หมอพื้นบ้าน หมายถึงใคร ใครสามารถเสนอชื่อได้บ้าง โปรดทำความเข้าใจ "หลักเกณฑ์ที่เข้าข่ายหมอพื้นบ้าน" ครอบครองกัญชาได้

บทความ

หมอพื้นบ้าน หมายถึงใคร ใครสามารถเสนอชื่อได้บ้าง โปรดทำความเข้าใจ "หลักเกณฑ์ที่เข้าข่ายหมอพื้นบ้าน" ครอบครองกัญชาได้

News Update 18 เมษายน 2562 :  หลังจากหาทางออกให้สมุนไพรกัญชาได้แล้ว โดย นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าว เข้าพบนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อหารือแนวทางการจดทะเบียน ให้นายเดชาเป็นหมอพื้นบ้าน

นายแพทย์มรุต ยืนยันว่า คุณสมบัติของนายเดชาเข้าตามระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ที่กำหนดคุณสมบัติ 8 ประการในการขอหนังสือรับรองเป็นหมอพื้นบ้าน

เช่น ต้องดูแลสุขภาพชุมชนไม่น้อยกว่า 10 ปี มีความสามารถในการบำบัดโรค ไม่หวงวิชา ไม่เรียกร้องค่ารักษามากเกินไป มีคุณธรรม มีการถ่ายทอดความรู้

และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน ซึ่งนายเดชาได้คิดค้นใช้รักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2530

ทั้งนี้ กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ  และ เพจ sasook  รายงานว่า ความเข้าใจเรื่อง หมอพื้นบ้าน

หรือ แพทย์พื้นบ้านของภาคอีสานนั้น ในทางวิชาการเรียกว่า  “การแพทย์พื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ที่จังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินการอยู่นี่

เป็นลักษณะการเจ็บป่วยของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอดีตส่วนใหญ่มักป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้แก่ ไข้มาลาเรียหรือไข้ป่า โรคทางเดินอาหาร เช่นอุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคพยาธิต่างๆ โรคนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคติดต่อ เช่นไข้ทรพิษ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ไข้สันหลังอักเสบ หัด อีสุกอีใส โรคซางหรือโรคขาดสารอาหาร โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด วัณโรคปอด เป็นต้น

การเจ็บป่วยดังกล่าว โดยทั่วไปจะทำการรักษาด้วยแพทย์พื้นบ้าน เช่น ปวดจะกินยาหรือฝนยาสมุนไพร ถูกสุนัขกัดใช้ยางต้นจำปา เมื่อถูกของมีคมบาดหรือของแหลมตำนิยมรดด้วยปัสสาวะ แล้วให้ใบสาบเสือเคี้ยวพอกแผลหรือยัดด้วยเกลือ ปวดฟันจะอมเกลือหรือต้มน้ำกิน

นอกจากนั้นจะรักษาโดยการลำผีฟ้าหรือใช้เวทย์มนต์คาถาและรดน้ำมนต์ ไหว้ขอขมาที่ไปลบหลู่ นอกจากนั้นจะมีต่อชะตา สะเดาะเคราะห์ ขับไล่เคราะห์ เสนียดจัญไร มีการรดน้ำมนต์ ต่อชะตา ค้ำโพธิ์ค้ำไทร ต่อสะพาน ซึ่งเป็นการการะทำที่ให้ผลทางด้านจิตใจ

การใช้สมุนไพรเป็นยา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพืชหลายชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคได้ พืชพรรณที่เป็นสมุนไพรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ผักบุ้ง นำมาประกอบอาหาร กระเจี๊ยบ มะตูม ใบเตย ฝรั่ง

พวกนี้นำมาทำเครื่องดื่มบำรุงกำลังภูมิปัญญา ในการดูแลสุขภาพของชาวบ้าน เป็นการดูแลรักษากันเองในครอบครัว ใช้สมุนไพรเป็นอาหารหรือยารักษาโรคไปในตัว เมื่อเจ็บป่วยก็มีหมอพื้นบ้านรักษา

ในการใช้สมุนไพรนั้น หมอพื้นบ้านจะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ ใช้ให้ถูกต้อง หมายถึง ต้องรู้จักชนิดของสมุนไพร ใช้ให้ถูกส่วน หมายถึง ส่วนใดของพืชที่ใช้เป็นตัวยา ใช้ให้ถูกขนาด หมายถึง ใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ ใช้ให้ถูกโรค หมายถึง รู้วิธีใช้ที่ถูกต้อง

ประเภทของหมอพื้นบ้านอีสานและวิธีการรักษา โดยภาคอีสาน  มีประชากรจำนวน 1 ใน 3 ของประเทศ ประกอบด้วยกลุ่มชนต่างวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่

คือกลุ่มชนที่มีลักษณะทางภาษาและวัฒนธรรมลาวอาศัยอยู่ทางตอนบนของภาคนับจากชัยภูมิขึ้นไป กลุ่มที่สอง อาศัยอยู่ทางตอนกลางของภาค คือกลุ่มไทยโคราช

ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ กลุ่มที่สาม คือกลุ่มเขมรส่วยอยู่ทางตอนใต้ของภาคแถบจังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ ด้วยเหตุผลข้างต้น หมอพื้นบ้านอีสานจึงมีความหลากหลายตามวัฒนธรรมทั้ง 3 กลุ่ม

หมอพื้นบ้านอีสาน เป็นผู้มีความรู้และวิธีการรักษาที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน การวินิจฉัยโรคตามสมุฏฐานของธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น

อ้างอิงข้อมูล บุญเลิศ สดสุชาติ. (2553). มานุษยวิทยาสุขภาพ.มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

18 เมษายน 2562

ผู้ชม 3930 ครั้ง

Engine by shopup.com