ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Center เมืองเจนไน บรรลุเทคโนโลยีฉายรังสี ไขกระดูก ครั้งแรกในอินเดีย

บทความ

ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Center เมืองเจนไน บรรลุเทคโนโลยีฉายรังสี ไขกระดูก ครั้งแรกในอินเดีย

News Update วันศุกร์ที่ 17  พฤษภาคม 2562 : เจนไน, อินเดีย-- พ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ รายงานว่า ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Center (APCC) ในเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย

ประสบความสำเร็จในการฉายรังสีที่ไขกระดูก ( Total Marrow Irradiation หรือ TMI ) ซึ่งเป็นขั้นตอนเตรียมการก่อนปลูกถ่ายไขกระดูก โดยความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นความก้าวหน้าครั้งแรกของการรักษาโรคมะเร็งในอินเดีย

ดร. Preetha Reddy รองประธาน Apollo Hospitals Group กล่าวว่า "ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Centre ได้เปิดขอบข่ายใหม่ในการดูแลรักษามะเร็ง

และนับเป็นช่วงเวลาที่ภาคภูมิใจที่ได้เห็น APCC บรรลุเป้าหมายสำคัญเป็นครั้งแรกในประเทศ หลังจากที่เปิดตัวเพียงไม่กี่เดือน

ความสำเร็จนี้เป็นการพิสูจน์การลงทุนของเราใน APCC ในการนำเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีและทันสมัยที่สุดมาสู่อินเดีย

เรามั่นใจว่า ในอนาคตจะได้เห็น APCC บรรลุเป้าหมายสำคัญอีกมากมาย และต่อสู้กับโรคมะเร็งไม่ใช่เพื่อผู้ป่วยในอินเดียเท่านั้น แต่ยังเพื่อผู้ป่วยที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย"

พยาบาลวัย 35 ปีจากประเทศโอมาน ได้เข้ารับการรักษาที่ศูนย์รักษาด้วยอนุภาคโปรตอนแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอิรอยด์ (CML) และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันฟีโนไทป์ผสม

โดยหลังจากการวินิจฉัย เธอถูกส่งตัวไปยัง Apollo Hospitals เพื่อปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งคณะแพทย์ที่ Apollo ได้ตัดสินใจเตรียมการก่อนปลูกถ่ายด้วยการฉายรังสีที่ไขกระดูก

ดร. Jose M Easow กล่าวว่า "ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในเดือนที่แล้ว และหลังจากการวินิจฉัยอย่างละเอียด เราได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการรักษาต่อด้วยการฉายรังสีที่ไขกระดูก

ตามด้วยการทำคีโมและปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด ซึ่งพี่ชายของผู้ป่วยเป็นผู้บริจาคที่มีคุณสมบัติตรงกันทั้งหมด โดยผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดีและกำลังเตรียมพร้อมเพื่อออกจากโรงพยาบาล"

คุณ Fatima ผู้ป่วย กล่าวว่า "ฉันรู้สึกขอบคุณรัฐบาลโอมาน ประเทศโอมาน ที่เลือกและส่งฉันไปที่ Apollo Hospitals เมืองเจนไน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งในอินเดีย

ดิฉันได้รับการแนะนำให้ปลูกถ่ายไขกระดูก และพี่ชายของฉันได้รับเลือกเป็นผู้บริจาค ฉันเข้ารับการรักษาในวันที่ 5 เม.ย. และรู้สึกเหมือนอยู่บ้านนับตั้งแต่วันแรก

ในฐานะพยาบาล ฉันรู้ว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีมีผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยอย่างไร แต่กระบวนการฉายรังสีที่ไขกระดูกที่ฉันได้รับนั้นแตกต่างและช่วยชีวิตฉันไว้ โดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก การรักษานี้ทำให้ฉันมั่นใจและมองโลกในแง่ดีมากขึ้น"

ดร. Srinivas Chilukuri ที่ปรึกษาอาวุโสด้านรังสีมะเร็ง กล่าวว่า "ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสีที่ทันสมัยในปัจจุบัน จึงมีความเป็นไปได้ที่การฉายรังสีที่ไขกระดูกนั้น จะปกป้องอวัยวะปกติจากความเสียหายที่เกิดจากรังสีได้"

Apollo Proton Cancer Centre, Chennai performs India's First Total Marrow Irradiation Procedure

CHENNAI, India--  May- PRNewswire / InfoQuest In a first-ever milestone in cancer treatment in India, the Apollo Proton Cancer Center (APCC) in Chennai has successfully performed Total Marrow Irradiation (TMI) as a conditioning protocol prior to Bone Marrow Transplant.

Dr. Preetha Reddy, Vice Chairperson, Apollo Hospitals Group said, "The Apollo Proton Cancer Centre has opened new frontiers in cancer care and it is a proud moment today, just a few months after the launch, to see the APCC achieve this significant landmark for the first time in the country.

This achievement validates our investment in the APCC in bringing this best and latest medical technology to India.

We are sure that the future will see the APCC achieve many more milestones and take the battle against cancer forward not just for patients in India but also from South East Asia."

A 35-year-old nurse from Oman underwent the procedure at South East Asia's first Proton Therapy Center.

She was diagnosed with Chronic Myeloid Leukemia (CML) with mixed phenotypic acute leukemia. After the diagnosis, she was referred to Apollo Hospitals for Bone Marrow Transplant.

The doctors at Apollo decided to proceed with Total Marrow Irradiation based conditioning for the transplant.

"The patient was admitted last month and after detailed diagnosis, we decided to proceed with Total Marrow Irradiation followed by chemo and peripheral blood stem cell transplantation.

The patient's brother turned out to be a full-matched donor.

The patient has responded very well to the treatment and is getting ready for discharge," said Dr. Jose M Easow.

The patient, Ms. Fatima, said, "I am grateful to the Oman Government, Oman for selecting and sending me to Apollo Hospitals, Chennai which is the best hospital to treat cancer in India.

I was advised BMT, and my brother was selected as a donor.

I was admitted on April 5th and felt at home from Day One. As a nurse, I know how radiation therapy can affect a patient's normal life due to side effects.

The Total Marrow Irradiation procedure done for me was different and it has saved my life with much less side-effects. The procedure made me more confident and positive."

"With modern radiation technology, it is now possible to deliver Total Marrow Irradiation (TMI) which spares the normal organs from radiation induced damage," said Dr. Srinivas Chilukuri, Senior Consultant Radiation Oncology.

17 พฤษภาคม 2562

ผู้ชม 1627 ครั้ง

Engine by shopup.com