โรคมือ เท้า และปาก Hand, foot and mouth disease หมอเตือน เจอภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตายได้ เว็บไซต์สุขภาพ

บทความ

โรคมือ เท้า และปาก Hand, foot and mouth disease หมอเตือน เจอภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตายได้

Hand Foot Mouth Disease , อาการของโรคมือเท้าปาก , โรคมือ-เท้า-ปาก , เว็บไซต์สุขภาพ , ข่าวสุขภาพ , โรคมือเท้าปาก เกิดจากอะไร วิธีรักษาให้หายขาด , โรคมือเท้าปาก อันตรายไหม , อาการ โรค มือ เท้า ปาก สาย พันธุ์ ใหม่ , การป้องกันโรคมือเท้าปาก , รูปโรคมือเท้าปาก , อาการโรคมือเท้าปากในทารก

News Update วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2562 : ในช่วงฤดูฝนนี้นอกจากไข้หวัดที่พบบ่อยแล้ว อีกหนึ่งโรคที่ต้องระมัดระวังในเด็กเล็ก และเด็กวัยเรียน นั่นก็คือ โรคมือเท้าปาก ที่มีการแพร่ระบาด

โรคนี้เกิดจากการเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัสในลำไส้คน ซึ่งทารก เด็กเล็กมีโอกาสป่วยง่าย และจะรุนแรงกว่าเด็กโต มักพบในสถานรับเลี้ยงเด็ก และโรงเรียนอนุบาล

แพทย์หญิงนงนภัส เก้าเอี้ยน

กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า แพทย์หญิงนงนภัส เก้าเอี้ยน กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลถึงลักษณะอาการของโรคนี้ 

ทำให้มีตุ่มผื่นหรือแผลที่ผิวหนังบริเวณมือ เท้า หรือมีแผลภายในปาก ทำให้เด็กๆ เจ็บปาก จนรับประทานไม่ได้

นอกจากนี้อาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ  เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย  สามารถติดต่อกันได้ผ่านการไอ หรือจาม น้ำมูก การสัมผัสตุ่มน้ำตามผิวหนัง น้ำลายหรืออุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยโรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว  3-6 วัน

และหลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ต่ำๆ เจ็บคอ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย หลังจากมีไข้ 1-2 วัน จะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบที่ผิวหนังบริเวณมือ เท้า และมีแผลในปาก เช่น ที่กระพุ้งแก้ม เพดาน ลิ้น

รวมถึงริมฝีปาก ส่วนใหญ่แล้วผู้ปกครองหรือคุณครูที่โรงเรียนสามารถสังเกตอาการของเด็กในเบื้องต้นได้ เช่น มีไข้ ­ตุ่มหรือผื่นตามมือ เท้า และแผลในปาก 

นอกจากแผลที่เกิดขึ้นตามตัวและในบริเวณปาก จะสร้างความเจ็บปวด รำคาญ ให้เด็กทรมานแล้ว โรคมือเท้าปาก ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไปจนถึงเสียชีวิตได้

รูปโรคมือเท้าปาก 

โดยคุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กๆมาพบพบแพทย์เพื่อตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์จะตรวจร่างกายเพื่อดูผื่นหรือตุ่มที่ผิวหนัง และแผลในปากเป็นหลัก

บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจนำตัวอย่างของเหลวภายในลำคอ หรืออุจจาระส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการป่วยต่อไป

โดยทั่วไปแล้ว  โรคมือ เท้า ปาก อาการจะดีขึ้นและหายป่วยเองภายในเวลา 7-10 วัน โดยเฉพาะปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาดในทันที

และยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากได้ ฉะนั้นแนวทางการป้องกันไม่ใหเกิดการติดเชื้อจึงเป็นวิธีการหลีกเลี่ยงโรคได้  

อาทิ  การรักษาความสะอาดของร่างกาย  หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้สิ่งของหรือภาชนะร่วมกัน เช็ดทำความสะอาดของเล่นบ่อยๆ 

หลีกเลี่ยงการให้เด็กคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อเช็ดน้ำมูกหรือน้ำลายให้เด็กแล้วต้องล้างมือให้สะอาดโดยเร็วหากเด็กมีอาการดังกล่าว

รูปโรคมือเท้าปาก  

อย่าประมาท โรคมือเท้าปาก ควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคมือเท้าปาก ต้องให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหาย 

หากมีเด็กในโรงเรียนป่วยเป็น โรคมือ เท้า ปาก ต้องแยกเด็กที่ป่วยออก ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน และพักอยู่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ รวมถึงควรปิดโรงเรียนเพื่อทำความสะอาดหากพบเด็กติดเชื้อโรคมือเท้าปากพร้อมกันหลายคน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่ใกล้ตัวหนูน้อยอย่างมาก แต่หากพ่อแม่มีความใส่ใจ ดูแลลูกหลานอย่างใกล้ชิดและเฝ้าสังเกตอาการ

หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน 

                                                 

03 กรกฎาคม 2562

ผู้ชม 4750 ครั้ง

Engine by shopup.com