สถิติ คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 4,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน แนะโทร สายด่วนโรคซึมเศร้า 1323
สถิติ คนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 4,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน แนะโทร สายด่วนโรคซึมเศร้า 1323
i am from ศรีธัญญา , ฆ่าตัวตาย , ฆ่าตัวตาย , อุบัติเหตุ , ข่าววันนี้ , ข่าวด่วน , สังคม , สายด่วนสุขภาพจิต 1300 , สายด่วนสุขภาพจิต , สายด่วนโรคซึมเศร้า , เว็บไซต์สุขภาพ , สายด่วนสุขภาพจิต 1323 , medhub news , สถิติผู้ป่วยจิตเภท 2561 , สายด่วนจิตเวช , สายด่วนกรมสุขภาพจิต , 1323 โทรไม่ติด , โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323
News Update: หลังจาก กรณีมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตายสำเร็จมากขึ้น ทำให้คนไทยตื่นตัวสุขภาพจิตกันมากขึ้น
กรมสุขภาพจิต เผยสถานการณ์คนไทยพยายามฆ่าตัวตายปีละ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน คนฆ่าตัวตายสำเร็จปีละ 4,000 คน แนะบุคคลใกล้ชิดสังเกต 10 สัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดในประเทศไทย พบว่า ในแต่ละปีจะมีคนพยายามฆ่าตัวตายปีละ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน
โดยจะมีคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 4,000 คน ในปี 2561 อัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 6.11 เพิ่มขึ้นจากอัตรา 6.03 ในปี 2560
เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าเพศหญิงกว่า 4 เท่า ช่วงอายุที่มีจำนวนการฆ่าตัวตายสูงสุดของเพศชายอยู่ที่ 35-39 ปี ส่วนเพศหญิงจำนวนการฆ่าตัวตายสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 50-54 ปี
สาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายส่วนหนึ่งมาจากโรคซึมเศร้า ปัญหาด้านความสัมพันธ์ ความรัก ปัญหาด้านการใช้สุราและยาเสพติด ซึ่งข่าวการฆ่าตัวตายแต่ละครั้งจะกระทบต่อจิตใจของแต่ละคน โดยเฉพาะกับคนใกล้ชิด
ซึ่งแนวทางป้องกันการฆ่าตัวตายสามารถป้องกันได้จากบุคคลรอบข้าง ครอบครัว ญาติ เพื่อนสนิท คนใกล้ชิด ชุมชม และสังคม การดูแลจิตใจซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ การพูดคุยซักถาม รับฟัง ให้กำลังใจ
ให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่กำลังมีปัญหาอย่างใส่ใจ ให้คลายจากความเศร้า ความกังวล เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้
โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเคยทำร้ายตนเองมาก่อน จะต้องคอยดูแลใกล้ชิด ช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ หรือพาไปรับการรักษากับแพทย์ เช่นเดียวกับในรายที่มีความเครียดหรือมีอาการซึมเศร้า ซึ่งจะมีทั้งการใช้ยารักษา
ต้องกินยาอย่างต่อเนื่อง และการให้การปรึกษาทางจิตวิทยา เพื่อเปลี่ยนความคิดและมุมมองก็จะช่วยได้
สำหรับการสังเกตสัญญาณเตือนหรือสัญญาณผู้ที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตาย 10 สัญญาณ ดังนี้ 1. ประสบปัญหาชีวิต เช่น ล้มละลาย เป็นหนี้ สูญเสียคนรักกะทันหัน พิการจากอุบัติเหตุ 2. ใช้สุราหรือยาเสพติด
3 มีประวัติคนในครอบครัวเคยฆ่าตัวตาย 4. แยกตัว ไม่พูดกับใคร 5. นอนไม่หลับเป็นเวลานาน
6 พูดด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล สีหน้าเศร้าหมอง 7. มีอารมณ์แปรปรวน จากซึมเศร้าหรือหงุดหงิดมานาน เป็นสบายใจร่าเริงผิดปกติ 8. พูดว่าอยากตาย หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่
9 เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน และ 10. มีการวางแผนการฆ่าตัวตายไว้ล่วงหน้า เช่น พูดจาฝากฝังคนข้างหลัง จัดการทรัพย์สิน เป็นต้น หากพบผู้ที่มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่กล่าวมา
ขอให้รีบเข้าไปพูดคุย รับฟัง และให้ความช่วยเหลือ ส่วนผู้ที่มีปัญหาสามารถโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
01 ตุลาคม 2562
ผู้ชม 5197 ครั้ง