“เมย์ บัณฑิตา” หนุนให้สื่อมีมารยาท หลังนำข้อความนายชูชาติบนเฟสบุ๊คลงข่าว
“เมย์ บัณฑิตา” หนุนให้สื่อมีมารยาท หลังนำข้อความนายชูชาติบนเฟสบุ๊คลงข่าว
MED HUB NEWS - กรณีดราม่าระหว่างสื่อดัง เว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ กับ อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ประเด็น มารยาท และมีจรรยาบรรณของความเป็นสื่อมวลชน
ล่าสุดมีดารานักแสดงชื่อดัง คุณเมษ์ อรวรรษา หรือ เมย์ บัณฑิตา ฐานวิเศษ ได้ระบุใน เฟสบุ๊ค Nattida Thanwiset “ขออนุญาตแชร์นะคะ ข้อคิดดีๆที่ช่วยพยุงให้สังคมเราน่าอยู่ขึ้น”
ทั้งนี้ นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความลงเฟสบุ๊คส่วนตัว “Chuchart Srisaeng” ถึงประเด็นต่างๆ ที่มีกระแสในช่วงนั้น ซึ่งนายชูชาติตั้งค่าสาธารณะไว้
นายชูชาติ ศรีแสง ระบุว่า สื่อมวลชนทั้งหลายไม่ว่า สื่อออนไลน์หรือหนังสือพิมพ์ ขอความกรุณามีมารยาทและมีจรรยาบรรณของความเป็นสื่อมวลชนด้วย
ข้อความที่ผมโพสต์ในเฟสบุ๊คเป็นเรื่องส่วนตัวของผม สื่อมวลชนทั้งหลายไม่มีสิทธินำไปลงเพื่อเป็นประโยชน์ในธุรกิจการแสวงหากำไรของท่าน
กล่าวเฉพาะข่าวสด ที่นำโพสต์ที่ผมเขียนลงในเฟสบุ๊ควันนี้ไปลงและมีคนเข้ามาด่าผมอย่างหยาบคายทำให้ผมได้รับความเสียหายนั้น
นอกจากไม่ขออนุญาตแล้ว ยังระบุตำแหน่งในอดีตของผิดด้วย แสดงให้เห็นว่ามีเจตนาชัดเจนที่ต้องการให้ผมได้รับเสียหาย
ผมไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด จึงขอให้ผู้บริหารข่าวสดที่รับผิดชอบในการนำข้อความที่ผมโพสต์ในเฟสบุ๊คไปลง กรุณาลบข้อความเสียด้วย
แต่ถ้ายังไม่ดำเนินการตามที่ผมขอร้องด้วยดี ผมก็คงต้องใช้สิทธิที่ผมมีอยู่ตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ประเด็นดังกล่าวมีข้อถกเถียงมากมายว่า แท้จริงแล้วเฟสบุ๊ค เป็นพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่สาธารณะ
จากการตรวจสอบพบว่าในระดับการสื่อสารยุคดิจิตอล นักวิชาการด้านการสื่อสารยอมรับไปในแนวทางเดียวกันว่า สื่อยุคดิจิตอลมีการพัฒนาในลักษณะยอมรับว่าเฟสบุ๊ค เป็นพื้นที่ที่มีทั้งอาณาบริเวณที่เป็น "ส่วนตัว" และ "สาธารณะ"
ทั้งนี้ตัวผู้ใช้ หรือ ผู้ใช้งานบัญชีเฟสบุ๊ค จะกำหนดผ่านการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวว่าจะให้เนื้อหาส่วนไหนเป็นส่วนตัว และส่วนไหนเป็นสาธารณะ
บางคนอยากให้ข้อความบนเฟสบุ๊คเป็นส่วนตัวจริงๆ เก็บไว้คนเดียวสามารถเลือกค่าความเป็นส่วนตัวแบบ “only me” คือคุณเห็นของคุณคนเดียว โพสต์เอง เห็นเองคนเดียว
การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้กับแต่ละโพสต์ สามารถใช้งานผ่านองค์ประกอบการใช้งานของเฟสบุ๊คที่มีชื่อว่า “audience selector” ข้างปุ่ม “post”
โดยค่าความเป็นส่วนตัวที่เฟสบุ๊คกำหนดไว้ให้เลือกใช้นั้นแบ่งเป็นให้เห็นเฉพาะ “เพื่อน” หรือ กำหนดให้ “เพื่อนของเพื่อนเห็นได้ด้วย
รวมทั้งกำหนดบุคคล หรือ รายการ ( specific people or lists ) เฉพาะบุคคลหรือ กลุ่มที่อยากให้รู้ , กำหนดให้เห็นเฉพาะแค่ฉัน only me หรือ แม้กระทั่ง “ซ่อนสิ่งนี้จาก ( hide this from )” บุคคลที่ผู้ใช้ไม่อยากให้เห็นก็ทำได้
และ แบบที่เปิดเผยคือ “สาธารณะ ( public )” อันจะทำให้ผู้ใช้เฟสบุ๊คคนไหนก็สามารถเห็นได้
สำหรับนโยบายการใช้ข้อมูลของเฟสบุ๊ค ได้กำหนดไว้ว่า สิ่งที่ถูกโพสต์และแชร์รวมทั้งคอมเมนต์นั้นถือเป็นเป็น “information” อย่างหนึ่งที่เฟสบุ๊คได้รับจากผู้ใช้
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว หากเราตั้งค่าการโพสต์สิ่งต่างๆ ให้มีค่าความส่วนตัวเป็นสาธารณะ ( public ) สิ่งนั้นย่อมถูกจัดเป็น “public information” ตามนโยบายการใช้ข้อมูลของเฟสบุ๊ค
ดังนั้นสิ่งที่ถูกโพสต์และแชร์นั้นสามารถปรากฏแก่ทุกคนบนโลกออนไลน์
( Choosing to make your information public is exactly what it sounds like: anyone, including people off of Facebook, will be able to see it.)
ส่วนกรณีดราม่าดังกล่าวนั้น อยากให้นำเอา นโยบายการใช้ข้อมูล ( Data Use Policy ) ของเฟสบุ๊ค ไปร่วมตัดสินด้วยเพื่อความยุติธรรม
ภาพจากเฟสบุ๊ค Nattida Thanwiset , Chuchart Srisaeng
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
18 พฤศจิกายน 2561
ผู้ชม 3782 ครั้ง