"สองหนุ่ม ม.หอการค้าไทย" คว้าชนะเลิศ ผลศึกษาวิจัย "สุขภาพจิตเยาวชนอาเซียน" เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์นวัตกรรม การค้าการลงทุน อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทความ

"สองหนุ่ม ม.หอการค้าไทย" คว้าชนะเลิศ ผลศึกษาวิจัย "สุขภาพจิตเยาวชนอาเซียน"

MED HUB NEWS - ปัจจุบัน  Data Science หรือ ศาสตร์แห่งการเก็บ และเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปสู่ความรู้ หลักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันของข้อมูล หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิทยาการข้อมูลนั้น

ถือเป็นเทรนด์ของโลกที่ปฏิเสธไม่ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของเยาวชน นักศึกษาทั่วภูมิภาคอาเซียน

ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิอาเซียน ( ASEAN Foundation ) ร่วมกับ บริษัทเอสเอพีจึงได้จัดการแข่งขัน “ASEAN Data Science Explorers 2018” ณ สิงคโปร์

ประกอบด้วยนักศึกษา 10 ประเทศจากอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ ,บรูไน, เวียดนาม, ลาว, พม่า, กัมพูชา และ ไทย

ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม ( MEDHUBNEWS.COM ) และ เพจ sasook รายงานว่า การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพจิต  เว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม ได้ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข่าวอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคที่ทาง Who ได้ให้ความสำคัญ

จากการแข่งขัน “ASEAN Data Science Explorers 2018” ณ สิงคโปร์ นายอัมรินทร์ อุดมผล และนายธีระพงษ์ ศรีสุพรรณ

จากวิทยาลัยนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ตัวแทนนักศึกษาประเทศไทย

ที่ชนะเลิศการแข่งขันจากเวทีในประเทศไทยได้รับรางวัล WINNER OF NATIONAL FINALS”

ต่อด้วยการแข่งขันในเวทีอาเซียนประเทศสิงคโปร์ได้รับรางวัล “WINNER SOCIAL MEDIA CHALLENGE”

จากผลงานการศึกษาเชิงข้อมูลหัวข้อสุขภาพจิตของเยาวชนทั่วภูมิภาคอาเซียน มุ่งขยายผลงานให้รัฐบาลแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนตระหนักถึงปัญหาการฆ่าตัวตายของเยาวชนอายุระหว่าง 13 – 17 ปี 

โดยการกระตุ้นให้ครอบครัวและโรงเรียนให้ความสำคัญปัญหานี้อย่างมากรวมถึงหาแนวทางสร้างความรู้ความเข้าใจ

นายอัมรินทร์ อุดมผล นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เล่าว่า “ในการแข่งที่ประเทศสิงคโปร์ ผมเลือกทำหัวข้อสุขภาพจิตของเยาวชนทั่วภูมิภาคอาเซียน

ตอนแรกที่เราจะทำเรื่องนี้นั้นเราได้เข้าไปดูเกี่ยวกับจำนวนของเด็กแรกเกิด จำนวนคนเสียชีวิต ซึ่งบางประเทศนั้นมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงมาก

เราเริ่มศึกษาแหล่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่าในอาเซียนมีข้อมูลสุขภาพจิตเยาวชนค่อนข้างน้อยมาก ซึ่งในประเทศทางโซนยุโรปฐานข้อมูลมีเยอะมากต่างจากในบ้านเราอย่างสิ้นเชิง

พอเริ่มสนใจในเรื่องนี้พร้อมกับเจอผลสำรวจของประเทศเวียดนามว่ามีเด็กที่เคยคิดจะฆ่าตัวตายเป็นจำนวน 10เปอร์เซ็นต์ซึ่งสูงที่สุดในอาเซียนอิงจากข้อมูลปี 2015 ซึ่งเราก็ไม่มีข้อมูลที่ระบุแน่ชัดถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กพวกนั้นคิดที่จะฆ่าตัวตาย

หลังจากที่เราได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหามาแล้วก็จะนำข้อมูลตรงนี้ไปใส่ไว้ในแพลตฟอร์มเพื่อที่จะดูกราฟว่าเป็นยังไง หลังจากที่ได้ข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ แล้วก็ออกแบบว่าจะมีการแก้ปัญหาอย่างไรดี” 

“แนวทางการแก้ไขปัญหาจากผลการศึกษาที่ได้มา ควรจะเริ่มจากรัฐบาลในแต่ละประเทศโดยการกระตุ้นให้ครอบครัวและโรงเรียนตระหนักถึงปัญหาการฆ่าตัวตายของเยาวชนอายุ 13 -17 ปี ให้มากขึ้น

หลังจากนั้นครอบครัวและโรงเรียนจะต้องคอยให้คำปรึกษา สอนและแนะนำกับตัวเยาวชนว่ามีวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง หรือเมื่อเจอปัญหานี้เหล่านี้จะไปปรึกษาที่ไหนได้บ้าง” นายอัมรินทร์ กล่าว

ขณะที่  นายธีระพงษ์ ศรีสุพรรณ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า “หัวข้อสุขภาพจิตของเยาวชนทั่วภูมิภาคอาเซียนที่เรานำไปแข่งขันครั้งนี้

พบว่าในภูมิภาคอาเซียนยังไม่ค่อยตระหนักถึงเรื่องนี้มากนัก เพราะขาดการสนับสนุนจากทางรัฐบาลหรือบุคคลที่มีอำนาจที่สามารถออกมาเป็นนโยบายได้

ที่สำคัญยังพบอีกว่าประเทศพม่าเยาวชนอายุระหว่าง 13-17 ปีที่คิดจะฆ่าตัวตายมีอัตราสูงสุดเมื่อวัดจากปีที่ผ่านมาว่าและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นสูงสุดในอาเซียน

พอเราเจอปัญหานี้ได้ศึกษาจำนวนประชากรที่เป็นเยาวชนในอาเซียนว่ามีจำนวนเท่าไหร่ผลปรากฏว่ามีจำนวนประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจำนวนเยาวชนตรงนี้นั้นจะกลายเป็นประชากรของทุก ๆ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน

อีกทั้งจำนวนเยาวชนตรงนี้นั้นยังเป็นปัจจัยหลักที่จะเป็นตัวกำหนดว่าประเทศนั้น ๆ จะพัฒนาหรือตกต่ำลงซึ่งมันสำคัญมากในการขับเคลื่อนประเทศ

ราจึงมองว่าถ้าเราไม่ทำอะไรตรงนี้อาจจะเป็นผลแย่ให้กับประเทศแต่ละประเทศภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการหาปัญหาในครั้งนี้มันจะช่วยทำให้ทราบได้ว่าเราควรเน้นแก้ปัญหาที่จุดไหนเป็นหลักโดยอิงจากตัวเลขที่เราได้มา”

“ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เลย อยากให้ทางรัฐบาลหันมาใส่ใจเรื่องเยาวชนให้มากกว่านี้อย่างเป็นรูปธรรม จะสามารถได้ช่วยลดแก้ไขปัญหาตรงนี้ลง ซึ่งบางประเทศจะมีข้อมูลบ่งบอกชัดเจนว่า

เด็กผู้หญิง  หรือ เด็กผู้ชายที่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายว่าอันไหนสูงกว่ากันปรากฏว่าเป็นเด็กผู้ชายที่มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่า แต่ทางประเทศไทยเราเองนั้นยังไม่มีข้อมูล

ในส่วนนี้สุดท้ายถ้าน้อง ๆ ที่อยากมาอยากทำอะไรเพื่อสังคมเราหันมาทำเรื่องนี้มันก็ช่วยให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแนวคิดการแก้ไข้ให้กับหลาย ๆ คนได้

เวทีนี้เปรียบเสมือนเป็นลำโพงของเยาวชนถ้าเรามีไอเดียใหม่ๆ เราสามารถเข้ามานำเสนอไม่ต้องคิดถึงข้อมูลที่เราต้องหา

เพราะว่าทางการแข่งขันนั้นสอนเราทุกอย่าง มันจึงทำให้เยาวชนทุกคนสามารถนำเสนอความคิดของตัวเองได้อย่างเต็มรูปแบบจึงอยากให้น้องๆ ได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคมกัน” นายธีระพงษ์ กล่าว 

นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม และ ภาคภูมิใจอย่างมาก เพราะการที่ได้นักศึกษาทำการวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุขระดับอาเซียน และได้รับรางวัลชนะเลิศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญมาก 

โดยเราจะเห็นได้จากเยาวชน คนรุ่นใหม่ มีความคิดกว้างไกล ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในประเทศอีกแล้ว

และหากผลการชนะเลิศครั้งนี้ ทางประเทศสิงคโปร์เห็นความสำคัญ นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายสาธารณสุข

จะทำให้เกิดการพัฒนาในทุกประเทศแถบเอเชีย เนื่องจากสิงคโปรค์เป็นประเทศที่มีองค์ความรู้ วิชาการต่างๆ  ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจขององค์การอนามัยโลก WHO อย่างมากอีกด้วย 

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com

ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

19 ธันวาคม 2561

ผู้ชม 1714 ครั้ง

Engine by shopup.com