แพทย์จาก สถาบันโรคผิวหนัง เตือนระวังโรคเนื้อเน่า หรือ แบคทีเรียกินเนื้อคน ระบาดหนัก อาจสูญเสียอวัยวะ ตายได้
แพทย์จาก สถาบันโรคผิวหนัง เตือนระวังโรคเนื้อเน่า หรือ แบคทีเรียกินเนื้อคน ระบาดหนัก อาจสูญเสียอวัยวะ ตายได้
medhub news - News Update : โรคบอยปกรณ์ คืออะไร แตกต่างจาก โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis อย่างไร
สาเหตุที่ทำให้ บอยปกรณ์ป่วย ( ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ ) และมีการเรียกชื่อไปต่างๆ นานา เช่น แมลงกินเนื้อ ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อที่ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ
คำตอบ จาก สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ชี้โรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) หรือแบคทีเรียกินเนื้อคน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
ส่วนใหญ่จะระบาดในฤดูฝน ช่วงเกษตรกรลงดำนา ลุยโคลน การติดเชื้อมักมีอาการรวดเร็ว และรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง อาจนำมาซึ่งการสูญเสียอวัยวะและอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
ทั้งนี้ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงโรคเนื้อเน่า
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว หรืออาจเป็นจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆ ชนิดพร้อมกัน พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติไปดำนา ลุยโคลน และโดนหอย
หรือเศษแก้วบาด เศษไม้ตำเท้า และไม่ได้ทำแผลหรือรักษาใดๆ เนื่องจากต้องทำนาให้เสร็จ ทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผล และเพิ่มจำนวนจนเกิดอาการรุนแรงได้
ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผล หรือรอยแตกของผิวหนัง และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะสามารถสร้างเอนไซด์มาย่อยสลายเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไป
ทำให้มีการกระจายของเชื้อไปได้อย่างรวดเร็วในชั้นใต้ผิวหนังภายในระยะเวลาไม่นานนัก โรคเนื้อเน่าพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่คนที่มีโรคประจำตัวบางชนิดพบมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าคนอื่นๆ
ซึ่งโรคดังกล่าวได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตับแข็ง โรคมะเร็ง ไตวาย รวมถึง คนที่มีภาวะกดภูมิจากการใช้สารสเตียรอยด์
คนที่ใช้สารเสพติดฉีดเข้าเส้น คนที่มีปัญหาของหลอดเลือดบริเวณขา คนอ้วน สูบบุหรี่ และคนที่ติดแอลกอฮอล์
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วในระยะเริ่มแรกจะเริ่มมีอาการบวม แดง ปวด กดเจ็บในตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ
ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะบวมแดง หรือเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำอย่างรวดเร็วภายใน 36 ชั่วโมงหลังการติดเชื้อ
พบมีตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง มีการตายของชั้นใต้ผิวหนังและผิวหนังบริเวณดังกล่าว เมื่อเป็นมากขึ้นเชื้อจะทำลายเส้นประสาท ทำให้อาการปวดที่พบในตอนแรกหายไป
กลายเป็นชาบริเวณผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อตามมาแทน อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วยเช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน
ถ้าเป็นมากอาจมีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กรณีไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกตัวลดน้อยลง ช็อค และเสียชีวิต การรักษาต้องรีบดำเนินการอย่างรวดเร็ว
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยที่สงสัยโรคนี้ควรนอนรักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาหลักคือการผ่าตัดให้ลึกจนถึงชั้นฟาสเชีย
คือชั้นพังผืดที่ห่อหุ้มชั้นกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในของร่างกายและเอาเนื้อเยื่อบริเวณที่ตายออก ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด
ซึ่งมักต้องให้ร่วมกันหลายชนิดเพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรค มีการให้สารอาหารอย่างเพียงพอในระหว่างการรักษา และต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
ที่อาจเกิดตามมาได้ บางครั้งถ้าการติดเชื้อลุกลามมากอาจต้องมีการตัดอวัยวะที่ติดเชื้อทิ้งไปเพื่อควบคุมไม่ให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้นได้
ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อโดยการระมัดระวังดูแลทำความสะอาดบาดแผลบริเวณผิวหนัง ไม่แกะเกาบริเวณผื่นหรือแผลที่มีอยู่เดิม
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคดังกล่าว รวมถึงควรหมั่นสังเกตตนเอง
ถ้าพบว่ามีบาดแผล ที่มีอาการปวดบวมแดง หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ บริเวณแผล ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาก่อนที่โรคจะมีการลุกลามติดเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้น
21 พฤศจิกายน 2562
ผู้ชม 4173 ครั้ง