แพทย์สถาบันโรคทรวงอกชี้ นอนหลับไม่เพียงพอ นอนขาดตอนเป็นช่วงๆ ส่งผลต่อสมอง ก่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
แพทย์สถาบันโรคทรวงอกชี้ นอนหลับไม่เพียงพอ นอนขาดตอนเป็นช่วงๆ ส่งผลต่อสมอง ก่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
คำค้น : นอนหลับไม่เพียงพอ , นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ , เว็บไซต์สุขภาพ , เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข , สถาบันโรคทรวงอก , นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ , อายุรศาสตร์หัวใจ , เวชกรรมสาขาอายุรกรรม , นอนไม่พอ ปวดหัว , นอนไม่พอ คลื่นไส้ , แก้อาการนอนไม่พอ , นอนไม่พอ กินอะไรดี , อาการพักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด , พักผ่อนไม่เพียงพอ เวียนหัว , เวียนหัว นอนไม่หลับ , นอนไม่พอ ใจสั่น
News Update วันอังคารที่ 11 มิถุนายน 62 : สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ แนะหลักปฏิบัติตนให้มีสุขอนามัยที่ดีในการนอน
เตือนหากมีสุขอนามัยในการนอนที่ไม่ดีหรือนอนหลับขาดตอนเป็นช่วงๆ จะส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา
เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ รายงานว่า นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลถึงการ นอนหลับที่ไม่เพียงพอ
นอนหลับ ขาดตอนเป็นช่วงๆ ว่า มีผลต่อการทำงานของสมอง และทำให้ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน
อาจเผลอหลับในขณะทำงาน ประชุม หรือหลับในขณะขับรถซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิตได้
นอกจากนี้ยังส่งผลให้ ไม่มีสมาธิในการทำงาน หลงลืม หงุดหงิดง่าย วิตกจริต ซึมเศร้า ปวดศีรษะ มีความต้องการทางเพศลดลง
และที่สำคัญเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น
นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การมีสุขอนามัยที่ดีในการนอนควรเริ่มต้นด้วยการเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน และควรใช้ห้องนอนเพื่อการนอนหลับ
ซึ่งบรรยากาศภายในห้องควรเงียบ สงบ สบาย โดยมีอุณหภูมิที่พอเหมาะไม่มีเสียงหรือแสงรบกวน งดการออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนนอน ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อหนัก
หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ควรงดสูบบุหรี่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดูภาพยนตร์ตื่นเต้น หรือสยองขวัญก่อนนอน
ทั้งนี้หากนอนไม่หลับภายใน 20 นาที ไม่ควรพยายามหลับตาและควรลุกจากที่นอนหากิจกรรมเบาๆทำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ แล้วกลับมานอนใหม่อีกครั้งเมื่อรู้สึกง่วง
นอกจากนี้การได้รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน ยังเป็นการช่วยทำให้การนอนหลับมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากแสงแดดเป็นตัวกระตุ้นการควบคุมนาฬิกาชีวิตที่สำคัญของร่างกาย สำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ หลังจากที่ได้สำรวจสุขอนามัยการนอนหลับและลองปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว
หากยังนอนไม่หลับอยู่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และไม่ควรซื้อยานอนหลับมารับประทานเองติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
11 มิถุนายน 2562
ผู้ชม 2398 ครั้ง