหรี่มวนและไม่ได้ทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ พร้อมย้ำหากต้องการจำกัดการเข้าถึงของเยาวชน ผลิตภัณฑ์ต้องถูกกฎหมายจะได้ใช้มาตรการควบคุมตาม พรบ. ยาสูบ ได้
นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)” และเฟสบุ๊คเพจ “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เผยว่า “จากคู่มือพื้นฐานด้านนโยบายการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ปี 2018 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสาเหตุของการติดบุหรี่ในเด็กและเยาวชน
จากผลสำรวจของ ศจย. ที่พบว่ามีเยาวชนใช้บุหรี่ไฟฟ้าถึง 30% ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าที่ถูกแบนอยู่ เป็นเพราะว่าสามารถแอบหาซื้อได้ตามร้านใต้ดิน แสดงว่าการแบนไม่ใช่มาตรการการป้องกันเยาวชนที่เหมาะสมแต่อย่างใด
สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ ( Public Health England : PHE ) ซึ่งสนับสนุนการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกเคยระบุว่า อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำในกลุ่มเยาวชนที่ไม่สูบบุหรี่มีจำนวนน้อยมาก ในทางตรงกันข้ามอัตราผู้สูบบุหรี่อังกฤษลดลงต่ำสุดในรอบ 10ปี ที่ 15.1%
โดยกว่า 1.7 ล้านคนใช้บุหรี่ไฟฟ้าในการช่วยเลิกบุหรี่มวน สอดคล้องกับดร. แบรด โรดู นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันวิจัยมะเร็งเจมส์ เกรแฮมบราวน์ ชี้แจงการทดลองบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไม่ได้แปลว่าบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เยาวชนหันมาติดบุหรี่”
ด้าน นายมาริษ กรันยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายฯ เสริมว่า “ในคู่มือยังระบุด้วยว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า ควรได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม
โดยหน่วยงานสาธารณสุขจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูล ศึกษาผลการวิจัย ข้อดีข้อเสียที่จะได้จากบุหรี่ไฟฟ้า จะได้ตัดสินใจวางมาตรการที่เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ WHO แนะนำว่าการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบใหม่ๆทำได้หลายแนวทาง
ขึ้นกับความอันตรายและความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ บุหรี่ไฟฟ้ามีผลการศึกษายืนยันว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน รัฐบาลก็ไม่ควรแบน
แต่นำมาควบคุมภายใต้ พรบ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับล่าสุดได้ เช่น ห้ามการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า ห้ามการซื้อขายออนไลน์ หรือกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้อ เป็นต้น”
“ในวันที่ 31 ต.ค. เครือข่ายฯได้รับเชิญให้ร่วมให้ความคิดเห็นเพื่อทบทวนมาตรการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ซึ่งเราต้องขอบคุณภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และรับฟังเสียงจากภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากว่า 3 แสนคนในประเทศ
ที่ไม่อยากถูกบังคับให้กลับไปใช้บุหรี่ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า” นายมาริษ สรุป
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
27 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 3205 ครั้ง