“กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า” หวั่น "ผลวิจัยบุหรี่ไฟฟ้า" ไม่เป็นกลาง ถูกบิดเบือน เตรียมยื่น “พาณิชย์” หาหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพ ชี้ขาด แบน หรือ ไม่ แบน บุหรี่ไฟฟ้า ?
“กลุ่มผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า” หวั่น "ผลวิจัยบุหรี่ไฟฟ้า" ไม่เป็นกลาง ถูกบิดเบือน เตรียมยื่น “พาณิชย์” หาหน่วยงานกลางเป็นเจ้าภาพ ชี้ขาด แบน หรือ ไม่ แบน บุหรี่ไฟฟ้า ?
กรณีการหาทางออกให้กับ ประเด็นการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้ถูกควบคุมอย่างถูกกฎหมาย นั้น แต่ปรากฏว่ามีชื่อของ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ( ศจย. ) ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์เข้ามาศึกษาผลกระทบของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
ทั้งนี้ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ที่ผ่านมา หน่วยงานดังกล่าวไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากแสดงท่าทีอย่างชัดเจนในการแบนบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้คาดการณ์ว่าหากปล่อยให้หน่วยงานดังกล่าวกระทำหน้าที่ต่อไป
โดยมีมายาคติ กับ ผลวิจัยนานาชาติ ซึ่งไม่มีความเป็นธรรมในยุคที่โลกเราพัฒนาไปไกล มีเทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ มีปัญญาประดิษฐ์ ที่ฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่น่าเสียใจที่ กลุ่มคนดังกล่าว จะใช้กลอุบายเพื่อหลบเลี่ยงการวิจัยที่ได้มาตรฐานสากล ซึ่งผลกระทบจะเสียหายมหาศาล ทั้งด้านการท่องเที่ยว และนโยบายเมดิคอล ฮับ
โดยที่ผ่านมา อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ WHO ได้ยืนยันว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว และ มีความต้องการลดอันตรายจากสารพิษ ตามลิ้งค์นี้ “ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu” เรียกร้องเอเชียพิจารณาบุหรี่ไฟฟ้า
ด้าน นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)” และเฟสบุ๊ค “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” ให้ความเห็นกรณีเรื่อง กระทรวงพาณิชย์มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ( ศจย. ) เป็นผู้ศึกษาผลกระทบของการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าว่า
“ผู้สูบบุหรี่และสังคมทั่วไปยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ จึงเป็นการดีที่จะมีหน่วยงานที่เป็นกลางรับเป็นเจ้าภาพทำการศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าอย่างจริงจัง
แต่ที่ผ่านมาเราเห็นจุดยืนที่ชัดเจนของ ศจย. ว่าไม่ต้องการให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าถูกกฎหมาย เพราะศจย. ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านยาสูบ และมักออกมาให้ข้อมูลที่เป็นด้านลบเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เสมอ
งานวิจัยหลายชิ้นของ ศจย. ก็เคยระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตราย ซึ่งขัดแย้งกับงานวิจัยของต่างประเทศเช่น สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ลอนดอน สถาบันมะเร็งสหรัฐ หรือแม้แต่องค์การอาหารและยาสหรัฐ ที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน
แม้บางครั้งเครือข่ายและ ศจย. พูดถึงผลการวิจัยเล่มเดียวกัน แต่ ศจย. กลับเลือกพูดแต่ผลวิจัยที่เป็นด้านลบเสมอ หาก ศจย. รับหน้าที่ทำการศึกษาในครั้งนี้
ผลการศึกษาอาจจะไม่มีความเป็นกลางและไม่ได้สะท้อนความคิดเห็นของทุกฝ่าย สุดท้ายความหวังของผู้สูบบุหรี่ที่จะได้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าก็คงเป็นแค่ความฝัน”
หลายประเทศเริ่มมีการศึกษาและให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นโดยหน่วยงานของรัฐบาลและหน่วยงานอิสระ ล่าสุด สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ ( Public Health England: PHE ) ซึ่งรณรงค์ให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือในการเลิกบุหรี่ อ้างอิงจาก BBC
เพราะมีผลการศึกษาหลายชิ้นยืนยันว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องมีอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่าการสูบบุหรี่ถึง 95% ได้ออกแคมเปญใหม่เพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า
โดยทำวิดีโอเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างสำลีที่เต็มไปด้วยคราบสกปรกที่เกิดจากควันบุหรี่ กับสำลีที่ยังสีขาวอยู่หลังจากได้รับไอละอองของบุหรี่ไฟฟ้า
และวิจัยสุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย ได้ให้ทุนกับหน่วยงานอิสระหลายแห่งกว่า 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้า
“เราอยากเสนอให้หน่วยงานที่มีความเป็นกลางมากกว่านี้เป็นผู้ทำการศึกษาความปลอดภัยของบุหรี่ไฟฟ้า เราจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อเรียกร้องให้มีการแต่งตั้งหน่วยงานอิสระอื่นมาทำการศึกษานี้แทน”
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
27 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 3735 ครั้ง