แพทย์เตือน ระวัง หากปวดเจ็บบริเวณส้นเท้าหลังตื่นนอนบ่อยๆ เสี่ยง โรครองช้ำ สุดทรมาน
แพทย์เตือน ระวัง หากปวดเจ็บบริเวณส้นเท้าหลังตื่นนอนบ่อยๆ เสี่ยง โรครองช้ำ สุดทรมาน
วิธีรักษาโรครองช้ำ ที่ส้นเท้า , โรงพยาบาลรักษาโรครองช้ำ , โรครองช้ำ ภาษาอังกฤษ , คลีนิค รักษา โรค รองช้ำ , รองช้ำ pantip , รักษา รองช้ำ โบราณ , รักษา รองช้ำ เรื้อรัง , กายภาพรองช้ำ , กรมการแพทย์ , โรงพยาบาลเลิดสิน , โรคกระดูก , โรครองช้ำ
News Update วันศุกร์ที่ 27 กันยายน 2562 : กรมการแพทย์ โรงพยาบาลเลิดสิน เตือนหากมีอาการปวดเจ็บบริเวณส้นเท้า
เมื่อลุกเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า รวมถึงหลังการออกกำลังกาย เดิน หรือยืนเป็นเวลานาน เสี่ยงเป็นโรครองช้ำ
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยถึง โรครองช้ำ ( Plantar Fasciitis )
หรือ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากไขมันส้นเท้าจะบางกว่า
นอกจากนี้เอ็น กล้ามเนื้อน่อง และฝ่าเท้าจะไม่แข็งแรงเท่าผู้ชาย นักวิ่งที่ต้องใช้เท้าและส้นเท้าเป็นเวลานาน และคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะที่มีน้ำหนักมาก ต้องยืนนาน เดินนาน
ซึ่งจะมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า ระยะแรกอาจเกิดหลังการออกกำลังกาย เดิน หรือยืนเป็นเวลานาน แต่เมื่ออาการมากขึ้นจะรู้สึกปวดส้นเท้าตลอดเวลา
ทั้งนี้อาการจะชัดเจนเมื่อลุกขึ้นเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า หรือหลังจากนั่งพักขาเป็นเวลานาน จะรู้สึกเจ็บบริเวณส้นเท้า เนื่องจากการกระชากของเอ็นฝ่าเท้าที่อักเสบอย่างทันทีทันใด
นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรครองช้ำเกิดจากการใช้งานฝ่าเท้ามากเกินไป เช่น การฝึกวิ่งที่หักโหม วิ่งในระยะทางที่ไกลเกินไป
การสวมรองเท้าที่ไม่มีพื้นบุรองส้นเท้า หรือบางเกินไป หรือสวมรองเท้าไม่เหมาะกับรูปเท้า คนที่มีน้ำหนักตัวมาก คนที่มีลักษณะเท้าแบน อุ้งเท้าสูง รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือข้อสันหลังอักเสบ
อย่างไรก็ตามโรครองช้ำสามารถดูแลด้วยตนเองได้ในเบื้องต้น โดยการยืดพังผืดฝ่าเท้าสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น ในรายที่พังผืดตึงมากควรแช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนทำการยืดประมาณ 15-20 นาที จะช่วยลดอาการเจ็บขณะบริหาร
นอกจากนี้ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับบริเวณที่อักเสบ ลดน้ำหนักโดยการออกกำลังกายที่ไม่มีการกระแทกบริเวณส้นเท้า
เช่นว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ถ้าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์
ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาโดยฉีดสเตียรอยด์เฉพาะที่ลดการอักเสบ รักษาด้วยคลื่นกระแทกบริเวณที่ปวดโดยตรง
และการผ่าตัดซึ่งจะใช้วิธีนี้ต่อเมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล
27 กันยายน 2562
ผู้ชม 7144 ครั้ง