กรมวิทย์คลอด "green book 2019" จาก สำนัก ยา และ วัตถุ เสพ ติด รวมข้อมูลยา เพิ่มช่องทางผ่านแอปพลิเคชั่น

บทความ

กรมวิทย์คลอด "green book 2019" จาก สำนัก ยา และ วัตถุ เสพ ติด รวมข้อมูลยา เพิ่มช่องทางผ่านแอปพลิเคชั่น

News Update 18 เมษายน 2562 : มีอะไรใน GREEN BOOK 2019 - สำนัก ยา และ วัตถุ เสพ ติด

กรมวิทย์ คลอดหนังสือ “GREEN BOOK 2019” รวบรวมรายชื่อยาได้มาตรฐาน ส่วนยาไร้มาตรฐานส่งให้ อย. โดยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลยาผ่าน Mobile

ล่าสุด กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ  และ เพจ sasook  รายงานว่า  นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

โดย สำนักยาและวัตถุเสพติด มีภารกิจสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา โดยภายใต้ “โครงการประกันคุณภาพยา”

ได้สุ่มตัวอย่างยาที่มีใช้ในโรงพยาบาลภาครัฐทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 จนปัจจุบัน เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานสากล ซึ่งยาที่มีผลการตรวจ “เข้ามาตรฐาน” จะได้รับการเผยแพร่ในหนังสือ “GREEN BOOK”

- คลิ๊กอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : "กรมวิทย์" ออก "GREEN BOOK" มุ่งเน้นยารักษา "วัณโรค - ต้านจุลชีพ"

ส่วนยาที่มีผลการตรวจ “ไม่เข้ามาตรฐาน” สำนักยาและวัตถุเสพติดจะรายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  เพื่อดำเนินการตรวจสอบและแจ้งให้ปรับปรุงต่อไป

ในปีนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพเข้ามาตรฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2561 มาจัดทำเป็นหนังสือ “GREEN BOOK 2019” ประกอบด้วยยา 370 รายการ ( ตามชื่อสามัญ ) จาก 3,289 รุ่นผลิต ( lot number )

นำมือถือมาสแกน QR Code ที่นี่ได้เลย 

“ล่าสุดนี้ ยังได้สุ่มตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร และเจลพริก ที่มีใช้ในโรงพยาบาล เพื่อช่วยส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการดูแลรักษาสุขภาพ และเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตยาสมุนไพรให้สามารถผลิตยาได้มาตรฐานยิ่งขึ้น”

นอกจากนี้ใน “GREEN BOOK 2019” ยังมีรายการยาชีววัตถุ ( biological product ) ซึ่งเป็นยาโปรตีน เช่น erythropoietin (epoetin), filgrastim, heparin, insulin  

ซึ่งมักมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนแตกต่างจากยาที่ผลิตจากสารเคมี ทำให้มีราคาแพงมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรับภาระค่าใช้จ่ายนี้ได้

ดังนั้นข้อมูลยาชีววัตถุใน “GREEN BOOK 2019” จึงช่วยให้แพทย์และเภสัชกรสามารถเลือกยาชีววัตถุที่เข้ามาตรฐานแต่มีราคาสมเหตุผลได้

ทั้งนี้ยังได้เพิ่มช่องทางการสืบค้นข้อมูลผ่านทาง Mobile application “GREEN BOOK DMSC” ซึ่งสามารถใช้งาน ได้ทั้งระบบ android และ iOS

หรือทางเว็บไซต์ สำนักยาและวัตถุเสพติด https://www.bdn.go.th ข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งระบบสุขภาพของประเทศ และประชาชนในการเลือกใช้ยาต่างๆ ได้

19 เมษายน 2562

ผู้ชม 2814 ครั้ง

Engine by shopup.com