เยี่ยมชมตึกสีม่วง “อาคารพระราชทาน 22” รพ.ท่าสองยาง "ต้นแบบคลินิกกายภาพบำบัด"
เยี่ยมชมตึกสีม่วง “อาคารพระราชทาน 22” รพ.ท่าสองยาง "ต้นแบบคลินิกกายภาพบำบัด"
หลังจากมีพิธีเปิด “อาคารพระราชทาน 22” โรงพยาบาลท่าสองยาง ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ไปแล้ว
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเเกี่ยวกับ โรงพยาบาลท่าสองยาง
โรงพยาบาลท่าสองยาง เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง และพื้นที่ชายแดนใกล้เคียง
เริ่มเปิดบริการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2528 เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง เนื่องจากมีผู้รับบริการเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี จึงได้ยกระดับเป็น 30 เตียง และ 60 เตียง
ในปัจจุบันดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “โรงพยาบาลชายแดนแห่งความสุข” พัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขชายแดนให้มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชายแดน ทุรกันดารเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐาน
สืบเนื่องเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 58 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน รพ.ท่าสองยาง
ทรงได้รับการถวายรายงานเรื่อง การก่อสร้างอาคารส่งเสริมสุขภาพและอเนกประสงค์ เพื่อใช้ในการจัดบริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น
และเป็นสถานที่เก็บรวบรวม จัดแสดงภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของประชาชนในพื้นที่ ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์
เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สร้างอาคารในที่ดินที่นายอุดร ตันติสุนทร บริจาคให้โรงพยาบาล และได้พระราชทานสนับสนุนงบประมาณก่อสร้าง อาคารส่งเสริมสุขภาพและเอนกประสงค์
ทั้งนี้ อาคารผู้ป่วยใน 2 ชั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานชื่ออาคาร “อาคารพระราชทาน 22” เป็นอาคารคอนกรีต ขนาด 2 ชั้น ขนาดพื้นที่อาคารกว้าง 22 ยาว 33 เมตร
บนพื้นที่ราชพัสดุ แปลงเลขที่ 589 ใช้แบบก่อสร้างอาคารส่งเสริมสุขภาพและเอนกประสงค์ แบบเลขที่ 9638 ของกองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุข ใช้งบประมาณการก่อสร้างรวมค่าโครงสร้างกันแผ่นดินไหวแล้ว 20,243,971 บาท
โดยชั้นที่ 1 เป็นคลินิกแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ห้องอบสมุนไพร นวดแผนไทย วารีบำบัด และห้องจัดแสดงภูมิปัญญาด้านการแพทย์ของประชาชนในพื้นที่
และชั้นที่ 2 เป็นคลินิกกายภาพบำบัด ห้องแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจฯ
สำหรับ คลินิกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลท่าสองยาง ตำบลแม่ต้าน อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก นั้นเป็นไปตามมาตรฐาน "วิชาชีพกายภาพบำบัด" ของสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย
และปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะเปิด "คลินิกกายภาพบำบัด" แยกออกมาเป็นแผนก เพราะนักกายภาพบำบัด เป็นวิชาชีพที่สำคัญกับระบบสุขภาพมาก
ยุคก่อน วิชาชีพกายภาพบำบัด ขึ้นอยู่กับภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์ และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ปัจจุบันนี้ นักกายภาพบำบัด มีการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นระบบ และระบบสุขภาพมีความต้องการนักกายภาพบำบัดตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน ไปประจำทำงานอีกมาก
ทำให้เกิดการเรียนการสอนตามมหาวิทยาลัยส่วนประชาชนเห็นความสำคัญของวิชาชีพกายภาพบำบัดแพร่หลายมากขึ้น
ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยจากอุบัติเหตุต่างๆ ผู้สูงอายุ และ นักกีฬาที่เราจะเห็น นักกายภาพบำบัด ประจำตามงานกีฬา งานวิ่งต่างๆมากขึ้น เนื่องจากนักกายภาพสามารถใช้ความรู้ ด้านวิชาการ โครงสร้างร่างกาย กล้ามเนื้อเพื่อบำบัดอาการอย่างถูกต้อง
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน อวัยวะจะถูกจัดสรรเป็นระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมต่าง ๆ
และระบบประสาทเช่น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก ฯลฯ ทำให้จำเป็นต้องใช้นักกายภาพบำบัด
โดยเฉพาะ "เวชศาสตร์การกีฬา" รวมทั้งศาสตร์การรักษาที่เรียกว่า "SPORTS MEDICINE" นักฟุตบอลจะมีนักกายภาพบำบัด ประจำสโมสรฟุตบอลทุกสโมสร
เนื่องจากนักกีฬา มักเกิดอาการบาดเจ็บจากการแข่งขัน จึงทำให้ศาสตร์แขนงนี้มีเด็กรุ่นใหม่ เลือกเรียนมากขึ้น
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com
18 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 2210 ครั้ง