จิตแพทย์โคราช แนะวิธีป้องกันโรคหมดไฟ หรือ โรคเบิร์นเอาท์ Burnout เลี่ยงหักโหมงานหนัก ไม่หอบงานไปทำที่บ้าน
จิตแพทย์โคราช แนะวิธีป้องกันโรคหมดไฟ หรือ โรคเบิร์นเอาท์ Burnout เลี่ยงหักโหมงานหนัก ไม่หอบงานไปทำที่บ้าน
เว็บไซต์สุขภาพ ,โรคหมดไฟการทํางาน , burnout syndrome แบบทดสอบ , 12 ขั้น ตอน การ เกิด burn out syndrome , burnout syndrome รักษา , burnout syndrome ทดสอบ , ภาวะ burnout syndrome , โรค ภาวะ เมื่อ ย ล้า หมด ไฟ , โรคเบื่อ , แพทย์หญิงภรทิตา เลิศอมรวณิช
News Update วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2562 : จิตแพทย์ แนะวิธีป้องกันปัญหาหมดไฟทำงาน ไม่ควรหักโหมทำงานหนัก ไม่หอบงานไปทำต่อที่บ้าน ไม่ท่องโลกโซเซียลบ่อย ไม่นำปัญหาในที่ทำงานกลับไปบ้าน
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมา
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ประชุมองค์การอนามัยโลก ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2562
ได้มีมติให้ ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟ หรือที่เรียกว่า โรคเบิร์นเอาท์ ( Burnout ) เป็นสภาพที่ต้องได้รับการรักษาในทางการแพทย์เป็นครั้งแรก
โดยจะเริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565 นับว่าเป็นประเด็นปัญหาทางสุขภาพใจที่มักเกิดกับคนวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด และมีความสำคัญต่อการสร้างเศรษฐกิจครอบครัวและประเทศชาติ
ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟนั้น มักจะเกิดกับบุคคลที่สะสมความเครียดจากเรื่องต่างๆ ไว้มากเกินไป และไม่ได้รับการแก้ไขหรือปฏิบัติอย่างเหมาะสม สามารถส่งผลกระทบทั้งร่างกายคือ นอนไม่หลับ รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามร่างกาย ประสิทธิภาพการทำงานถดถอยลง ส่วนผลกระทบทางอารมณ์จิตใจ บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวน รู้สึกสิ้นหวัง หงุดหงิด
อาจถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกับคนรอบข้างได้ง่าย รวมทั้งบางคนอาจหาทางออกในทางที่ผิด
เช่นสูบบุหรี่จัดขึ้น ดื่มหนักขึ้น หรือเที่ยวเตร่ ไปทำงานสาย เป็นต้น
แพทย์หญิงภรทิตา เลิศอมรวณิช
ผลการศึกษาในต่างประเทศ พบว่าคนทำงานประมาณ 1 ใน 4 มีความเครียด โดยร้อยละ60 มีสาเหตุมาจากการทำงาน
ด้านแพทย์หญิงภรทิตา เลิศอมรวณิช จิตแพทย์ประจำรพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาเมื่อยล้าหมดไฟ สามารถป้องกันได้ ประการสำคัญที่สุดคือต้องเริ่มจากตัวเอง
โดยมีคำแนะนำแนวทางที่ควรทำ 6 ประการ ดังนี้ 1.ให้ยึดหลักสมดุลชีวิต แบ่งเวลาแต่ละวันออกเป็น 3 ส่วน คือทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับพักผ่อนเพื่อซ่อมแซมร่างกายอย่างเพียง 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมง ใช้เพื่อพักผ่อนหย่อนใจได้ทั้งส่วนตัว ครอบครัวหรือเพื่อนฝูง
2 ควรจัดลำดับงานสำคัญหรือเร่งด่วน 3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วัน การออกกำลังกายจะทำให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข ช่วยสลายความเครียดได้อย่างดีและช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะประเภทผัก ผลไม้ ที่มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดี เช่น ผลไม้ที่ให้วิตามินซี เช่น ฝรั่ง ส้ม มะขามป้อม พืชผักที่มีสีเขียวเข้ม เป็นต้น
3 พูดคุยสร้างอารมณ์ขันในหมู่เพื่อนร่วมงาน และ6.เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน ขอให้ปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน อย่าอาย เนื่องจากการปรึกษาจะช่วยให้เราคลายข้อคับข้องใจและหาทางออกได้เหมาะสมขึ้น
พฤติกรรมที่ควรเลี่ยง ลด ละ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดปัญหาหมดไฟทำงานง่ายขึ้น ที่สำคัญและใกล้ตัวมี 4 พฤติกรรม คือ 1. อย่าทำงานอย่างหักโหม เนื่องจากจะมีผลให้ร่างกายถูกใช้งานมาก เสื่อมโทรมเร็ว ภูมิต้านทานโรคจะลดลง
2 อย่าหอบงานกลับไปทำต่อที่บ้าน 3. การใช้เวลาว่างท่องโลกโซเซียลต่างๆ และ4. อย่านำปัญหาในที่ทำงานกลับไปบ้านหรือนำปัญหาจากบ้านไปที่ทำงาน
เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ จะทำให้สะสมความเครียด รวมทั้งเบียดเบียนเวลาในการพักผ่อนให้น้อยลงไปด้วย
สำหรับสัญญานของอาการที่ส่อแววว่าจะหมดไฟทำงาน ประชาชนสามารถสังเกตตัวเองได้ 6 ประการ ดังนี้ 1. มีความรู้สึกว่าชีวิตมีความสุขน้อยลง 2. อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา ไม่กระตือรือร้น เบื่อเซ็งไม่อยากตื่นไปทำงาน 3. ไม่มีสมาธิในการทำงาน
4 เริ่มมีทัศนคติไม่ดีต่องานที่ทำอยู่ หรือมองโลกในแง่ลบ รู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถ 5. มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย 6. หาตัวช่วยเพื่อให้มีแรงทำงาน เช่นดื่มกาแฟ สูบบุหรี่จัดขึ้น เป็นต้น
หากมีอาการที่กล่าวมา อาจแก้ปัญหาโดยอาจลางานพักผ่อนสักระยะ จะช่วยผ่อนคลายและรู้สึกดีขึ้น แต่หากรู้สึกว่าชีวิตตัวเองยังไม่มีความสุข อึดอัดใจ
หรือเกิดอาการวิตกกังวลบ่อยๆ สามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด24 ชั่วโมง
07 กรกฎาคม 2562
ผู้ชม 4454 ครั้ง