"รพ.สุรินทร์" คว้ารางวัลพัฒนาแอป Thai COC ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
"รพ.สุรินทร์" คว้ารางวัลพัฒนาแอป Thai COC ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
MED HUB NEWS - คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลังจาก Thai Care Cloud พันธกิจเพื่อระบบฐานข้อมูลสุขภาพคนไทย โดยศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ ( Data Management and Statistical Analysis Center ชื่อย่อ DAMASAC ) เปิดตัวไปเมื่อช่วงต้นปี 2559
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม ( MEDHUBNEWS.COM ) และ เพจ sasook รายงานว่า เป็นผลงานของ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกรมการแพทย์ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ด้าน นายแพทย์ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุรินทร์ ให้สัมภาษณ์ว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก โดยในปี 2560 มีอัตราการครองเตียงเกินร้อยละ 107.72
จึงต้องมีการจัดเตียงสำรองเพิ่ม รวมทั้งการเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายให้กับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ห่างไกล จึงมีการส่งต่อผู้ป่วยมารับการรักษาจำนวนมาก
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่งผลให้เกิดความแออัด ต้องรอคิวรับการรักษานาน เกิดความไม่พึงพอใจต่อผู้รับบริการ และเมื่อทำการรักษาดีขึ้นแล้วผู้ป่วยสามารถกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้
ต้องทำการส่งต่อข้อมูลเพื่อดูแลรักษาต่อเนื่อง แต่เกิดปัญหาความล่าช้าของการส่งต่อข้อมูล ขาดการเชื่อมโยงไปยังหน่วยบริการในพื้นที่
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 87 ไม่สามารถเข้าถึงการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ได้รับการดูแลล่าช้า ไม่ทันการณ์ เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ถึงขั้นเสียชีวิต
โรงพยาบาลสุรินทร์ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คิดค้นและพัฒนาโปรแกรม Thai COC ขึ้นช่วยแก้ไขปัญหาการส่งต่อข้อมูลการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโปรแกรม Web Application ทำงานบน Thai Care Cloud (http://www.thaicarecloud.org) เพื่อใช้ในการส่งต่อข้อมูลและตอบกลับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ครบถ้วน ทุกกลุ่มโรค ทุกกลุ่มวัย ให้เชื่อมโยงข้อมูลหน่วยบริการทุกระดับ
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การทำงานเริ่มจากก่อนที่ผู้ป่วยจะออกจากโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะวางแผนและส่งข้อมูลของผู้ป่วยเข้าสู่โปรแกรม ข้อมูลจะถูกบันทึกและแจ้งเตือนทางไลน์โดยอัตโนมัติ
ทำให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขปลายทางนำข้อมูลไปพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย ในระหว่างที่พักรักษาตัวที่บ้าน เจ้าหน้าที่จะประสานผู้เกี่ยวข้อง/เครือข่าย
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าเยี่ยมผู้ป่วยและบันทึกข้อมูลด้วยโปรแกรม Thai COC (Mobile Application) สามารถควบคุมกำกับการทำงานได้แบบ real time ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรวดเร็ว ได้มาตรฐาน
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ลดความยากลำบากในการเดินทางของผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพึงพอใจทำให้ได้รับรางวัลเลิศรัฐ “ระดับดีเด่น” สาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ
ในงานสัมมนาวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นนวัตกรรมซอฟต์แวร์ด้านสุขภาพ ฐานข้อมูลสุขภาพ และบริการทางการแพทย์อิเล็คทรอนิกส์ของไทยที่มีประสิทธิภาพสูง โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปัจจุบันได้ขยายการใช้งาน โปรแกรม Thai COC ใน 39 จังหวัด มีเครือข่ายจำนวน 4,898 หน่วยงาน และดูแลผู้ป่วยแล้วทั้งสิ้น 292,155 ราย ( ข้อมูล ณ วันที่ 10 ต.ค. 2561 )
ทีมงานคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังคงพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค พัฒนาระบบโดยคนไทยเพื่อชาวไทย
โดยผู้ใช้งานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เป็นการยกระดับการดูแลสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลให้ก้าวทันสู่ยุค Thailand 4.0
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
26 พฤศจิกายน 2561
ผู้ชม 5567 ครั้ง