อนุทิน ปลูกต้นกล้ากัญชาเกรดทางการแพทย์สายพันธุ์ไทย12,000 ต้น ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คาดได้ผลผลิตต้นปี 2563
อนุทิน ปลูกต้นกล้ากัญชาเกรดทางการแพทย์สายพันธุ์ไทย12,000 ต้น ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คาดได้ผลผลิตต้นปี 2563
อนุทิน ชาญวีรกูล , กัญชารักษาโรค , น้ำมันกัญชา , มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กัญชา , อนุทิน ปลูกต้นกล้ากัญชา , เกรดทางการแพทย์ , สายพันธุ์ไทย , 12,000 ต้น , มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , คาดได้ผลผลิตต้นปี 2563 , ปลูกต้นกล้ากัญชาเกรดทางการแพทย์
อ่านอีบุ๊ค ข่าวนี้คลิ๊กลิ้งค์
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลูกต้นกล้ากัญชาเกรดทางการแพทย์สายพันธุ์ไทยระดับอุตสาหกรรมแห่งแรกของอาเซียน 12,000 ต้น ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คาดได้ผลผลิตต้นปี 2563 เพื่อใช้ในงานรักษาและวิจัย
News Update วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2562 : medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า วันนี้ (21 กันยายน 2562) ที่ จ.เชียงใหม่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พร้อมด้วย ศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ปลูกต้นกล้ากัญชาทางการแพทย์สายพันธุ์ไทยในระดับอุตสาหกรรมแห่งแรกของอาเซียน ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ซึ่งองค์การเภสัชกรรม กรมการแพทย์ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชง เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ตามมาตรฐานเกรดทางการแพทย์แบบครบวงจร
อนุทิน กล่าวว่า การปลูกต้นกล้ากัญชาวันนี้ เป็นกัญชาเกรดทางการแพทย์สายพันธุ์ไทยในระดับอุตสาหกรรมแห่งแรกของอาเซียน จำนวน 12,000 ต้น
คาดว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จะสามารถส่งวัตถุดิบกัญชาดอกแห้ง จำนวน 2,400 กิโลกรัม ให้องค์การเภสัชกรรม และเครือข่าย สกัดเป็นยาจากสารสกัดกัญชา
สร้างการเข้าถึงได้มากขึ้นในช่องทางสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาต ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งคลินิกต่างๆ เป็นต้น
ด้าน ศ.ดร.อานัฐ ตันโช ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานต้นน้ำ เห็นว่าเพื่อให้ได้ต้นกัญชาแห้งที่มีคุณภาพเกรดทางการแพทย์นั้น
ต้องปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไปตามแนวทางของหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติด้านเกษตรอินทรีย์หรือ IFOAM, USDA Organic Standard ซึ่งเป็นระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานสากลในระดับโลก
และด้วยกัญชายังมีสถานะเป็นยาเสพติด มาตรการรักษาความปลอดภัยจึงจำเป็นต้องดำเนินการตามแนวทางของหลักเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดี หรือ GSP (Good Security Practices)
การปลูกตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้น ได้ดำเนินการปลูกด้วยระบบไร้สารเคมีสังเคราะห์ โดยการใช้วัสดุเพาะกล้า วัสดุปลูก ธาตุอาหารพืช จุลินทรีย์กำจัดศัตรูพืชทั้งเชื้อราและกำจัดแมลง ตลอดจนแมลงตัวห้ำ
โดยวัสดุทั้งหมดที่ใช้ได้รับการรับรองในระบบเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม
โครงการนี้ได้ต่อยอดมาจากโครงการอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลห้าปีตั้งแต่ปี 2557-2562
และสามารถดำเนินการผลิตปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งโครงการทั้งหมดอยู่ในบริเวณเดียวกัน ส่วน มาตรฐาน GSP นั้น ใช้ระบบความปลอดภัยตามแบบมาตรฐานของอย. ปปส. อภ. ที่ควบคุมการผลิตในบริเวณที่ควบคุมอย่างเข้มงวด ด้านการเช้าออกบริเวณที่ปลูกพืชในระบบปิด
ทั้งโรงเพาะกล้า โรงปลูก ด้วยระบบสแกนนิ้ว กล้องวงจรปิด รั้วล้อมรอบ และระบบรักษาความปลอดภัยตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง
และสามารถตรวจดูได้จากระบบสื่อสารทางไกลจากผู้เกี่ยวข้องและบันทึกข้อมูลไว้ตรวจสอบจากระบบได้มากกว่าหนึ่งปี
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า องค์การเภสัชกรรมได้เตรียมความพร้อมการสกัดวัตถุดิบกัญชาที่จะได้รับจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไว้แล้ว
ทั้งเครื่องสกัดคุณภาพสูง และสถานที่ผลิตรองรับการผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่เป็นไปตามแนวทางมาตรฐานกรรมวิธีที่ดีในการผลิต ตามมาตรฐานการปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดี
และมาตรฐานการปฏิบัติด้านห้องปฏิบัติการที่ดี สำหรับการตรวจวิเคราะห์ ควบคุมคุณภาพ ซึ่งสามารถรองรับวัตถุดิบดอกกัญชาแห้งจำนวนไม่น้อยกว่า 12 กิโลกรัม/วัน
ทั้งนี้ สายพันธุ์กัญชาที่ปลูกในครั้งนี้ เป็นสายพันธุ์ไทย ทีมงานขององค์การเภสัชกรรม จะตรวจประเมินในระหว่างการปลูกอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง
โดยดอกกัญชาแห้ง จะถูกควบคุมคุณภาพผ่านการตรวจวิเคราะห์สิ่งปนเปื้อนจากห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน การบรรจุดอกกัญชาแห้งจะต้องบรรจุในถุงอลูมิเนียมฟอยด์เพื่อป้องกันความชื้น
ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มั่นใจว่าผลผลิตที่ได้จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะได้น้ำมันกัญชาเกรดทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐานครบวงจรตั้งแต่การปลูก การสกัดเป็นยาซึ่งกรมการแพทย์จะได้นำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยควบคู่ไปกับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้นำน้ำมันกัญชาล็อตแรกไปทำการศึกษาวิจัยเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็ง 10 ชนิด ขณะนี้รอผลการทดลอง
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้จัดอบรมหลักสูตรการใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ มีแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ผ่านการอบรมแล้ว 5,600 คน
และเปิดคลินิกให้คำปรึกษาการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลในสังกัด ให้บริการแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การให้บริการรักษาครอบคลุมกลุ่มโรคที่มีผลวิจัยยืนยันทางการแพทย์ ให้คำแนะนำและติดตาม รวมทั้งเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้
นอกจากนี้ ในส่วนพยาบาลที่ต้องทำงานในคลินิกกัญชาฯจะอบรมทั้งหมดภายในเดือนกันยายนนี้
07 ตุลาคม 2562
ผู้ชม 3822 ครั้ง