อนุทิน ชาญวีรกูล ผลักดัน กัญชาเสรี หมอแหยง น.พ.สำเริง ยกระดับ อสม.เป็น หมอชุมชน แก้ปัญหาสาธารณสุขด้วยเทคโนโลยี
อนุทิน ชาญวีรกูล ผลักดัน กัญชาเสรี หมอแหยง น.พ.สำเริง ยกระดับ อสม.เป็น หมอชุมชน แก้ปัญหาสาธารณสุขด้วยเทคโนโลยี
News Update วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2562 : หลังจาก ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว อนุทิน ชาญวีรกูล นำทีม ผลักดัน กัญชาเสรี ขณะที่ หมอแหยง น.พ.สำเริง แหยงกระโทก นำทีมยุทธศาสตร์ แก้ปัญหาสาธารณสุข ด้วยทีมหมอครอบครัว อสม.ภูมิใจรับใช้ประชาชน ยกระดับ อสม.เป็น หมอชุมชน
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๒ แล้วนั้น
บัดนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายเทวัญ ลิปตพัลลภ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่ง
พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม นายอุตตม สาวนายน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายจุติ ไกรฤกษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประภัตร โพธสุธน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายถาวร เสนเนียม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายนิพนธ์ บุญญามณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายอิทธิพล คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสาธิต ปิตุเตชะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นปีที่ ๔ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
สำหรับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแน่นอนว่าจะมาขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรี ที่เป็นงานใหญ่ ที่ต้องผลักดัน หลังจากรัฐมนตรีก่อนหน้านี้มีนโยบายที่แตกต่างกัน
ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย มีหลากหลายด้าน โดยภูมิใจไทย จะเข้ามาเดินหน้านโยบายที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
จากนโยบาย ระบบบริการปฐมภูมิ ทั้ง อพช. หมอประจำบ้าน จะมีภาพลักษณ์ใหม่เป็น ทีมหมอครอบครัว อสม.ภูมิใจรับใช้ประชาชน
ภูมิใจไทย จะใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน แก้ไขปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลในกรณีที่ไม่ได้ป่วยหนัก
การเดินทางเพื่อมาโรงพยาบาลโดยต้องใช้เวลาเดินทางเป็นหลักชั่วโมง และต้องรอหมอ 2 - 3 ชั่วโมง กว่าจะได้พบแพทย์ เป็นเรื่องที่เริ่มจะไร้เหตุผล
แต่ในสิ่งที่เกิดขึ้นจริงสำหรับผู้ป่วย ที่แม้จะเบื่อหน่ายแต่ก็ต้องทนรับสภาพ ทั้งเรื่องความแออัด และเวลาที่สูญเสียไปทั้งวัน
นโยบายด้านสาธารณสุข มีอดีต นายแพทย์ สสจ. ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) ดร.นพ.สำเริง แหยงกระโทก หรือ “หมอแหยง” ทีมยุทธศาสตร์พรรคภูมิใจไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้ที่ทำงานในพื้นที่อย่างแท้จริง
หมอแหยง ระบุว่า ปัจจุบันนี้ อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ทำงานกับชาวบ้านในทุกพื้นที่ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างช้าๆ ในอดีต ซึ่งการแจ้งข่าวสาร การอนามัยแม่และเด็ก การรักษาพยาบาลเบื้องต้น
โดย อสม.มีความรู้ในเรื่องของสาธารสุขเบื้องต้นอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้น ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่อยู่บนมือของทุกคน คือการให้ อสม.อยู่ในพื้นที่กับชาวบ้าน
และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างชาวบ้าน กับหมอที่อยู่ในพื้นที่ไกลออกไป โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งเป็นการยกระดับจาก อสม.สู่ หมอชุมชน
โดยแม้จะอยู่ห่างไกล แต่ด้วยการสื่อสารที่ทันสมัย ชาวบ้านกับ อสม.จะเชื่อมถึงกัน สามารถขอความช่วยเหลือกันได้ทันที
การนำเอา โทรเวชกรรม หรือ Telemedicine อย่างจริงจัง จะทำให้เกิดทางเลือกใหม่ๆ ที่น่าสนใจในวงการสาธารณสุข
โดยการรักษาโรคสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการรักษาได้ ซึ่งในยุคดิจิทัลมีความชัดเจนแล้วว่า telemedicine จะสามารถเปลี่ยนแปลงจากการรักษาที่โรงพยาบาลหรือคลินิกไปเป็นการรักษาพยาบาลที่บ้าน
และจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย ที่จะพบกับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังจะมีผลกระทบอย่างรุนแรงในอนาคตอันไกลได้ด้วย
เทคโนโลยีมือถือถึงมือทุกคนแล้ว จึงทำให้พรรคภูมิใจไทยมีแนวคิดประยุกต์เทคโนโลยีที่ประชาชนและ อสม. สามารถใช้ได้แล้วทันที
นำมาปลุกให้เกิดพลังเพื่อให้ชาว อสม.มีพลังมากขึ้นอย่างทันที เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทุกแห่งหนของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ อสม. สามารถติดต่อสื่อสารเห็นหน้ากันกับหมอผู้เชี่ยวชาญ และเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างง่ายดายบนมือ
และในส่วนพื้นที่ที่ประชาชนและ อสม. ยังไม่มีอุปกรณ์เข้าถึงตัวบุคคล ก็จะใช้ศูนย์สาธารณสุขและอนามัยที่มีอินเตอร์เน็ตหมู่บ้านเข้าถึง
เป็นศูนย์ติดต่อสื่อสารระหว่างหมอผู้เชี่ยวชาญกับ อสม. และเป็นศูนย์ เข้าถึงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพด้วยคอมพิวเตอร์
โดยการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารของ อสม. และอุปกรณ์สื่อสารตามศูนย์สาธารณสุขในพื้นที่ต่างๆ สามารถใช้กองทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมและกองทุนที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย หมอชุมชน จะมีบทบาทแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ทีมข้าราชการฝ่ายการเมือง นำโดย น.พ.สำเริง แหยงกระโทก น.พ.ไกร ดาบธรรม อดีตนายแพทย์ดีเด่นชนบท
พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ปัตตานี ซึ่งเป็นทีมยุทธศาสตร์พรรคภูมิใจไทยด้านสาธารณสุข
จะเข้ามาแก้ไข หลังจากเข้าทำงานอย่างเป็นทางการ
10 กรกฎาคม 2562
ผู้ชม 8936 ครั้ง