สุดท้ายแล้ว จะฝั่งไหน จะเพื่อไทย จะพลังประชารัฐ "อนุทิน ชาญ วีร กุล" ก็ขึ้นแท่น นายกรัฐมนตรี พูดชัดเจน ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองเสียงข้างน้อย

บทความ

สุดท้ายแล้ว จะฝั่งไหน จะเพื่อไทย จะพลังประชารัฐ "อนุทิน ชาญ วีร กุล" ก็ขึ้นแท่น นายกรัฐมนตรี พูดชัดเจน ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองเสียงข้างน้อย

อนุทิน ชาญ วีร กุล - ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน  - แม้ผลการเลือกตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ยังไม่ชัดเจนเต็มร้อย แต่ก็คงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พรรคเพื่อไทย ชนะ ครองแชมป์ที่นั่ง ส.ส. มากที่สุด ถึง 137 ที่นั่ง

รองลงมาคือ พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. 118  ที่นั่ง โดยพรรคเพื่อไทย ชนะตามกติกาประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน  ( Representative Democracy ) หรือที่เรียกกันว่า ประชาธิปไตยทางอ้อม ( Indirect Democracy )

ผู้สื่อข่าวกองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า แม้ว่า พรรคพลังประชารัฐจะบอกว่า ชนะการเลือกตั้ง

โดยอ้างนับจากคะแนนป็อปปูล่าโหวต ตามแบบฉบับต่างประเทศที่มีประธานาธิบดี ซึ่งมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลก่อน ตามที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ 

ถือว่า พรรคพลังประชารัฐได้เป็นอันดับหนึ่ง (  ใครเขียนรัฐธรรมนูญ ใครแก้กฎหมาย เปลี่ยนกติกา  ? )

สิ่งที่ พรรคพลังประชารัฐ  ฝันไว้ คือ สูตรการจัดตั้งรัฐบาล 2562 พรรคพลังประชารัฐ  พรรคภูมิใจไทย  พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา  พรรครวมพลังประชาชาติไทย  พรรคชาติพัฒนา  พรรคพลังท้องถิ่นไท

พรรคพลังประชารัฐ แน่ใจได้อย่างไรว่า พรรคภูมิใจไทย จะเป็นกองหนุน  ที่บอกว่า กำลังลังเล  และ ขณะนี้ลอยตัวแล้ว จะทำให้ได้เสียงสนับสนุน โหวตนายกฯและจัดตั้งรัฐบาลได้ทันที  

อยู่ที่การเจรจามีปัจจัยหลายประการ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยมีข้อเจรจาต่อรองสูงสุด คือ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  

ทำให้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย มั่นใจ ประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ พรรคร่วมรัฐบาล ต้องมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยเป็นหลักการ ไม่เอาการสืบทอดอำนาจ คสช.

โดยประเด็นสำคัญ อยู่ที่ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่จำเป็นต้องเป็นแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทย นอกจากนี้ มีรายงานว่า แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้พูดคุย และหารือ กับแกนนำพรรคการเมืองหลายพรรค

อาทิ พรรคอนาคตใหม่ พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติ และอีกหลายพรรคการเมือง ซึ่งมีจุดยืนซึ่งเคยประกาศไว้ในช่วงหาเสียงว่า ไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ คสช. ซึ่งมีหลายพรรค ตอบรับแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีการพูดคุย กับพรรคประชาธิปัตย์ ถึงท่าทีในการร่วมรัฐบาล เนื่องจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เคยประกาศว่า ไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ และการสืบทอดอำนาจเช่นกัน

โดยพรรคเพื่อไทยได้เปิดกว้าง ถึงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลหน้า ซึ่งหมายความว่า อาจไม่ใช่แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทย และแคนดิเดตจะมา จากพรรคภูมิใจไทย หรือ พรรคอนาคตใหม่

สำหรับ พรรคประชาธิปัตย์ คงไม่ใช่กลุ่มที่ฝ่ายประชาธิปไตยต้องการ ดังนั้นตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ในเวลานี้

ยังไม่ใช่เวลาของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งปัจจัยสำคัญคือ “ความขัดแย้ง” หากนายธนาธร เป็น นายกรัฐมนตรี

ทำให้ อนุทิน ชาญ วีร กุล ตอนนี้ลอยลำแล้ว เตรียมเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30  ( หากไม่มีการโกงอีก ) โดยมีรายงานข่าวจากพรรคภูมิใจไทย อนุทิน ชาญ วีร กุล และพรรคภูมิใจไทย ระบุผ่านสื่อมวลชนว่า  ยังไม่ขอตัดสินใจในช่วงนี้ รอผ่านพ้นงานพิธีสำคัญ และหลัง กกต.รับรองผลอย่างเป็นทางการก่อน 

สุดท้ายแล้ว จะฝั่งไหน จะพรรคเพื่อไทย หรือ พรรคพลังประชารัฐ อนุทิน ชาญ วีร กุล ก็ขึ้นแท่น นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 อยู่ดี

อนุทิน ชาญ วีร กุล

แต่ที่น่าคิดคือ นายอนุทิน  ระบุถึงนัยยะสำคัญว่า ตนไม่เคยพูดคำว่า ไม่สนับสนุนนายกฯที่ไม่ได้มาจาก ส.ส. เพราะพรรคภูมิใจไทยจะไม่สนับสนุนให้ประเทศไทย มีพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างน้อย เป็น นายกรัฐมนตรี

สำหรับ เสียงข้างน้อย นั้น คำว่าประชาธิปไตย แบ่งเป็น ประชาธิปไตยทางตรง ( Direct Democracy ) หรือที่เรียกกันว่า ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ ( Pure Democracy ) คือ รูปแบบของรัฐที่ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองได้โดยตรง ร่วมไปถึงการร่างกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน  ( Representative Democracy ) หรือที่เรียกกันว่า ประชาธิปไตยทางอ้อม ( Indirect Democracy ) หมายถึง การปกครองที่ประชาชนจะเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนในการร่วมตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไทย และหลายประเทศใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในสมัยปัจจุบัน

ดังนั้น นายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน

และประเทศไทยก็ใช้หลักการนี้ เป็นกติกา มาตั้งแต่สมัยอดีตกาล !

ภาพจาก BBC , The Economist

17 เมษายน 2562

ผู้ชม 3046 ครั้ง

Engine by shopup.com