เทรนด์ปี 2020 "Sports Medicine" คนรักสุขภาพมากขึ้น เล่นกีฬา ต้องดูแล รักษา ฟื้นฟู กายภาพนักกีฬาด้วย
เทรนด์ปี 2020 "Sports Medicine" คนรักสุขภาพมากขึ้น เล่นกีฬา ต้องดูแล รักษา ฟื้นฟู กายภาพนักกีฬาด้วย
การท่องเที่ยวเชิงกีฬา MED HUB NEWS - หากมีปัญหาสุขภาพ เช่น วิ่งแล้วปวดหน้าแข้ง เล่นโยคะแล้วปวดหลัง ออกกำลังเหงื่อออกเยอะ ๆ ผอมแน่จริงหรือ วิ่งแล้วหัวเข่าจะเป็นอะไรไหม
ไม่ว่าจะออกกำลังกายเพื่อการพักผ่อน ลดน้ำหนัก หรือเล่นแบบเป็นจริงเป็นจัง
สิ่งที่เรามักจะกังวลเสมอคือการบาดเจ็บ เล่นอย่างไรไม่ให้ ‘เจ็บ’ คำถามยอดฮิตของคนเล่นกีฬา ที่วันนี้เราสามารถหาคำตอบ ได้ง่ายๆ
บนมือถือจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาและเวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ประจำ โรงพยาบาลพญาไท 2 และแพทย์ประจำทีมชาติไทยได้ทันที
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ผศ.นพ.ณัฏฐา กุลกำม์ธร ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา ( Sports Medicine ) สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2
ซึ่งเป็นแพทย์ประจำทีมชาติกีฬา ฮอกกี้น้ำแข็งและมวย กล่าวว่า “ไลน์เป็นช่องทางที่คนไทยคุ้นเคย แทบทุกคนแชทผ่านไลน์ ไม่ว่าจะอยู่ ส่วนไหนของโลกก็สามารถสอบถาม พูดคุยกับหมอได้ทันที
หมอที่ตอบคำถามเป็นแพทย์เฉพาะทางทั้งด้าน เวชศาสตร์การกีฬา เวชศาสตร์ฟื้นฟู และกายภาพบำบัดโดยตรง ส่วนนี้เป็นการบริการเพื่อสังคมของพญาไท 2 ที่มุ่งดูแลสุขภาพของทุกคนในสังคม”
คำถามที่พบบ่อยได้แก่ การปฏิบัติตัวก่อนและหลังออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัดสำหรับแต่ละ อาการบาดเจ็บ การกลับไปเล่นกีฬาหลังจากการบาดเจ็บ และการออกกำลังกายจะทำให้ข้อเสื่อมมากขึ้น หรือไม่
อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายที่พบมากที่สุด ?
ในแต่ละกีฬาที่เล่นจะมีลักษณะอาการบาดเจ็บที่เฉพาะเจาะจงกันไป แต่ถ้าสังเกตง่าย ๆ ข้อไหล่และข้อเข่า มักเป็นบริเวณที่เกิดอาการบาดเจ็บค่อนข้างสูงในแทบทุกกีฬา
ถ้าให้ตอบจากประสบการณ์ ในการเป็นแพทย์ ประจำทีมชาติ การบาดเจ็บที่พบบ่อย ได้แก่ เอ็นหัวไหล่อักเสบ เอ็นหัวเข่าอักเสบ เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ การบาดเจ็บจากการวิ่งและการปั่นจักรยานที่เป็นกีฬายอดฮิต
สาเหตุของอาการบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยใดบ้าง
สาเหตุการบาดเจ็บแบ่งเป็น 2 ปัจจัย 1 ปัจจัยภายในของตัวนักกีฬาเอง เช่น ความไม่เหมาะสมของรูปร่างหรือโครงสร้างของนักกีฬา
การอบอุ่นหรือการเตรียมร่างกายที่ไม่เพียงพอ ความเหนื่อยล้าสะสม เทคนิคและวิธีเล่นของแต่ละคน และการบาดเจ็บในอดีตของนักกีฬา
2 ปัจจัยภายนอก เช่น การฝึกซ้อมที่ไม่เหมาะสม ความบกพร่องของสถานที่ อุปกรณ์แข่งขัน สภาพอากาศและความชื้น การเล่นของคู่แข่งขัน การเร่งเร้าจากกองเชียร์ และลักษณะเฉพาะการเล่น ของแต่ละกีฬา
สัญญาณใดที่จะบ่งบอกว่าอาการบาดเจ็บนั้นมีแนวโน้มอันตราย ส่งผลต่อชีวิต ต่อการสูญเสียอวัยวะ หรืออาจนำไปสู่การสูญเสียสมรรถภาพการเล่นกีฬาและการเคลื่อนไหวร่างกาย และยากต่อการฟื้นฟู
สัญญาณอันตรายที่ควรหยุดเล่นทันที คือ บาดเจ็บต่อศีรษะ หมดสติ หรือ มีอาการทางระบบประสาท เช่น ชักเกร็ง อ่อนแรง เสียการทรงตัว กระดูกหักหรือข้อเคลื่อนหลุด บาดเจ็บต่อช่องอก
มีอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอกมาก บาดเจ็บต่อช่องท้อง มีอาการปวดท้องมาก อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
การบาดเจ็บที่ตา บาดแผลลึกมีเลือดออกมาก มีอาการปวดมากแม้อยู่นิ่ง ๆ หรือ หลังการพักการเคลื่อนไหวของบริเวณที่บาดเจ็บ
เมื่อเกิดอาการข้างต้นควรเข้าโรงพยาบาลทันที แต่หากมีอาการปวดบวมที่ไม่หายด้วยการพักการใช้งาน และปฐมพยาบาลภายใน 3 วัน ควรไปปรึกษาแพทย์
หากเกิดอาการบาดเจ็บขณะออกกำลังกายควรทำอย่างไร "กลุ่มที่มีอาการบาดเจ็บเฉียบพลัน คือ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทันทีหลังเล่นกีฬาหรือเกิดการกระแทก
หลักการปฐมพยาบาลง่าย ๆ คือ RICE R = rest (พัก) คือ พักในส่วนที่บาดเจ็บหรือหยุดเล่นในทันที
I = ice ( น้ำเเข็ง) คือ การนำน้ำแข็งมาประคบในส่วนที่บาดเจ็บทันที C = compression (รัด) คือ การหาผ้ามารัด E = elevation (ยก) คือยกส่วนที่บาดเจ็บนั้นให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้บวมมากขึ้น"
สำหรับเทรนด์ปี 2020 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา กำลังจะกลายเป็นเทรนด์ต่อเนื่อง สำหรับคนรักสุขภาพ จากนโยบายของพรรคภูมิใจไทยที่สนับสนุน การท่องเที่ยวเชิงกีฬา !
ลิ้งค์อ่านบทความ : "Sports Medicine" ไขปัญหาอาการบาดเจ็บจากกีฬา ออกกำลังกาย ตอนจบ
[ https://medhubnews.com/ดูบทความ-31443-sportsmedicineไขปัญหาอาการบาดเจ็บจากกีฬา ]
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
11 ตุลาคม 2562
ผู้ชม 5236 ครั้ง