"ผู้กำหนดนโยบาย WHO" ชี้สั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าขัดหลักสิทธิมนุษยชน หากผู้บริหารระดับการเมืองแทรกแซง
"ผู้กำหนดนโยบาย WHO" ชี้สั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้าขัดหลักสิทธิมนุษยชน หากผู้บริหารระดับการเมืองแทรกแซง
MED HUB NEWS - กรณีที่ “ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu” เรียกร้องให้ประเทศในเอเชียพิจารณาบุหรี่ไฟฟ้า หรือ ผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อลดอันตรายจากยาสูบ ที่จะส่งผลต่อสุขภาพ ก่อโรคมะเร็ง
ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม ( MEDHUBNEWS.COM ) และ เพจ sasook รายงานว่า ล่าสุดในทวิตเตอร์ ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu จากสถาบัน Lee Kuan Yew School of Public Policy National University of Singapore ได้กล่าวถึงนโยบายสาธารณสุขในเอเชีย
จากการทำงานในหลายๆ ประเทศ พบว่าประเทศอินโดนีเซียมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ถึง 20-25% มาจากอุตสาหกรรมยาสูบ
ดังนั้นปัญหาด้านสาธารณสุขของอินโดนีเซีย มักจะมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งทำให้ความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ลดน้อยลง
ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า นโยบายด้านสาธารณสุขอินโดนีเซีย จะไม่แข็งแรงเท่ากับประเทศอื่น ๆ แม้ในบางเรื่องจะปรับตัวทันต่อสถานการณ์โลก
เนื่องจาก ผู้บริหารระดับการเมือง มีความสนใจที่จะแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่าปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งหากเกิดปัญหาการแทรกแซงแบบนี้จะทำให้ระบบสาธารณสุขล้าหลัง
โดย ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu ระบุว่า "ในรัฐบาลอินโดนีเซีย ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจมากขึ้นกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข”
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu กล่าวในที่ประชุม AHRF2018 ณ กรุงมะนิลาต่อสื่อมวลชนเอเชีย และ นักวิชาการ ผู้สนใจศึกษานวัตกรรม การลดอันตรายจากยาสูบ
ด้วยการแสดงความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งว่า การห้ามไม่ให้ผู้สูบบุหรี่เข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่ลดอันตราย เป็นนวัตกรรมใหม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และอาจขัดต่อสิทธิมนุษยชนอีกด้วย
สำหรับความเคลื่อนไหวในประเทศเอเชีย พบว่า หลังจากศาสตราจารย์ Tikki Pangestu ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง
การลดอันตรายจากยาสูบ ไปแล้ว หลายๆ ประเทศได้มีการนำปัญหาดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อกำหนดนโยบายด้วยความรอบคอบ
ทั้งเรื่องเยาวชน และ การควบคุมให้ได้ผลในทางปฏิบัติ แต่ไม่ควรแบน เนื่องจากเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพของประชากรชาวเอเชีย และภาพลักษณ์ต่อประชาคมโลก จนนำมาซึ่งความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ
ซึ่งการทำงานในปัจจุบัน ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้จัดอันดับให้ศาสตราจารย์ Tikki เป็นบุคลากรยอดเยี่ยม ในฐานะนักวิชาการของ Lee Kuan Yew of Public Policy
และ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ช่วงที่ ศาสตราจารย์ Tikki ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบายและความร่วมมือองค์การอนามัยโลก ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย
เขาตั้งใจจะนำเอาองค์ความรู้มาพัฒนาประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดนโยบายด้านภูมิคุ้มกันวิทยา ,นโยบายด้านระบาดวิทยา, โรคติดเชื้อ
และ สนับสนุนให้นำนโยบายการวิจัยด้านสุขภาพมาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้รัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายระดับประเทศในภูมิภาคเอเชีย
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
05 มกราคม 2564
ผู้ชม 6125 ครั้ง