สาธารณสุขหยิบ เซลล์บำบัด ปัดฝุ่น กำหนด ร่างพ.ร.บ.เซลล์บำบัด หลังปล่อยให้เป็นการรักษาโรคเถื่อน ผิดกฎหมาย
สาธารณสุขหยิบ เซลล์บำบัด ปัดฝุ่น กำหนด ร่างพ.ร.บ.เซลล์บำบัด หลังปล่อยให้เป็นการรักษาโรคเถื่อน ผิดกฎหมาย
กรม สบส , ร่างพ.ร.บ.เซลล์บำบัด , เว็บไซต์สุขภาพ , สาธารณสุข , หลักทางวิทยาศาสตร์ , การใช้เซลล์บำบัด , Cell Therapy Science , กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ , ประชาพิจารณ์ , เซลล์บำบัดคืออะไร , เยอรมนี , เซลล์บำบัด , Stem Cell , เวชศาสตร์องค์รวม , พรบ. เซลล์บำบัด , พรบ สเต็มเซลล์
News Update วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2562 : ยุคของนวัตกรรมทางเลือกเพื่อสุขภาพ Stem Cell ศาสตร์แพทย์ทางเลือกที่มีชื่อเสียงเก่าแก่ที่สุด
ปัจจุบันมีคนใหญ่คนโตในไทยบินไปรักษาด้วย เซลล์บำบัด ประเทศเยอรมนี อย่างที่เราได้ยินข่าวบอกเล่าแบบปากต่อปาก
ประเทศเยอรมนี เป็นประเทศแรกที่นำเอาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนวัตกรรมหลากหลายแขนง รวมถึงนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่พัฒนาไปไกลเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า เยอรมนี เป็นประเทศที่พัฒนาในเรื่องนวัตกรรมทางการแพทย์ของโลก เซลล์บำบัด เป็นทางเลือก The Alternative Health ในการรักษาบำบัด
โดยใช้เซลล์มีชีวิต Live Cell Therapy เป็นเวชศาสตร์องค์รวม ดูแลตลอดทั้งร่างกายทุกระบบ มุ่งรักษาต้นเหตุของการเจ็บป่วย
ไม่ใช่รักษาแต่อาการต่างๆ ที่เป็นเรื่องปลายเหตุ เป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ของการใช้เซลล์บำบัด Cell Therapy Science
การนำเซลล์สุขภาพดีที่ยังมีชีวิตอยู่เข้าไปสู่ร่างกาย โดยไม่ได้เป็นการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะแต่เป็นการกระตุ้นการทำงานของเซลล์
สามารถฟื้นฟูสภาพเซลล์ที่อ่อนแอของอวัยวะเป้าหมายที่ต้องการรักษา ทำให้เซลล์ภายในร่างกายมีความต้านทานโรค ซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองได้
โดยช่วยบำบัดความเจ็บป่วย คืนสุขภาพที่ดีให้แก่ร่างกาย เป็นการใช้เซลล์ที่เหมือนกัน รักษาเซลล์ ที่อยู่ในอวัยวะเดียวกันเช่น หัวใจรักษาด้วยหัวใจ ปอดรักษาด้วยปอด
ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษาความเจ็บป่วย เพราะเป็นการรักษาที่ต้นเหตุของโรค ไม่ใช่เพียงแค่ระงับอาการของโรคเท่านั้น
โดยการใช้กลุ่มเนื้อเยื่อดีมาสร้างและปรับปรุงเซลล์ให้มีการทำงานที่ดีขึ้น และช่วยซ่อมแซมส่วนที่อ่อนแอหรือเนื้อเยื่อที่สึกหรอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น
เป็นการรักษา ทั้งรักษาโรคมะเร็ง รักษาข้อเข่าเสื่อม พาร์กินสัน แต่ในประเทศไทย หากใช้คำว่า Stem Cell เซลล์บำบัด มาใช้ หรือ นำเอามาเป็นข้อความรักษาโรค ผิดกฎหมายทั้งหมด และเป็นการรักษาเถื่อน แพทย์มีความผิด
ขณะที่นโยบายรัฐบาล จะให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางการรักษาสุขภาพ Medical Hub เพื่อให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทย รับบริการทางด้านสุขภาพ
ล่าสุด เกิดการรวมกลุ่มทำงานด้านวิชาการเกี่ยวกับ Stem Cell เช่น สมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย สมาคมการแพทย์ผสมผสานไทย วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ฯลฯ
สัญญาณที่ดี มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. .... โครงสร้างกฎหมายประกอบด้วย 7 หมวด 52 มาตรา
มุ่งส่งเสริม พัฒนามาตรฐานการให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ใดจะให้บริการเกี่ยวกับเซลล์บำบัดจะต้องขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วันนี้ (8 กรกฎาคม 2562) ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ นายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข
ให้สัมภาษณ์ภายหลังพิธีเปิดการประชุม “ประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. ....”
ว่าด้วยปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการบำบัดรักษา ซ่อมเสริมอวัยวะ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก โดยประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับเซลล์บำบัดบัญญัติไว้โดยเฉพาะทำให้เกิดปัญหาในการควบคุม กำกับ การใช้เซลล์บำบัดในการรักษาโรค
ดังนั้น กรม สบส. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แพทยสภา คณะแพทยศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จึงได้ร่วมกันจัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. ....” และจัดการประชุมประชาพิจารณ์ในวันนี้ขึ้น โดยเชิญผู้เกี่ยวข้อง
จากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสภาวิชาชีพ จำนวน 150 คน มาร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯให้มีความสมบูรณ์พร้อมก่อนนำไปใช้จริง
นายแพทย์ประภาส กล่าวว่า สำหรับโครงสร้างของกฎหมาย “ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. ....” มีทั้งหมด 7 หมวด 52 มาตรา มีเจตนารมณ์ในการส่งเสริม พัฒนา คุณภาพมาตรฐานการให้บริการเซลล์บำบัดตามมาตรฐานวิชาชีพ
โดยกฎหมายกำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการเซลล์บำบัด ซึ่งมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน อธิบดีกรม สบส.เป็นรองประธาน
พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ทำหน้าที่ควบคุม ตรวจสอบ หรือกำกับดูแลการให้บริการเกี่ยวกับเซลล์บำบัดและผลิตภัณฑ์ของเซลล์เป็นไปตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
ซึ่งการให้บริการเกี่ยวกับเซลล์บำบัด ทั้ง 4 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย 1)การใช้เซลล์บำบัดเพื่อการรักษา 2)ห้องปฏิบัติการเซลล์ 3)ธนาคารเซลล์ และ 4) กระบวนการอื่นใดที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ต้องกระทำในสถานพยาบาลโดยมีผู้ประกอบวิชาชีพที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้า ตามที่แพทยสภาหรือ ทันตแพทยสภากำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
และกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะให้บริการเกี่ยวกับเซลล์บำบัดจะต้องขึ้นทะเบียนต่อนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและมาตรฐานสถานที่ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเสียก่อนจึงมีสิทธิให้บริการได้
ทั้งนี้ กรม สบส.จะนำผลการประชุมที่ได้ในวันนี้มาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. ....
เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ความเห็นชอบก่อนนำเข้าวาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไป
08 กรกฎาคม 2562
ผู้ชม 4720 ครั้ง