"กรมวิทย์" จับมือเอกชนวิจัย "มอสด๊อบ ทีบี" กำจัดลูกน้ำยุงลาย เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม การค้าการลงทุน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทความ

"กรมวิทย์" จับมือเอกชนวิจัย มอสด๊อบ ทีบี ( MOSDOP TB ) กำจัดยุง

ปัญหาโรคระบาดที่เกิดจากยุงลาย กลายเป็นปัญหาด้านระบาดวิทยาระดับโลก ซึ่ง ผลงานนวัตกรรมป้องกันกำจัดลูกน้ำยุงชนิดเม็ดจากสารไดฟลูเบนซูรอน 

ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับการประกาศในบัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับเพิ่มเติมเดือนตุลาคม 2561 

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม ( MEDHUBNEWS.COM ) และ เพจ sasook รายงานว่า  นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึง ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย กำหนดนโยบายที่จะใช้ความรู้วิทยาศาสตร์นวัตกรรมมาแก้ปัญหาโรคติดต่อสำคัญของประเทศ

เช่น ไข้เลือดออก ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมวิจัยกับภาคเอกชนไทย คือ บริษัท โปรเจ็คฟิลด์ จำกัด พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดลูกน้ำยุงชนิดเม็ด มอสด๊อบ ทีบี ( MOSDOP TB )

โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากโครงการ ITAP กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนได้รับการจดทะเบียนในบัญชีนวัตกรรมไทย และประกาศสู่สาธารณะโดยสำนักงบประมาณ เมื่อเดือนตุลาคม 2561

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนวิชาการในการพัฒนานวัตกรรมโดย นายแพทย์สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และนายอภิวัฏ ธวัชสิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม

สำหรับ มอสด๊อบ ทีบี ( MOSDOP TB ) เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดลูกน้ำยุงชนิดเม็ดจากสารไดฟลูเบนซูรอน ( diflubenzuron )

ซึ่งเป็นสารที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุงโดยออกฤทธิ์ในการยับยั้งการสังเคราะห์สารไคติน ( chitin ) ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างผนังลำตัวแมลง ทำให้ลูกน้ำยุงไม่สามารถเจริญเป็นยุงตัวเต็มวัยได้และตายในที่สุด

ทั้งนี้ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะ ได้แก่ ไข้เลือดออก ไข้ซิกา และไข้ชิคุนกุนยา

มอสด๊อบ ทีบี มีอัตราการใช้ 1 เม็ด ต่อ น้ำ 200 ลิตร โดยสารออกฤทธิ์ไดฟลูเบนซูรอน จะค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ ทำให้ป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายได้นาน 3 เดือน

ผลการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นี้ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการนานาชาติด้าน สุขภาพ และสาธารณสุขแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หรือ Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health  ( The Southeast Asian journal of tropical medicine and public health 44(5):753-60 · September 2013 )

และได้รับการขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. ) เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่สำคัญคือเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยคนไทยและมีภาครัฐ ให้การสนับสนุนวิชาการจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้

 

ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

จึงได้มีการจัดจำหน่ายโดย บริษัท โปรเจ็คฟิลด์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ริเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-791-2999

สำหรับจุดยืนของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนนโยบายประชารัฐในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการไทย ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ

และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของไทยให้สามารถผลิตสู่เชิงพาณิชย์ อย่างมีมาตรฐานในระดับที่เชื่อถือได้ และสามารถทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

ซึ่งที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งเสริมงานวิจัยจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในบัญชีนวัตกรรมไทย 3 รายการ คือ ผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดลูกน้ำยุงลายชนิดเกล็ดซีโอไลท์

กับดักไข่ยุงลีโอแทรป ( LeO-Trap ) และชุดตรวจสอบความผิดปกติของยีน ( Alpha-thalassemia 1 ) 

ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมโรคไข้เลือดออกของประเทศ มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนปลอดภัยจากไข้เลือดออกมากขึ้น

โดยเป็นผลงานของ 2 อดีตอธิบดี คือ นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย และ นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

18 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 4117 ครั้ง

Engine by shopup.com