ปลูกจิตสำนึกคนไข้ไทยเลิก "ช็อปปิ้งยา" สาธารณสุขชื่นชมโครงการ “No walk-in OPD” รพ.กำแพงเพชร จัดคลินิกหมอครอบครัว ใน รพ.สต. 16 แห่ง หาก ท้องเสีย ปวดหัว ไข้หวัด บริการปฐมภูมิได้
ปลูกจิตสำนึกคนไข้ไทยเลิก "ช็อปปิ้งยา" สาธารณสุขชื่นชมโครงการ “No walk-in OPD” รพ.กำแพงเพชร จัดคลินิกหมอครอบครัว ใน รพ.สต. 16 แห่ง หาก ท้องเสีย ปวดหัว ไข้หวัด บริการปฐมภูมิได้
แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่สามารถทำระบบ copayment ได้ จากโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อสังคม และตัวเอง
และจะทำให้ ระบบ 30 บาทยั่งยืน บางคนระบุว่า ของฟรีคนมักไม่เห็นคุณค่า และพยายามจะกอบโกยเอามากที่สุด คนไข้หัวใส ช็อปปิ้งยา ขอยาบำรุง หรือขอยาอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวกับการรักษา หรือไม่ก็ขอนอนรพ
ทั้งที่ไม่มีข้อบ่งชี้ แต่ทางสาธารณสุขก็เดินหน้าบริการปฐมภูมิ ชื่นชมโครงการ “No walk-in OPD” รพ.กำแพงเพชร จัดคลินิกหมอครอบครัวเต็มพื้นที่อำเภอเมือง ใน รพ.สต. 16 แห่ง
ลดเหลื่อมล้ำ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลารอคอย และลดแออัดในโรงพยาบาลกำแพงเพชร ประชาชนพึงพอใจและมั่นใจเข้าถึงบริการ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยนอกจากเขตอำเภอเมืองได้วันละ 300 คน
กอง บ.ก. เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com รายงานว่า วันนี้ (11 มีนาคม 2562) ที่ อาคารคลินิกหมอครอบครัวชากังราว โรงพยาบาลกำแพงเพชร อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พร้อมด้วย นายแพทย์บุญชัย ธีระกาญจน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เปิดอาคารคลินิกหมอครอบครัวชากังราวและให้สัมภาษณ์ว่า โรงพยาบาลกำแพงเพชร เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่เปิด “คลินิกหมอครอบครัว” เต็มพื้นที่ทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอเมือง ทั้ง 16 แห่ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา
ในโครงการ “No walk-in OPD” เพื่อให้ประชาชนในเขตอำเภอเมือง เข้ารับการรักษาเบื้องต้นที่คลินิกหมอครอบครัว ให้การดูแลแบบองค์รวมโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ ได้รับการรักษาใกล้บ้าน
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไป เช่น ท้องเสีย ปวดหัว ไข้หวัด เป็นต้น
และหากพบว่าเป็นโรคที่มีอาการซับซ้อน ก็จะส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลกำแพงเพชรได้ทันทีโดยมีช่องทางด่วนพิเศษให้ผู้ป่วยเพื่อความสะดวก
ทำให้ลดจำนวนการใช้บริการผู้ป่วยนอกที่ รพ.กำแพงเพชร จาก 1,400 คนต่อวัน เหลือเพียง 1,100 คนต่อวันและลดเวลารอคอยจากเดิมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่เมื่อเข้ารับบริการที่คลินิกหมอครอบครัวใช้เวลาเพียง 40 นาที
นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและโรงพยาบาลได้อีกด้วย ซึ่งพบว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยผู้ป่วยนอกที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลอยู่ที่ 943.85 บาทต่อรายแต่ถ้าไปใช้บริการที่คลินิกหมอครอบครัวจะอยู่ที่ 221 บาทต่อรายซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละ 60 ล้านบาท
กระทรวงสาธารณสุขได้ขับเคลื่อนนโยบายคลินิกหมอครอบครัว ที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลประชากร 1:10,000 คน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังที่เพิ่มมากขึ้น
ซึ่งทำให้เกิดความแออัดในโรงพยาบาล และผู้ป่วยต้องใช้เวลานานรอพบแพทย์ คลินิกหมอครอบครัวจะช่วยให้ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ใกล้บ้าน เหมือนญาติสนิทจากแพทย์และทีมสหวิชาชีพ ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลารอคอยการรักษา
โดยในปี 2562 ตั้งเป้าหมายให้มีคลินิกหมอครอบครัว 1,170 ทีม ขณะนี้ ผ่านเกณฑ์การขึ้นทะเบียนทั้งหมด 995 ทีม ครอบคลุมประชากร รวม 10,234,076 คน
อาคารคลินิกหมอครอบครัวชากังราว
05 มกราคม 2564
ผู้ชม 2142 ครั้ง