ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี นำของกลาง น้ำยาเติมบุหรี่ไฟฟ้า ตรวจด้วยวิธี Thin Layer Chromatography พบสารนิโคตินทุกตัวอย่าง

บทความ

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี นำของกลาง น้ำยาเติมบุหรี่ไฟฟ้า ตรวจด้วยวิธี Thin Layer Chromatography พบสารนิโคตินทุกตัวอย่าง

News Update วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 62 :  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี  นำตัวอย่างของกลางที่เป็นน้ำยา สำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า จำนวน  51 ตัวอย่าง จากสถานีตำรวจในจังหวัดชลบุรี 

ซึ่งบางตัวอย่าง ไม่ได้มาตรฐาน จึงตรวจพบสารนิโคตินในทุกตัวอย่าง ขณะที่ อย. สหรัฐฯ อนุมัติ ให้ ฟิลลิป มอร์ริส จำหน่าย ยาสูบไร้ควัน หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ได้แล้ว ( อ่านข่าว FDA สหรัฐ อนุญาตขายบุหรี่ไฟฟ้า

โดย นายมาร์ติน คอคเรล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบของ PHE สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษ มีการวิจัยซ้ำๆ กันหลายครั้งด้วยเทคโนโลยีมาตรฐาน (  อ่านข่าว "สาธารณสุขอังกฤษ" Public Health England ลุยผลักดัน "บุหรี่ไฟฟ้า"

 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรีตรวจด้วยวิธี Thin Layer Chromatography (TLC ) พบสารนิโคตินในทุกตัวอย่าง

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ รายงานว่า  นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึง บุหรี่ไฟฟ้า จัดเป็นผลิตภัณฑ์ห้ามส่งออกหรือนำเข้ามาในประเทศ

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ห้ามขายหรือให้บริการตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

แต่ปัจจุบันยังพบการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากมีรูปลักษณ์และองค์ประกอบที่ดึงดูดใจให้วัยรุ่นหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้า รวมทั้งอาจเกิดความเข้าใจผิด ว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีนิโคติน

ตัวอย่างของกลางที่เป็นน้ำยาเติมบุหรี่ไฟฟ้า จากสถานีตำรวจในจังหวัดชลบุรี โดยจับกุมจากวัยรุ่นที่นำมาใช้แบบไร้มาตรฐาน

บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่มีเพียงสารนิโคตินที่ทำให้ติดและเป็นสารก่อมะเร็งเท่านั้น ยังมีสารที่ทำให้เกิดไอน้ำ และอาจมีโลหะหนักและสารพิษอื่นๆ อีกได้

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่ออีกว่า ในปี พ.ศ. 2559-2561 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี ได้รับตัวอย่างของกลางที่เป็นน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้าจำนวน  51 ตัวอย่าง  

จากสถานีตำรวจในจังหวัดชลบุรี ซึ่งส่งมาตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด จากการตรวจด้วยวิธี Thin Layer Chromatography (TLC ) พบสารนิโคตินในทุกตัวอย่าง

รวมทั้งตัวอย่างที่ข้างขวดระบุว่าปราศจากสารนิโคตินด้วย และเนื่องจากในการผลิตน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่มีกฎหมายควบคุมกำกับ ผู้สูบจึงอาจเสี่ยงได้รับสารนิโคติน มากเกินขนาดตามปริมาณสารนิโคตินของผู้ผลิตแต่ละราย

“นอกจากนี้การสูบบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นจุดเริ่มต้นของเยาวชนที่กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ ซึ่งอาจ เริ่มทดลองใช้บุหรี่ไฟฟ้าจนทำให้ติด ซึ่งอาจนำไปสู่การสูบบุหรี่หรือเสพสารเสพติดชนิดอื่นๆ ในอนาคตได้”  นายแพทย์โอภาส กล่าวทิ้งท้าย

อ่านข่าว  “ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu” เรียกร้องเอเชียพิจารณาบุหรี่ไฟฟ้า

27 พฤศจิกายน 2565

ผู้ชม 2308 ครั้ง

Engine by shopup.com