คณะแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ อบรมหลักสูตร กัญชาทางการแพทย์ เรียนรู้ทั้ง การปลูก ผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
คณะแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ อบรมหลักสูตร กัญชาทางการแพทย์ เรียนรู้ทั้ง การปลูก ผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้า ส่งออก
การอบรมกำลังคนทีมนักวิทยาศาสตร์และนักการแพทย์ของประเทศไทย ในหลักสูตรการแพทย์แคนนาบินอยด์ : การใช้ยากัญชารักษาผู้ป่วยแผนปัจจุบันและแผนไทย ณ.ห้องประชุมคณะวิทยาศาสตร์ มทร.พระนคร กรุงเทพมหานคร
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า กรณีทีมนักวิทยาศาสตร์ นักการแพทย์ ทุกสาขา จากทุกภูมิภาคของไทย กว่า ๑๐๐ คน จะได้ร่วมกันทบทวนวิชาการ แลกเปลี่ยนการวิจัย ร่วมกันสร้างหัวข้อวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับกัญชาที่เป็นพืชยาสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ทั่วโลก
ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสเป็นผู้นำทางวิทยาศาสตร์ด้านนี้ได้ และ มทร.พระนคร มีความพร้อมทางเทคดนโลยีชีวภาพและที่เกี่ยวข้องในการสร้างประเทศไทยให้เป็นผู้นำในกัญชาทางการแพทย์
จึงได้ร่วมกับสถาบันการแพทย์แคนนาบินอยด์ และสถาบันมาตรฐานกัญชาไทยทางการแพทย์ จัดให้มีการพัฒนากำลังคนทีมนักวิทยาศาสตร์และนักการแพทย์ของประเทศไทย
ใน หลักสูตรการแพทย์แคนนาบินอยด์ รุ่นที่ ๖ : การใช้ยากัญชารักษาผู้ป่วยแผนปัจจุบันและแผนไทย ในระหว่างวันที่ ๒๖ ถึง ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒
โดยมี รศ.ดร.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นประธานเปิดการอบรมและระดมสมองในการวิจัยด้านกัญชาทางการแพทย์
มี พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา กรรมการแพทยสภา และ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานกัญชาไทยทางการแพทย์ ร่วมต้อนรับคณะแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวอย่างอบอุ่นและเต็มไปด้วยบรรยากาศทางวิชาการและการวิจัยที่ท้าทายนี้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากำลังคนของประเทศต่อเนื่องในด้านพืชยาที่ชื่อว่ากัญชา เพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรการแพทย์และทีมงาน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ป่วยไข้
รวมถึงสัตว์ป่วย เพื่อให้ทุเลาจากความเจ็บป่วยด้วยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ที่ทันสมัยในด้าน bio medicine
ซึ่งเป็นแนวโน้มด้านบวกของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อันเกี่ยวข้องด้วยยาฐานชีวภาพ โดยเฉพาะยาจากพืชกัญชา ซึ่งจากรายงานพบว่ามีงานวิจัยทั่วโลกกว่า๒ หมื่นรายงาน
นับว่าเป็นจำนวนมากทีเดียว ซึ่งส่วนหนึงได้รายงานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นการค้นพบระบบของร่างกายระบบใหม่ที่เรียกว่า endocannabinoid system
รวมถึงการค้นพบสาร Anandamide, 2 AE และค้นพบว่าสาร THC, CBD, CBN, CBL และสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบในพืชกัญชา
มีประสิทธิผลในการรักษากลุ่มอาการป่วย และโรคที่มีข้อจำกัดในการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันได้ และหลายประเทศได้ขึ้นทะเบียนอนุญาตให้ใช้ยาจากกัญชาเพื่อการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก โรคเอ็มเอสหรือปลอกประสาทแข็ง
การปวดจากระบบประสาท และมีหลายการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่ในหลายประเทศ คือการวิจัยทางคลินิคในประสิทธิผลของยากัญชาเพื่อการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคมะเร็งชนิดต่างๆ กับเป็นที่น่ายินดีว่าพืชกัญชาเป็นสมบัติคู่ชาติคู่แผ่นดินไทยที่ประชาชนไทยในยุคก่อนนี้ได้ใช้เป็นยารักษาการป่วยตามตำรับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
หากได้มีการวิจัยและพัฒนาในด้านการปลูกพืชยาตามเกณฑ์ทางการแพทย์ การแปรรูปเป็นยาชีวภาพ และมีการวัดผลทางคลินิคที่เป็นมาตรฐานสากลแล้ว อาจส่งผลให้ยกระดับสถานะยาพื้นบ้านไทยสู่สากลได้
อันอาจนำมาซึ่งรายได้เข้าประเทศ และอาจใช้แทนยาที่ต้องนำเข้าปีละกว่าแสนล้านบาทได้ อย่างไรก็ดีมีอีกด้านที่ต้องระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงและอันตรายจากการใช้ยากัญชาที่ไม่ถูกหลักทางเภสัชวิทยาและเวชศาสตร์
สำหรับประเทศไทยมีการปรับปรุงนโยบายแห่งรัฐ ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์อย่างชัดเจนในช่วง ๒ ปีที่ผ่านมา และในที่สุด ได้ตรากฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ ๗ พ.ศ.๒๕๖๒ ให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้โดยต้องได้รับอนุญาต ในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกัญชา
ได้แก่การปลูก การผลิต การครอบครอง การจำหน่าย การนำเข้า และการส่งออก นับเป็นโอกาสของคนไทย นักวิจัยไทย และทุกองคาพยพของสังคมไทย ที่จะได้ประโยช์จากพืชกัญชาในทางสุขภาพได้ หากได้มีการจัดการที่ดี
ทั้งได้มีความรู้ใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้ยากัญชารักษาผู้ป่วย รวมถึงข้อกฎหมายที่กำหนดให้เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อความสงบและสมดุลของสังคม ที่มีความซับซ้อน จำเป็นที่บบุคลากรการแพทย์ของประเทศและทีมงาน จะต้องพัฒนาให้รู้เท่าทัน และวิจัยนำหน้า(ถ้าทำได้) เกี่ยวกับพืชยายี้ และยาจากพืชกัญชา
ซึ่งจากรายงานทำให้ได้ทราบว่า ทีมแพทย์และนักวิชาการของสถาบันการแพทย์แคนนาบินอยด์ ได้เตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาทางวิชาการให้กับบุคลากรของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เป็นปีที่ ๓ แล้ว และผู้ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตร ได้มีความรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยและสัตว์ป่วยแล้วตามที่ได้รับอนุญาต
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีภารกิจในการจัดบริการวิชาการแก่ประชาชน และนักวิชาการสาขาต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ ได้เห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อร่วมสร้างประเทศและสร้างบุคลากรให้มีคุณภาพในเวทีโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จึงได้ร่วมกับสถาบันการแพทย์แคนนาบินอยด์ จัดอบรม ระดมสมองในงานวิจัยด้านกัญชาทางการแพทย์ เพื่อพัฒนากำลังคนในด้านกัญชาทางการแพทย์และการแพทย์แคนนาบินอยด์ในแบบสหวิทยาการ ได้แก่พฤกษสาสตร์พืชกัญชา หรือ botany of cannabis, สารในพีชกัญชา หรือ phytochemicals, ระบบสารกัญชาที่ร่างกายมนุษย์สร้างขึ้น หรือ endocannabinoid system,การใช้กัญชารักษาผู้ป่วย หรือ medical use of cannabis, cannabinoid medicine, risks of cannabis use, Bigdata and AI on medical cannabis etc
และกฎหมายว่าด้วยกัญชาการแพทย์ คาดว่าจะส่งผลสร้างสรรค์สังคมไทยและประเทศสืบไป และนำพาโอกาสที่ดีสำหรับคนไทยและประเทศไทยในด้านการพัฒนาพืชยานี้เพื่อเป็นยาให้กับคนไทยและสร้างรายได้สู่ประชาชน และวิสาหกิจของประชาชน รวมถึงกิจการของคนไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เป็นอย่างดี
26 สิงหาคม 2562
ผู้ชม 1534 ครั้ง