"Sports Medicine" ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ไขปัญหาอาการบาดเจ็บจากกีฬา เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม การค้าการลงทุน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทความ

"ไขปัญหา" อาการบาดเจ็บจากกีฬา ออกกำลังกาย แนวทางการักษา

MED HUB NEWS หลังจากได้นำเสนอเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพ เช่น วิ่งแล้วปวดหน้าแข้ง เล่นโยคะแล้วปวดหลัง ออกกำลังเหงื่อออกเยอะ ๆ ผอมแน่จริงหรือ วิ่งแล้วหัวเข่าจะเป็นอะไรไหม ไม่ว่าจะออกกำลังกายเพื่อการพักผ่อน ลดน้ำหนัก หรือเล่นแบบเป็นจริงเป็นจัง

ที่วันนี้เราสามารถหาคำตอบ ได้ง่ายๆ บนมือถือจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาและเวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์ประจำ โรงพยาบาลพญาไท 2 และแพทย์ประจำทีมชาติไทยได้ทันที

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า ผศ.นพ.ณัฏฐา กุลกำม์ธร ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬา ( Sports Medicine ) สถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2

ระบุถึง "แนวทางในการรักษาอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย" ว่า  จะต้องประเมินอาการบาดเจ็บเพื่อเลือกวิธีรักษา แพทย์จะพูดคุยกับคนไข้เพื่อพิจารณาว่าคนไข้มีข้อบ่งชี้ที่ต้องผ่าตัด หรือไม่

กรณีที่ไม่ต้องผ่าตัด คนไข้ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง เช่น ไม่เล่นกีฬาในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เพิ่ม ระหว่างนั้นอาจมีการทำกายภาพบำบัดและฝึกกล้ามเนื้อเพื่อรักษาสภาพกล้ามเนื้อของตนเอง ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

สำหรับกลุ่มคนไข้ที่ไม่สามารถกลับมาเล่นกีฬาบางประเภทได้อีก อาจมีการเล่นกีฬาประเภทอื่น ที่ไม่กระทบต่อ อาการบาดเจ็บ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ส่วนกลุ่มต้องที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

โดยหลังจากผ่าตัดควรมีการดูแล ด้านร่างกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีการใช้งานได้ใกล้เคียงเหมือนปกติ

ปัจจุบันมีการนำนวัตกรรมการผ่าตัดรักษาด้วยการส่องกล้อง มาเป็นการผ่าตัดทางเลือกแรกของคนไข้ เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ไม่ต้องเปิดแผลใหญ่

เพราะการผ่าตัดส่องกล้องจะใช้การเจาะรู ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ต่อเนื้อเยื้อระหว่างทางที่จะเข้าไปซ่อมแซมน้อยลง

รวมทั้งลดพังผืดในบริเวณที่ผ่าตัด และการทำกายภาพ หลังการผ่าตัดส่องกล้องสามารถทำได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล ตลอดจนอาการเจ็บปวด หลังการผ่าตัดน้อยกว่า

ผู้ทีมีโรคประจำตัว เช่น ความดัน ไขมัน เบาหวาน โรคหัวใจ ข้อเสื่อม หรือผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนการออกกำลังกายเสมอ เนื่องจากแต่ละโรคมีข้อควรระวังที่ต่างกัน เช่น

ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ใช้กำลังมาก เช่น การแข่งขัน หรือการยกน้ำหนัก เนื่องจากจะไปเพิ่มภาระต่อระบบหัวใจและปอดมาก

ซึ่งมันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือหัวใจวายเฉียบพลัน อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ไม่ควรออกกำลังกายที่มีการกระแทกหรือลงน้ำหนักที่ข้อมากเกินปกติ เช่น กีฬาที่ต้องกระโดด หรือ ขึ้นลงบันได

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดอินซูลิน อย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังฉีด เพราะอินซูลินจะถูกดูดซึมสู่กระแสโลหิตเร็วเกินไป และอย่าออกกำลังในช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด

ผู้ป่วยโรคหอบ ควรพกยาขยายหลอดลมติดตัวเสมอ และต้องหยุดทันทีเมื่อมีอาการหอบกำเริบ

ผศ.นพ.ณัฏฐา อธิบายว่าเวชศาสตร์การกีฬา เป็นส่วนหนึ่งของวิชาออร์โธปิดิกส์ ที่ว่าด้วยเรื่องของ การป้องกัน วินิจฉัย และรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

รวมทั้งช่วยเสริมสมรรถภาพของนักกีฬา และคนธรรมดาทั่วไป เพื่อให้สามารถ เล่นกีฬาได้ดีขึ้น ทั้งนี้คุณหมอได้แนะนำทิปส์ดี ๆ ในการดูแลร่างกาย และระบบต่าง ๆ เพื่อเสริมสมรรถภาพการกีฬาว่าควรทำในทุกด้านอย่างสมดุล

ควบคุมอาหารและน้ำหนัก ควบคุมดัชนีมวลกาย ( BMI ) ให้คงที่ ปรับอาหารเพิ่มโปรตีน เพื่อเสริมสร้าง มวลกล้ามเนื้อ รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จำกัดอาหารไขมัน ทานเกลือแร่วิตามินเพียงพอ ต่อความต้องการร่างกาย

เพิ่มสมรรถภาพระบบไหลเวียนและความจุปอด ( Cardiorespiratory training ) โดยออกกำลังกาย Aerobic Exercise ติดต่อกันอย่างน้อย 20-30 นาที มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( Muscle strength and Endurance ) ทั้งกล้ามเนื้อแกนกลาง ( Core muscle ) กล้ามเนื้อรยางค์ ( Extremities muscle )

นอกจากนี้ เพิ่มความอ่อนตัวและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ( Flexibility ) โดยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อค้างไว้ ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มสมรรถภาพและลดการบาดเจ็บได้

ลดการดื่มแอลกอฮอล์และงดการสูบบุหรี่ หมั่นฝึกซ้อมทักษะเฉพาะสำหรับกีฬาแต่ละชนิด พร้อมกับอีก 2 ข้อสำคัญต้องเตรียม ก่อนออกกำลังกายอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง จากการบาดเจ็บ

วอร์มอัพ ( Warm Up ) ทุกครั้งก่อนการเล่นกีฬา โดยจะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที อาจเป็นการ วอร์มอัพด้วยการวิ่งเบา ๆ เพื่อให้เหงื่อซึม เพราะเมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น 1 องศา จะทำให้กล้ามเนื้อ มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อช่วยลดการเกิดอาการบาดเจ็บได้

สเตรทชิ่ง ( Stretching ) เหยียด ยืด กล้ามเนื้อ ก่อนการเล่นกีฬาเพื่อป้องกันการเกิดอาการบาดเจ็บ

ลิ้งค์อ่านบทความ : "Sports Medicine" ตอบโจทย์ทุกปัญหานักกีฬา - ออกกำลังกาย ตอนที่ 1 


[ https://medhubnews.com/ดูบทความ-31190-sportsmedicineตอบโจทย์ทุกปัญหานักกีฬานักออกกำลังกาย  ]

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

05 มกราคม 2564

ผู้ชม 4026 ครั้ง

Engine by shopup.com