แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ อันตราย "โรคผิวหนังจากการทำงาน" สัมผัสสารเคมี เกิดผิวอักเสบ อาจติดเชื้อ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ชี้ อันตราย "โรคผิวหนังจากการทำงาน" สัมผัสสารเคมี เกิดผิวอักเสบ อาจติดเชื้อ ควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เผยผู้ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรเสี่ยงโรคผิวหนัง ที่เกิดจากสารเคมี แนะสวมอุปกรณ์ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัส
หากมีอาการระคายเคือง หรือผดผื่นให้รีบไปพบแพทย์ แนะวิธีดูแลและป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคหรือเป็นซ้ำ
ข่าว วัน นี้ ล่าสุด วัน นี้, ข่าว วัน นี้ ล่าสุด, ข่าว วัน นี้, เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ รายงานว่า กรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ ระบุถึง โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะวัยทำงาน เนื่องจากมือเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสสารระคายเคืองได้บ่อย
เช่น สบู่ ผงซักฟอก แชมพู หรือแม้แต่น้ำเปล่า ซึ่งจะทำให้หน้าที่การทำงานของเกราะป้องกันผิวลดลง ทำให้เกิดเป็นผื่น ทั้งนี้ระยะเวลาของการเกิดโรคอาจเป็นไม่นาน
แต่ในบางรายอาจเป็นรุนแรงและนานหลายปี ทำให้มีผลต่อการทำงานและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติเป็นผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ในวัยเด็ก
ผู้ที่ทำงานโดยที่มือต้องสัมผัสน้ำบ่อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน เช่น แม่บ้าน คนเลี้ยงเด็ก คนทำอาหาร ช่างเสริมสวย ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ศัลยแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล คนงานก่อสร้าง เป็นต้น
โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสารเคมีหรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองทำให้ผิวหนังอักเสบจากการระคายเคือง หรือหากผิวหนังสัมผัสสารเคมี
เช่น น้ำหอม ยาง หรือหนัง ทำให้เกิดการแพ้ ลักษณะของผื่นแพ้สัมผัส บางรายอาจระคายเคืองและการแพ้ร่วมกัน
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่มือจะมีผื่นแดง คัน แห้ง ขุย บางครั้งมีร่องแตก เจ็บ หรือมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ ที่ฝ่ามือ
หรือด้านข้างนิ้วมือ บางรายอาจมีผื่นเฉพาะที่ เช่น บริเวณง่ามมือ กลางฝ่ามือ ปลายนิ้วมือ
หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน จะทำให้มี ตุ่มหนอง ผื่นบวมแดงเจ็บ มีน้ำเหลือง ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่เป็นการควบคุมอาการ ไม่ได้ทำให้ผื่นหายขาด
แต่หากผู้ป่วยทราบสาเหตุของการแพ้ หลีกเลี่ยงสารเคมีที่แพ้ได้อย่างถูกต้อง และเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรกจะทำให้โรคไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
สำหรับการดูแลประกอบด้วยการทาครีมที่ให้ความชุ่มชื้น ทำให้สารเคมีที่แพ้หรือระคายเคืองเข้าสู่ผิวหนังได้ยากขึ้น ควรทาบ่อยเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะเมื่อพบว่ามือเริ่มแห้งไม่ชุ่มชื้นและทุกครั้งหลังล้างมือ
โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีน้ำหอม ไม่ใส่สี ไม่มีส่วนผสมที่ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ ควรเลือกที่อ่อนโยน ไม่มีส่วนผสมของสบู่ที่จะทำให้มือแห้งระคายเคืองมากขึ้น อาจเลือกชนิดที่ผสมมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น และไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาด มาใช้ทำความสะอาดมือ
ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญคือไม่ควรล้างมือบ่อยเกินไป โดยไม่ควรเกิน 2-3 ครั้งต่อวัน ไม่ล้างมือด้วยน้ำอุ่นมาก ๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น หลัง ล้างมือซับมือให้แห้ง และทาผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื้นทุกครั้ง
ควรสวมถุงมือเมื่อต้องทำงานสัมผัสกับน้ำหรือสารระคายเคืองโดยเลือกใช้ถุงมือที่เหมาะสม ซึ่งไม่ควรใส่ถุงมือนานกว่า 20 นาที เพราะจะทำให้เกิดความอับชื้นหรือระคายเคืองได้
หรือหากต้องใส่เป็นเวลานานควรเปลี่ยนถุงมือเมื่อรู้สึกว่าด้านในถุงมือเปียกชื้น และอาจใส่ถุงมือผ้าขาวไว้ข้างในถุงมืออีก 1 ชั้น เพื่อดูดซับเหงื่อ
นอกจากนี้ควรทายาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการ และรับการรักษาต่อไป
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
แท็ก : ข่าว สุขภาพ, Thailand news today, thailand health website, health website, เว็บไซต์สุขภาพ ภาษาอังกฤษ, เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข, เว็บไซต์ด้านสุขภาพ, เว็บไซต์สุขภาพ ดีๆ , https // medhubnews.com › ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข ความงามและการดูแลสุขภาพ, https // medhubnews.com › สมุนไพร, ข้อมูลโรงพยาบาลทั่วประเทศ, เว็บไซต์ สุขภาพ ที่น่าเชื่อถือ, เว็บไซต์สุขภาพจิต, เว็บสุขภาพ, เส้นทาง สุขภาพ, สร้าง เสริม สุขภาพ, เว็บ สุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข, เว็บไซต์ สุขภาพ, แนะนำเว็บไซต์ สุขภาพสำหรับคนไทย, เว็บไซต์เฉพาะทางด้านสุขภาพ, เว็บไซต์สุขภาพและยาที่ดีที่สุดในประเทศไทย, เว็บไซต์หมวดสุขภาพ, ข้อมูล เพื่อสุขภาพ เว็บไซต์ เว็บ ลิ้งค์ Link ข้อมูลสุขภาพ, เว็บไซต์สุขภาพดี สาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม, รายชื่อเว็บไซต์ หมวดสุขภาพ, Top10 เว็บไซต์ด้านสุขภาพ, ข้อมูลจาก google analytics
10 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ชม 6408 ครั้ง