"เนชั่น โป๊ะแตก" รายงานข่าวปลอม สมาคมนักข่าวออกแถลงการณ์ ร่วมสกัดกั้นข่าวปลอม ผู้ก่อตั้งเนชั่น ชี้ กว่า 47 ปี ไม่เคยโดยด่า "มาตรฐานตกต่ำ"

บทความ

"เนชั่น โป๊ะแตก" รายงานข่าวปลอม สมาคมนักข่าวออกแถลงการณ์ ร่วมสกัดกั้นข่าวปลอม ผู้ก่อตั้งเนชั่น ชี้ กว่า 47 ปี ไม่เคยโดยด่า "มาตรฐานตกต่ำ"

Nation Fake news - ์เนชั่น จากกระแส เนชั่นโป๊ะแตก ติดอันดับ 1 เทรนด์ในทวิตเตอร์ ภายหลังจากมีผู้อัดวิดีโอคลิปแฉ คลิปเสียงที่ รายการข่าวข้น คนเนชั่น ( อ้างอิงสำนักข่าวเนชั่น ) รวมทั้งผู้ก่อตั้งเนชั่น ออกมาบอกว่า เนชั่น 47 ปี ไม่เคยโดยด่า "มาตรฐานตกต่ำ" เยี่ยงนี้ 

ล่าสุด เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ รายงานว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ร่วม 

กรณีที่รายการข่าวข้นคนเนชั่น ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เมื่อคืนวันอังคารที่ 19 มีนาคม ที่ผ่านมา นำเสนอคลิปเสียงสนทนาของคนสองคนเกี่ยวกับการต่อรองตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งไม่มีที่มาแน่ชัด จนถูกตั้งคำถามว่าเป็นคลิปเสียงปลอมที่มีการตัดต่อมาหรือไม่

ต่อมามีการนำประเด็นจากคลิปเสียงดังกล่าวไปสัมภาษณ์นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งบทสัมภาษณ์เป็นไปในทำนองตำหนิการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

จากนั้นผู้บริหารเนชั่นได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในหลักการและมาตรฐานวิชาชีพข่าว และต่อมาผู้ประกาศข่าวที่นำคลิปเสียงมานำเสนอได้ยอมรับในรายการเดิมเมื่อคืนวันที่ 20 มีนาคม พร้อมทั้งขอโทษเพราะไม่ทราบว่าคือคลิปเสียงปลอม

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

ในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อ เฝ้าติดตามและรับทราบถึงเสียงสะท้อนที่เต็มไปด้วยความห่วงใยจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ เห็นว่า สังคมในปัจจุบันที่เป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารออนไลน์และโซเชียลมีเดีย

ดังนั้นสื่อมวลชนต้องใช้เสรีภาพบนความรับผิดชอบมากขึ้น ต้องพร้อมให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการนำเสนอข่าวตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และพร้อมน้อมรับคำแนะนำ การวิพากษ์วิจารณ์ และการถูกตรวจสอบจากสังคมที่มีความเข้มข้นมากขึ้น

นอกจากนี้ สื่อมวลชนยังต้องคำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพที่บัญญัติไว้ในข้อบังคับจริยธรรมของสภาวิชาชีพต่างๆ ทั้งที่มีอยู่เดิม และที่เพิ่มเติมตามสถานการณ์ปัจจุบันโดยสื่อมวลชนไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบ กลั่นกรองข้อมูล

ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวปลอม ( Fake news หรือ Disinformation ) ก่อนการนำเสนอ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในระดับสากล จนกลายเป็นอีกภารกิจหลักขององค์กรสื่อและสื่อมวลชนทุกแขนงในการสกัดกั้นข่าวลือ ข่าวลวง ไม่ให้แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง

โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เพื่อไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และนำเสนอข่าวสารอย่างถูกต้องเป็นที่น่าเชื่อถือของสังคมต่อไป

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

21 มีนาคม 2562

05 มกราคม 2564

ผู้ชม 5672 ครั้ง

Engine by shopup.com