ปลัดสุขุม กาญจนพิมาย ห่วงใย ชาวสาธารณสุข และ ผู้ป่วย แม้จะอยู่ไกล เพราะไปประชุม WHO สั่งดำเนินคดี เหตุทะเลาะภายในโรงพยาบาล

บทความ

ปลัดสุขุม กาญจนพิมาย ห่วงใย ชาวสาธารณสุข และ ผู้ป่วย แม้จะอยู่ไกล เพราะไปประชุม WHO สั่งดำเนินคดี เหตุทะเลาะภายในโรงพยาบาล

News Update วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม 62 :  "ทะเลาะในโรงพยาบาล" "เหตุทะเลาะวิวาทในโรงพยาบาล"  "รพ.เหล่าเสือโก้ก"  "เหตุทะเลาะวิวาทฟันกันภายในห้องฉุกเฉิน"  "ในโรงพยาบาลก็ไม่เว้น"

กระทรวงสาธารณสุข ประสานตำรวจแจ้งความดำเนินคดี และเรียกค่าเสียหายกับผู้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท

ทำร้ายร่างกายผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ในโรงพยาบาลที่ จังหวัดยโสธรและอุบลราชธานี พร้อมกำชับโรงพยาบาลทุกแห่งวางมาตรการความปลอดภัยตามแนวทางที่ให้ไว้

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ รายงานว่า นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 10

ให้สัมภาษณ์ว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

ข่าวจากสื่อ ผู้เข้าไปทำร้ายผู้ป่วยที่กำลังรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเหล่าเสือโก้ก ต.เหล่าเสือโก้ก

หลังเกิดเหตุมีผู้เข้าไปทำร้ายผู้ป่วยที่กำลังรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเหล่าเสือโก้ก ต.เหล่าเสือโก้ก อ.เหล่าเสือโก้ก จ.อุบลราชธานี และเหตุทำร้ายญาติผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร

พร้อมกำชับให้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุ และเรียกร้องค่าเสียหายจากการทำลายเครื่องมือแพทย์อย่างถึงที่สุดเพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ

“โดยที่โรงพยาบาลเหล่าเสือโก้ก มีผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ 1 ราย ส่งรักษาต่อที่ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มีอุปกรณ์การแพทย์ที่เสียหาย คือเครื่องวัดความดันโลหิต

ส่วนโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทาผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นญาติผู้ป่วย 

นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 10

เบื้องต้น ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในเขตสุขภาพทุกแห่ง ประสานงานตำรวจทันที หากมีผู้ป่วยจากการทะเลาะวิวาทเข้ามารักษาไม่ต้องรอเกิดเรื่องก่อน

ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกันญาติ หรือมีประตูนิรภัยให้ล็อคประตูทันที รวมทั้งติดกล้องวงจรปิดเพิ่ม” นายแพทย์ธงชัย กล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรการเพิ่มความปลอดภัยในโรงพยาบาล โดยเฉพาะบริเวณห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงเกิดเหตุบ่อยครั้ง ดังนี้

1.ให้โรงพยาบาลจัดทำแนวทางปฏิบัติป้องกันและจัดการความรุนแรง ทบทวน ฝึกซ้อมและปรับปรุงเป็นประจำ 2.จัดทำระบบควบคุมประตู หรือมีทางเข้า-ออก ที่ปลอดภัยหลายช่องทาง

3.จัดสถานที่พักคอยสำหรับญาติ รวมทั้งจำกัดการเข้าออก 4.ตรวจสอบกล้องวงจรปิดให้พร้อมใช้งาน และติดตั้งเพิ่มในจุดเสี่ยง

5.จัดระบบคัดกรองโดยเฉพาะผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน และจัดบริการให้เหมาะสมกับความเร่งด่วน รวมทั้งให้สื่อสารกับญาติผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อลดความวิตกกังวล 6.จัดเวรยามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง

7.จัดหาสัญญาณเตือนภัย หรืออุปกรณ์ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน และมีช่องทางแจ้งเหตุด่วนกับตำรวจ ฝ่ายปกครอง และเครือข่ายอาสาสมัคร มูลนิธิต่างๆในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม แม้กระทรวงสาธารณสุขจะมีมาตรการป้องกัน แต่คงป้องกันไม่ได้ทั้งหมด ต้องขอความร่วมมือประชาชนผู้มารับบริการ

รวมทั้งญาติผู้ป่วย ช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในโรงพยาบาล ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ปลอดความรุนแรงสำหรับประชาชนทุกคน  และที่สำคัญคือ จิตสำนึกความรับผิดชอบของผู้ที่ตั้งใจเข้ามาก่อเหตุ

20 พฤษภาคม 2562

ผู้ชม 1865 ครั้ง

Engine by shopup.com