ปลายฝนต้นหนาว งูพิษชุม ชอบซ่อนตัวในชักโครก งูเห่า งูจงอาง งูกะปะ หากโดนกัด โทร 1669 โรงพยาบาลที่มีเซรุ่มแก้พิษงู
ปลายฝนต้นหนาว งูพิษชุม ชอบซ่อนตัวในชักโครก งูเห่า งูจงอาง งูกะปะ หากโดนกัด โทร 1669 โรงพยาบาลที่มีเซรุ่มแก้พิษงู
เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ - ปลายฝนต้นหนาว งูพิษชุม ชอบซ่อนตัวในชักโครก งูเห่า งูจงอาง งูกะปะ หากโดนกัด โทร 1669 โรงพยาบาลที่มีเซรุ่มแก้พิษงูสำรองทั่วประเทศ
News Update วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ : กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนช่วงฤดูฝนระวังงูกัด แนะหลีกเลี่ยงบริเวณที่รก มีหญ้าสูง โดยเฉพาะตอนกลางคืน
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงช่วงปลายฤดูฝน ประชาชนอาจถูกสัตว์มีพิษกัดต่อยได้
ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างทันท่วงที ลดการเสียชีวิต
และขอแนะนำประชาชนให้หลีกเลี่ยงการเดินในบริเวณที่รก มีหญ้าสูง หรือเข้าป่าในเวลากลางคืน
โดยเฉพาะตอนพลบค่ำ และเวลาที่ฝนตกปรอย ๆ ที่ชื้นแฉะ ซึ่งเป็นช่วงที่งูออกหากินต้องระวังเป็นพิเศษ
หากจำเป็นต้องออกจากบ้านตอนกลางคืน หรือเข้าไปในป่าหรือทุ่งหญ้า ควรมีไฟฉายส่องทาง และใช้ไม้แกว่งไปมาให้มีเสียงดัง เพื่อให้งูหนีไปที่อื่น
งูเห่า
“ยังมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่า หากถูกงูกัดให้กรีดแผล ใช้ไฟจี้แผล ใช้ปากดูดพิษงูออกจากแผล หรือพอกยา พอกสมุนไพรในแผลที่ถูกงูกัด
ซึ่งไม่มีประโยชน์ในการลดพิษและอาจทำให้ติดเชื้อได้ รวมทั้งไม่ควรทำการขันชะเนาะ เพราะเพิ่มความเสี่ยงเกิดเนื้อเน่าตาย
รวมทั้งหากเป็นงูที่มีพิษต่อระบบประสาทมีรายงานว่าผู้ป่วยอาจอาการแย่ลง จนเกิดภาวะหายใจวายทันทีหลังคลายการขันชะเนาะได้ วิธีที่ถูกต้องคือ
ขอให้ตั้งสติและสังเกตลักษณะของงู รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด หรือโทรแจ้ง 1669
โดยล้างบริเวณที่ถูกงูกัดด้วยน้ำสะอาด เคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ยกให้อยู่ในระดับต่ำกว่าหัวใจ
อาจดามด้วยแผ่นไม้หรือวัสดุแข็งแล้วใช้ผ้าพันแผลยางยืดรัดให้แน่น เพื่อประคองให้ส่วนที่ถูกกัดอยู่นิ่งที่สุด
ไม่จำเป็นต้องรอจับงูที่กัดมาด้วย เพราะจะเสียเวลาในการรักษา ซึ่งแพทย์สามารถให้การรักษาได้จากอาการและการสอบถามลักษณะงูที่กัดจากผู้ป่วย” นายแพทย์ไพศาลกล่าว
ทั้งนี้ งูพิษมีเขี้ยวยาว 2 เขี้ยวอยู่ด้านหน้าขากรรไกรบน ลักษณะเป็นท่อปลายแหลมเหมือนเข็มฉีดยา มีท่อต่อมน้ำพิษที่โคนเขี้ยว
เมื่องูกัดพิษจะไหลเข้าสู่ร่างกายทางรอยเขี้ยว และมีอาการบวมแดงรอบ ๆ รอยกัด
บางครั้งอาจเห็นเพียงรอยเดียว โดยเฉพาะถ้าถูกกัดบริเวณปลายมือปลายเท้า หรือบางครั้งอาจเห็นมากกว่า 2 รอยในกรณีที่ถูกกัดมากกว่า 1 ครั้ง อาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน หายใจติดขัด
หากรุนแรงอาจหยุดหายใจ สายตาขุ่นมัว มีน้ำลายมากผิดปกติ และหน้าชาไม่รู้สึกหรือชาตามแขนขา
โดย พิษนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงู เช่นงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา จะมีพิษต่อระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหนังตาตก กลืนลำบาก พูดไม่ชัด และหยุดหายใจได้
ดรีม เลี้ยงงู ig งูจงอาง
ขณะที่ ปัญหาในการรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูกัดมีหลายตอน เช่น ผู้ป่วยถูกอะไรกัดแน่ ถ้าผู้ป่วยเห็นตัวงูหรือนำซากงูมาด้วยจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นงูพิษ
และถ้าทราบว่าเป็นงูพิษจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้ป่วยรายนั้นได้รับพิษงูเข้าสู่ร่างกาย และเมื่อจำเป็นจะต้องให้ยาแก้พิษงู ( antivenom ) จะใช้ dose แรกขนาดเท่าใดจึงจะพอ
เมื่อไรจึงจะให้ dose ที่สอง และมีหลักเกณฑ์อย่างไร การให้ antivenom มีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ยังเป็นปัญหาที่ถามกันอยู่เสมอ
โดยเฉพาะแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในต่างจังหวัดซึ่งมีเครื่องมือจำกัด โดยความเป็นจริงแล้วการซักประวัติและอาศัยหลักระบาดวิทยาของงูพิษ
พร้อมกับการตรวจร่างกายของผู้ป่วยโดยละเอียด แล้วนำมาประกอบกับอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น จะเป็นแนวทางอย่างดีในการรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูกัด
ภาพประกอบข่าว ดรีม เลี้ยงงู ig ดรีม สิทธินัย ig @s_somroop
หรือจะเป็นเฟสบุ๊ค ดรีม สิทธินัย Dreammy Sittinai
27 ตุลาคม 2563
ผู้ชม 5240 ครั้ง